Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58302
Title: | การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่: หินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง |
Other Titles: | ASSESSMENT OF GREENHOUSE GAS EMISSION FROM MINING INDUSTRY: INDUSTRIAL ROCK-CONSTRUCTION |
Authors: | อาทิมา ดับโศก |
Advisors: | สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Suthirat.K@chula.ac.th,suthirat.k@gmail.com,suthirat.k@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นภาคการผลิตที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หากแต่กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมหินเพื่อการก่อสร้างจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อการก่อสร้าง หินอุตสาหกรรมชนิดหินแกรนิตเพื่อการก่อสร้าง หินอุตสาหกรรมชนิดหินบะซอลต์เพื่อการก่อสร้างและหินอุตสาหกรรมชนิดหินไรโอไลต์เพื่อการก่อสร้าง และศึกษารูปแบบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างอุตสาหกรรมหินเพื่อการก่อสร้างแต่ละชนิด ตลอดจนเสนอแนวทางลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากอุตสาหกรรมหินเพื่อการก่อสร้าง ผลการศึกษาพบว่าหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างทั้ง 4 ชนิดมีความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยรวมระหว่างปี พ.ศ.2557-2558 เท่ากับ 0.1431 tCO2-eq/ton โดยการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งในกระบวนการผลิต (ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง) มีสัดส่วนความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเท่ากับ 0.0832 tCO2-eq/ton (ร้อยละ 58.14) รองลงมา คือ การใช้ไฟฟ้าในกระบวนการบดย่อยหิน (ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม) และการใช้วัตถุระเบิดในขั้นตอนการทำเหมืองแร่ (ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง) เท่ากับ ร้อยละ 30.68 และ 11.18 ตามลำดับ ทั้งนี้ หินอุตสาหกรรมชนิดหินบะซอลต์เพื่อการก่อสร้างมีความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ย (พ.ศ.2557-2558) สูงสุดเท่ากับ 0.0399 tCO2-eq/ton (ร้อยละ 27.89) ขณะที่หินอุตสาหกรรมชนิดหินไรโอไลต์มีความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุดเท่ากับ 0.0313 tCO2-eq/ton (ร้อยละ 21.87) โดยเฉลี่ยต่อปี จากผลการศึกษานี้ผู้วิจัยยังได้ออกแบบทดลองโดยจำลองสถานการณ์การขนส่งครอบคลุม 1 รอบ (โรงโม่-เหมือง-โรงโม่) จำแนกเป็น 6 สถานการณ์ย่อยเพื่อวิเคราะห์แนวทางที่มีศักยภาพในการลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ผลการทดลองพบว่าสถานการณ์ที่ 4 (ทดลองโดยการลดความเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะและปรับลดน้ำหนักบรรทุกเป็นร้อยละ 75 ) เป็นสถานการณ์จำลองที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด (0.39 kgCO2-eq/ton) นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่าความเร็วเฉลี่ย น้ำหนักบรรทุกและระยะเวลาที่ยานพาหนะใช้ในแต่ละกระบวนการขนส่งครบ 1 รอบ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณการใช้เชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมดังกล่าว |
Other Abstract: | In Thailand, industrial sector plays an important role in the national economy, its production (i.e. mining activities) has long been recognized as causing environmental problems such as pollution, resource depletion and also greenhouse gases (GHGs) emissions and climate change. This research aimed to (i) quantify the amount of GHGs emissions emitted from the production of industrial rock-construction, namely limestone, granite, basalt and rhyolite industrial rock-construction, (ii) to investigate the pattern of GHGs emissions of all mining cases, and (iii) to provide recommendations for possible GHGs mitigation options to the mining operators. Results found that the estimated intensity of GHGs emissions of all case studies was 0.1431 tCO2 per ton product. Combustion of diesel fuel related to transport activities in the mining was found to release the highest amount of GHGs (58%) compared to electricity consumption for crushing-grinding (31%) and the utilization of blasting agent (ANFO) (11%) in the mining processes, respectively. By considering type of industry, the production of basalt industrial-rock construction had the highest GHGs emissions intensity (0.0399 tCO2-eq/ton; 27.89%) in 2014-2015. However, the rhyolite industrial-rock construction was among the lowest emitter of GHGs (0.0313 tCO2-eq/ton; 21.87%). In addition, six-design scenarios for CO2 reduction potential were investigated. The experiment showed that scenario 4 (vehicle speed control and 25% load reduction) generated the lowest amount of CO2 emissions (0.39 kgCO2-eq/ton). In brief, vehicle speed, load and idle time were the major factors affecting vehicular GHGs emissions in the mining industry. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58302 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.841 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.841 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5787273420.pdf | 7.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.