Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/583
Title: | ความพร้อมและอุปสรรคของหน่วยงานราชการ ในการเปลี่ยนแปลงการบันทึกบัญชีจากเกณฑ์เงินสดเป็นเกณฑ์คงค้าง |
Other Titles: | Preparedness and obstacles of government agencies in changing from cash basis to accrual basis |
Authors: | สันนุดี เสลารัตน์, 2523- |
Advisors: | ธารี หิรัญรัศมี อรุณี กำลัง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
Advisor's Email: | fcomthi@phoenix.acc.chula.ac.th fcomakl@acc.chula.ac.th |
Subjects: | การบัญชีเกณฑ์เงินสด การบัญชีเกณฑ์คงค้าง การคลัง--การบัญชี |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาถึงความพร้อมและปัญหาของหน่วยงานราชการ ในการเปลี่ยนแปลงหลักการบันทึกบัญชีจากเกณฑ์เงินสดเป็นเกณฑ์คงค้าง โดยศึกษาในลักษณะของการสำรวจ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างจะมาจากส่วนราชการระดับกรมและหน่วยงานราชการ ที่เรียกชื่ออื่นแต่มีฐานะเทียบเท่ากรมที่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง จำนวน 44 แห่ง สำหรับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามสำหรับหน่วยงานแต่ละแห่งจะมี 2 ชุด คือ ชุดของเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่บันทึกบัญชี และชุดของผู้บริหารหน่วยงานระดับกองที่เกี่ยวข้อง โดยสถิติที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้คือ สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าสัดส่วน การทดสอบความเป็นอิสระและการทดสอบเกี่ยวกับผลต่าง ระหว่างค่าเฉลี่ยของสองประชากรแบบจับคู่ ผลการศึกษาระบุว่า 1. ความพร้อมของบุคลากร หน่วยงานราชการมีบุคลากรทางด้านบัญชีไม่เพียงพอ โดยเจ้าหน้าที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีระดับความเข้าใจในระบบบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง อยู่ในระดับปานกลางและทั้งเจ้าหน้าที่และผู้บริหารกลุ่มตัวอย่าง เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงระบบบัญชีส่วนราชการ 2. ความพร้อมทางด้านข้อมูล เอกสารและระบบฐานข้อมูลทางด้านบัญชี หน่วยงานราชการมีความพร้อมในเรื่องการจัดเตรียมและรวบรวมข้อมูล เอกสารและสมุดบันทึกรายการบัญชี และอุปกรณ์ที่ใช้ในงานบัญชี เช่น คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้หน่วยงานยังมีความพร้อม ในเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านบัญชีลงในคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม การบันทึกบัญชีของหน่วยงานกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังคงบันทึกด้วยมือ และเจ้าหน้าที่และผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่เคยนำข้อมูลทางด้านบัญชี มาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของหน่วยงาน 3. ปัญหาในช่วงของการตั้งยอดบัญชี ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุดจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ได้แก่ ปัญหาการตั้งยอดบัญชีสินทรัพย์ รองลงมาคือ ปัญหาการจำแนกรายการบางรายการมีปัญหา หรือมีความสับสนว่าจะลงรายการเป็นบัญชีใด และปัญหาการประสานงานภายในหน่วยงาน สำหรับปัญหาที่พบมากที่สุดตามความคิดเห็นของผู้บริหารคือ ปัญหาการตั้งยอดบัญชีสินทรัพย์ รองลงมาคือ ปัญหาการจำแนกรายการบางรายการมีปัญหา หรือมีความสับสนว่าจะลงรายการเป็นบัญชีใด และปัญหาบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง 4. ปัญหาที่เกดขึ้นในส่วนของการบันทึกบัญชี ซึ่งปัญหาหลักที่เจ้าหน้าที่ประสบคือ ปัญหาการจำแนกรายการบางรายการมีปัญหา หรือมีความสับสนว่าจะลงรายการเป็นบัญชีใด รองลงมาคือ การบันทึกรายการบัญชีบางรายการไม่ได้ระบุเอาไว้ในคู่มือ และปัญหาด้านความเข้าใจในเอกสารที่มีเพิ่มขึ้น สำหรับปัญหาหลักตามความคิดเห็นของผู้บริหารคือ ปัญหาการจำแนกรายการบางรายการมีปัญหา หรือมีความสับสนว่าจะลงรายการเป็นบัญชีใด รองลงมาคือ ปัญหาบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง ปัญหาด้านความเข้าใจในเอกสารที่มีเพิ่มขึ้น และปัญหาการประสานงานภายในหน่วยงาน |
Other Abstract: | To study the preparedness and obstacles of government agencies in changing from cash to accrual basis. The study is based on handing out questionnaires. The 44 government agencies of department level or equivalent under prime minister and ministry offices are surveyed. There are two types of questionnaire for each organization, one for accountant and another for administrator. The data were analyzed by using descriptive statistics, proportion test, test of independence and paired-samples test. The studies have shown that. 1. The preparedness in personnel. Accounting staff in government agencies is inadequate, and most of staffs have knowledge of accrual basis only at medium level Anyway, both accountants and administrators agree to change the accounting system. 2. The preparedness in accounting data, documents and database system. They have good preparedness in accounting data, documents, database system and equipments such as computers. Although there are agencies that have collected accounting entry in computational files, most of them still have recorded with classical methods. The studies have also shown that the administrators and staffs rarely use accounting data for evaluating the financial status and operating performance. 3. The problems of accounting amount gathering and opening accrual process. In the accountants' opinion, the main problem is establishment asset's amount, others are classification of accounting entries and cooperation in the organization. For the administrator point of view, the major problems are establishment of asset's amount, classification of accounting entries and lack of good knowledge about accrual basis of accountants. 4. Recording problems of account. The serious problem in accountants points of view is about classification of accounting entries. Some entries are not specified clearly in the manual instruction. There is problem also to understand new documents. On the administrator's view, the major problems are classification, lack of good knowledge about accrual basis of accountants and lack of the understanding in increasing documents and cooperation within organization |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/583 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1136 |
ISBN: | 9741734646 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.1136 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sannudee.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.