Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58328
Title: การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักต่ออัตราการใช้พลังงานของรถยนต์สันดาปภายในและรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้การขับขี่จริงในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: IMPACT OF LOAD CHANGES ON ENERGY CONSUMPTION OF DIVERSE POWERTRAIN VEHICLES UNDER REAL WORLD DRIVING IN BANGKOK.
Authors: ศรวัสย์ ตรีนก
Advisors: อังคีร์ ศรีภคากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Paiboon.S@chula.ac.th,angkee.s@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักต่ออัตราการใช้พลังงานของรถยนต์สันดาปภายในและรถยนต์ไฟฟ้า โดยวิธีการสร้างแบบจำลองกำลังจำเพาะของยานยนต์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการทำนายหาอัตราการใช้พลังงานของรถยนต์ทั้งสองประเภท นอกจากนี้ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทสำคัญ แต่เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ามีราคาสูงจึงเกิดคำถามว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะมาแทนที่รถยนต์สันดาปภายในได้อย่างไร ดังนั้นจึงมีการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบอัตราการใช้พลังงานควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของรถยนต์ทั้งสองประเภท ซึ่งเป็นวิธีการที่จะบ่งบอกว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะทำให้ลดการใช้พลังงานรวมถึงค่าใช้จ่ายได้จริงเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์สันดาปภายในด้วยการขับขี่จริงในกรุงเทพมหานคร น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นกับรถยนต์ทั้งสองประเภทได้ถูกแบ่งออกเป็นสามค่านั่นคือ 10% 20% และ 30% ของน้ำหนักรถนยนต์ทดสอบเริ่มต้น นอกจากนี้เพื่อให้สะท้อนความเป็นกรุงเทพมหานครจึงได้แบ่งรูปแบบการจราจรที่ใช้ในการทดสอบได้แก่ รูปแบบการจราจรในเมือง รูปแบบการจราจรชานเมือง และรูปแบบการจราจรบนทางหลวง การทดสอบทั้งหมดใช้ระยะทางทดสอบรวมมากกว่า 1,345 กิโลเมตร ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลมากกว่า 30 วัน และมีจำนวนข้อมูลมากกว่า 39,000 จุด ผลการทดสอบพบว่าแบบจำลองกำลังจำเพาะของรถยนต์สันดาปภายในมีค่าความผิดพลาดอยู่ในช่วง 0.8 - 6 % และแบบจำลองกำลังจำเพาะของรถยนต์ไฟฟ้ามีค่าความผิดพลาดอยู่ในช่วง 0.8 - 12 % สำหรับการเปรียบเทียบอัตราการใช้พลังงานเมื่อเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของรถยนต์ทั้งสองประเภทพบว่าการอัตราการใช้พลังงานของรถยนต์สันดาปภายในมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 4.7 - 103% ในขณะที่อัตราการใช้พลังงานของรถยนต์ไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 1.5 - 49% สำหรับการคำนวณต้นทุนการเป็นเจ้าของพบว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีค่าต้นทุนการเป็นเจ้าของต่ำกว่ารถยนต์สันดาปภายในคิดเป็น 5.18% เมื่อควบคู่กับปัจจัยของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 30% ของน้ำหนักรถยนต์เริ่มต้นจากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยของน้ำหนักส่งผลต่ออัตราการใช้พลังงานของรถยนต์อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้หากรัฐบาลสนับสนุนโครงสร้างภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตจะทำให้ต้นทุนการเป็นเจ้าของของรถยนต์ไฟฟ้าต่ำกว่ารถยนต์สันดาปภายใน นอกจากนี้การทดสอบด้วยวิธีการขับขี่จริงพบว่าเมื่อน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นทำให้พฤติกรรมการขับขี่เปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลร่วมกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักส่งผลให้อัตราการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย
Other Abstract: This research studied the effect of weight variation to the power consumption of the internal combustion engine (ICE) and electric vehicle (EV) by using VSP Model. The VSP Model is used for predicting the energy consumption of both vehicles. Now a day, the EV is going to take an important role in the daily life, although the price of EV is still very high. Therefore, how could the EV replace ICE vehicle? Hence, this research studied the effects of weight variation to the power consumption of both vehicles, which is the method that can represent how EV can reduce the energy consumption and cost compared to the ICE vehicle. This research studied on the real driving situations in Bangkok. The weight variations are divided into 3 variations, 10%, 20% and 30% of the vehicle weight. In addition, to represent the driving behaviors in Bangkok, the traffic profiles are also divided into 3 groups, city, suburban and highway. The experiments contain 1,345 kilometers of driving, taken over 30 days of testing and 39,000 points of data. The results show that the VSP Model of the ICE vehicle has the error between 0.8 - 6 %. The VSP Model of the EV has the error between 0.8 - 12 %. For the comparison of the energy consumption of the different variations of the vehicle weight, the variation of the energy consumption of the ICE vehicle is between 4.7 – 103 %. However, the variation of the energy consumption of the ICE vehicle is between 1.5 – 49 %. For the cost of the ownership, the EV vehicle has the lower cost of the ownership than the ICE vehicle, 5.18 % lower, with an addition of 30% weight. The result shows that the additional weight significantly affects the energy consumption of the vehicle. If the government supports the usage of EV by modifying EV tax incentives in the feature, the cost of the ownership will be decreased less than the ICE vehicle. In addition, the behavior of the driver changed according to the additional weight, together with the additional weight itself, affect the energy consumption of the vehicle.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58328
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.888
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.888
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870359021.pdf6.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.