Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58289
Title: ยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ
Other Titles: Strategies and mission model for developing research universities toward entrepreneurial universities
Authors: อวิรุทธ์ ฉัตรมาลาทอง
Advisors: สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์
วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirichan.S@Chula.ac.th,sirichant@gmail.com
Varaporn.B@Chula.ac.th
Subjects: สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร
พันธกิจองค์กร
Universities and colleges -- Administration
Mission statements
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวคิดและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ 3) วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ และ 4) นำเสนอยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนามหาวิทยาลัยเชิงประกอบการในประเทศไทย จำนวน 6 คน 2) ผู้บริหารระดับคณะและหน่วยงานของมหาวิทยาลัยวิจัย จำนวน 209 คน 3) ผู้บริหารระดับนโยบายของมหาวิทยาลัยวิจัย จำนวน 9 คน 4) ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ จำนวน 5 คน 5) ผู้บริหารองค์กรภาคธุรกิจอุตสาหกรรม จำนวน 5 คน และ 6) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์สาระ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจฯ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สาระ การวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ พบว่า มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการคือมหาวิทยาลัยที่มีกระบวนการทางความคิดแบบผู้ประกอบการเป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรและการบริหารจัดการ การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 7 ด้าน คือ 1) การนำองค์กรและการกำกับมหาวิทยาลัย 2) ความสามารถขององค์กร 3) การจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ 4) การเตรียมความพร้อมและการสนับสนุนเพื่อเป็นผู้ประกอบการ 5) ความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกับภาคส่วนภายนอกเพื่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ 6) ความเป็นนานาชาติ และ 7) การวัดผลกระทบของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ 2. สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของมหาวิทยาลัยวิจัยของการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ พบว่า สภาพปัจจุบันการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยการสร้างคุณค่าของมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และการวัดผลกระทบของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นที่ต้องพัฒนา ลำดับที่ 1 การวัดผลกระทบของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ ลำดับที่ 2 การจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ ลำดับที่ 3 มี 2 ด้าน คือ ความสามารถขององค์กร และความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกับภาคส่วนภายนอกเพื่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ 3. ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ ประกอบด้วย 1) การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ 2) การสร้างความเข้าใจ 3) ต้นแบบที่ดี 4) ความร่วมมือภายใน 5) ความร่วมมือภายนอก 6) วัฒนธรรมองค์กรเชิงประกอบการ 7) การวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคมและเศรษฐกิจ 8) กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ และ 9) โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ 4. ยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ประเด็น “E P I C” ได้แก่ 1) สร้างการศึกษาเพื่อพัฒนาภาวะผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Education) 2) สร้างหุ้นส่วนแห่งคุณค่าร่วม (Shared Value Partnership) 3) สร้างระบบนิเวศและนวัตกรรมผู้ประกอบการ (Ecosystem & Entrepreneurial Innovation) และ 4) สร้างวัฒนธรรมแห่งองค์กรเชิงประกอบการ (Entrepreneurial Organization Culture) ประกอบด้วย 12 เป้าประสงค์ 20 กลยุทธ์ 46 ตัวชี้วัด 62 โครงการ/กิจกรรม และ 9 องค์ประกอบโมเดลพันธกิจ
Other Abstract: The purposes of this research are to 1) study the concept and operations of entrepreneurial universities 2) study the current state and needs of developing research universities toward entrepreneurial universities 3) analyze the success factors of developing research universities toward entrepreneurial universities 4) propose the strategies and mission model for developing research universities toward entrepreneurial universities. The samples include 1) 6 experts on entrepreneurial universities 2) 209 faculty and institute administrators of research universities 3) 9 policy-level administrators of research universities 4) 5 executives of government sector 5) 5 executives of business-industry sector and 6) 9 experts for connoisseurship discussion. The research instruments include the content analysis form, interview forms, questionnaire, and form for validation of (draft) strategies and mission model. Meanwhile, the content analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation, and priority need index are used in the data analysis. The research results can be summarized as follows: 1. The entrepreneurial university is the university with the mindset of entrepreneurship as the basis of culture and management. The operations focus on 1) leadership and governance, 2) organizational capacity, 3) teaching and learning for entrepreneurship development, 4) pathways to entrepreneur, 5) university and external sectors relationship for knowledge exchange, 6) internationalization and 7) measuring the impact of the entrepreneurial university. 2. The current state and needs of developing research universities toward entrepreneurial universities are found that overall current state is at the intermediate level. The aspect of entrepreneurial university values has the highest level of mean and the aspect of measuring the impact of the entrepreneurial university has the lowest level of mean. Meanwhile, the first priority need is measuring the impact of the entrepreneurial university, the second priority need is teaching and learning for entrepreneurship development, the third priority needs are organizational capacity and university and external sectors relationship for knowledge exchange. 3. The success factors of developing research universities toward entrepreneurial universities consist of 1) entrepreneurship education 2) understanding 3) good practices 4) internal collaboration 5) external collaboration 6) entrepreneurial organization culture 7) research in responding to social and economic needs 8) rules and regulations and 9) infrastructure and information technology. 4. The proposed strategies and mission model for developing research universities toward entrepreneurial universities comprise the vision, missions, 4 strategic themes “EPIC”. The themes include 1) Entrepreneurship Education 2) Shared Value Partnership 3) Ecosystem & Entrepreneurial Innovation and 4) Entrepreneurial Organization Culture. There are 12 goals, 20 tactics, 46 indicators, 62 projects/activities and 9 components of mission model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58289
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1641
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1641
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784227027.pdf9.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.