Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58276
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ |
Other Titles: | Factors affecting e-learning outcomes |
Authors: | อรณิชา เสตะคุณ |
Advisors: | ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirapatsorn.W@Chula.ac.th,sirapatsorn@gmail.com |
Subjects: | ข้าราชการพลเรือน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้ Public officers Digital media Learning |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2) เพื่อทราบระดับประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 3) เพื่อสำรวจปัญหาอุปสรรคของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน โดยศึกษาจากระบบการพัฒนาข้าราชการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (HRD e-Learning) ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมในระบบดังกล่าว จำนวน 331 คน ซึ่งเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการทดสอบค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้เข้าอบรม (ด้านแรงจูงใจในการเรียนรู้ และด้านความสามารถในการเรียนรู้) มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. 2) ปัจจัยด้านคุณลักษณะการออกแบบการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ด้านการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ ด้านการออกแบบการนำเสนอเนื้อหา และด้านการร่วมมือและแบ่งปัน) มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. 3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน (ด้านโอกาสในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้) มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. 4) ประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. ตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study the factors affecting e-Learning outcomes, 2) to evaluate e-Learning outcomes in accordance with the perception of sampling participants, 3) to explore e-Learning’s problems, and 4) to provide guidelines for improving e-Learning system. This research aimed to study HRD e-Learning system of the Office of the Civil Service Commission (OCSC), initiated to develop government officers. The sample group was 331 Thai’s government officers who participated in self-development employed e-Learning system. The designed e-questionnaires were used as a research instrument. The collected data were analyzed by using frequency, percentage, arithmetic means, standard deviation, multiple regression analysis and one sample t-test. The results show that 1) the trainee characteristics factors (motivation to learn and ability to learn) significantly influenced e-Learning system outcomes, 2) the e-Learning system program design factors (creating a learning environment, the application of learning theories, the design format to deliver learning contents, and the collaboration and sharing) also significantly influenced e-Learning system outcomes, 3) the organization environment factors (the opportunities to use) also significantly influenced the e-Learning system outcomes, and 4) the e-Learning system outcomes or the effectiveness of OCSC’s e-Learning on overall participants’ perception was at highest levels. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58276 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1182 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1182 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5780632824.pdf | 6.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.