Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58312
Title: การลดผลกระทบจากวัตถุที่ไหลมากับสึนามิที่กระทำต่อโครงสร้างอาคาร
Other Titles: MITIGATION OF TSUNAMI DEBRIS IMPACT ON BUILDINGS
Authors: ชัชช์ จริยาพันธ์
Advisors: อาณัติ เรืองรัศมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Anat.R@Chula.ac.th,aruangrassamee@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากภัยพิบัติสึนามิที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียได้ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างต่อชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศไทย โดยสึนามิได้เคลื่อนตัวเข้าชายฝั่งทำให้โครงสร้างอาคารเกิดการวิบัติเนื่องจากแรงอุทกพลวัต, แรงลอยตัวสถิตและแรงกระแทกจากวัตถุขนาดต่างๆที่ไหลมากับสึนามิซึ่งเข้าชนกับโครงสร้างอาคาร โดยในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมและผลตอบสนองของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กแบบโครงต้านแรงดัดสูง 4 ชั้นภายใต้แรงกระทำจากสึนามิและวัตถุที่ไหลมากับสึนามิ โดยการวิเคราะห์แบบผลักด้านข้างแบบสถิตไม่เชิงเส้นและได้ศึกษาโครงป้องกันด้านนอกซึ่งเชื่อมต่อกับองค์อาคารด้านในด้วยอุปกรณ์ดูดซับพลังงาน (fender) โดยพิจารณาที่ระดับความสูงสึนามิ 9 เมตร และความเร็วในการไหลที่ 13 เมตรต่อวินาที ในการศึกษาพบว่าอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้แรงกระทำจากน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่ง และแรงด้านข้างอันเนื่องมากจากแรงอุทกพลวัต ได้เกิดการวิบัติของเสาจากโมเมนต์ดัด และแรงเฉือน โดยในการศึกษาได้พิจารณาขนาดเสาให้ใหญ่ขึ้นซึ่งส่งผลให้โครงสร้างต้านทานแรงกระทำดังกล่าวโดยที่สถานะขององค์อาคารยังไม่ถึงสภาวะที่จุดคราก ในส่วนผลกระทบของแรงกระแทกจากวัตถุที่ไหลสึนามิในรูปแบบของพลังงานจลน์ที่กระทำต่อโครงสร้างนั้นวัตถุมวล 100 ตัน ที่ไหลมากับสึนามิที่ความเร็วดังกล่าวก่อให้เกิดพลังงานจลน์ 8560 kJ โดยพลังงานที่เกิดขึ้นถูกดูดซับโดยอุปกรณ์ดูดซับพลังงานขนาด 2000 มิลลิเมตรร่วมกับโครงอาคารด้านใน โดยอาศัยแบบจำลองของอาคารเดิมร่วมกับระบบโครงป้องกันด้านนอกซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารด้านในด้วยตัวอุปกรณ์ดูดซับพลังงาน ในการวิเคราะห์ได้ใช้การผลักแบบสถิตไม่เชิงเส้นในการวิเคราะห์ถึงผลตอบสนองด้านพลังงานทั้งหมดของโครงสร้างที่สามารถสลายได้โดยอาศัยการเกิดจุดหมุนพลาสติกในชิ้นส่วนโครงสร้าง ในการศึกษาได้ทำการพิจารณาถึงรูปแบบของการเชื่อมต่อระหว่างเสา และคานของโครงป้องกัน 2 รูปแบบได้แก่ แบบยึดแน่น และยึดหมุน ซึ่งพบว่าการเชื่อมต่อแบบยึดแน่นมีผลตอบสนองที่ดีกว่าในเรื่องของการดูดซับพลังงานร่วมกับโครงอาคารด้านในมากกว่าแบบยึดหมุน 2% โดยสถานะของโครงอาคารด้านในยังอยู่ในสภาวะที่จุดคราก และชีวิตปลอดภัยที่ตำแหน่งการปะทะที่กึ่งกลาง และริมอาคารตามลำดับ
Other Abstract: The tsunami disaster that occurred in the Indian Ocean caused serve damage to the southern coast of Thailand. Buildings are affected tsunami forces including the hydrodynamic force, buoyancy force, and the impact of tsunami debris. The study investigated the behavior and response of 4-storey reinforced concrete buildings under tsunami loading and debris impact. The nonlinear static pushover analysis was used to investigate the effectiveness of the perimeter protecting frame connecting the main building with an energy-absorbing device (fender). The tsunami height of 9 m and the current speed of 13 m/s was considered. For typical reinforced concrete buildings under the gravity load and the hydrodynamic force from tsunamis, columns failed in shear and flexural modes. The size of the columns was increased to 1m in diameter to improve the resistance. For debris impact, the mass of 100 t flows with the tsunamis at the speed of 13 m/s causes a kinetic energy of 8560 kJ. The cone type fender with the length of 2000 mm can be used to connect the protecting frame with the main building. From the nonlinear pushover analysis, the energy absorption from the fenders can help reduce the damage in the main building substantially. Two types of connections between columns and beams of the protecting frame were considered: rigid and hinged. The rigid connection can improve the energy dissipation by 2%
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58312
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.916
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.916
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870132821.pdf11.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.