Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58331
Title: การออกแบบและพัฒนาส่วนส่งยาผ่านทางผิวหนังสำหรับเข็มฉีดยาขนาดไมครอนประเภทกลวง
Other Titles: Design and development of dispenser for transdermal drug delivery in hollow microneedles
Authors: เสกข์ ขจรรุ่งศิลป์
Advisors: วีระยุทธ ศรีธุระวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Werayut.S@Chula.ac.th,werayut.s@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เข็มฉีดยาขนาดไมครอนกำลังได้รับความสนใจเป็นอันมากเนื่องจากสามารถนำส่งยาโดยไม่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกเจ็บปวดเหมือนการฉีดยาด้วยเข็มฉีดยาทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข็มฉีดยาขนาดไมครอนประเภทกลวงสามารถบรรจุยาที่เป็นของเหลวและนำส่งยาได้ในปริมาณมากคล้ายกับเข็มฉีดยาที่ใช้ในปัจจุบัน แต่มีเข็มที่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปเข็มฉีดยาขนาดไมครอนประเภทกลวงนั้นประกอบด้วยแผ่นเข็มขนาดจุลภาคที่ตรงกลางมีท่อให้ยาไหลผ่าน และต่อเข้ากับส่วนส่งยาที่กักเก็บยา และใช้ความดันนำส่งยาเข้าสู่ร่างกายทำให้มีความซับซ้อนในการใช้งานและมีต้นทุนสูง งานวิจัยนี้จึงนำเสนอเข็มฉีดยาขนาดไมครอนประเภทกลวงที่มีลักษณะเป็นแผ่นที่มีเข็มจำนวนมากที่สามารถนำส่งยาโดยการกดด้วยนิ้วหัวแม่โป้ง ซึ่งเข็มฉีดยาขนาดไมครอนประเภทกลวงที่ทางคณะวิจัยนำเสนอประกอบด้วยแผ่นเข็มขนาดไมครอนที่มีเข็มขนาดไมครอนจำนวนหลายสิบเข็มและฝาปิด ที่สามารถบรรจุยาก่อนใช้ฝาปิดปิด ทั้งนี้งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการออกแบบและพัฒนากลไกการล็อคของฝาปิดและฝาปิดที่ทำจากพลาสติกชนิดโพลีเอทีลีน และมีราคาถูกเหมาะสำหรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ทางคณะวิจัยได้ออกแบบกลไกดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นฝาปิดที่สามารถประกอบเข้ากับแผ่นเข็มขนาดไมครอนโดยการกด อนึ่งในการออกแบบฝาปิดนั้นได้นำโปรแกรม ANSYS มาใช้ในการวิเคราะห์การยุบตัวของฝาปิดที่เกิดจากแรงกดจากนิ้วหัวแม่โป้ง ในขณะที่ใช้แรงกดของนิ้วโป้งที่น้อยที่สุด (แรง 10 นิวตัน) ฝาปิดต้องยุบตัวได้อย่างน้อย110ไมโครลิตร และส่วนส่งยาต้องไม่เสียหายที่แรงกดของนิ้วโป้งที่มากที่สุด (แรง 60 นิวตัน) โดยจากการจำลองฝาปิดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 22 มิลลิเมตรและสูง 1 มิลลิเมตร และปรับเปลี่ยนความหนาของฝาปิดจาก 0.1, ถึง 0.8 มิลลิเมตรตามลำดับ พบว่าที่ความหนาเท่ากับ 0.4 มิลลิเมตรนั้นเหมาะสมสำหรับสร้างเป็นฝาปิดมากที่สุด การขึ้นรูปส่วนส่งยาจะใช้การขึ้นรูปโดยการฉีดพลาสติก จากการทดสอบเบื้องต้นส่วนส่งยาที่ขึ้นรูปด้วยการฉีดพลาสติกพบว่าส่วนส่งยาสามารถทนที่มากกว่าแรงกดจากนิ้วที่มากที่สุด(60 N)โดยไม่เกิดการเสียหายจึงทำการปรับปรุงขนาดของส่วนส่งยาเพื่อให้ส่งยาได้ในปริมาณมากขึ้นเปลี่ยนความหนาของส่วนส่งยา เส้นผ่านศูนย์กลาง และความสูงให้เท่ากับ 0.2, 20 และ 2 มิลลิเมตรตามลำดับ และในการทดสอบกลไกการล็อคพบว่าสามารถเก็บยาที่เป็นของเหลวโดยไม่รั่วที่รอบการหมุน 3000รอบต่อนาที
Other Abstract: Microneedles are currently attracting great interested in transdermal drug delivery because of painless unlike an ordinary injection needle. Especially, hollow microneedles that can infuse drug into the skin. Microneedle comprise microneedles array attach to dispenser. The microneedles array have a conduit for delivery liquid drug into the skin and contact with dispenser which filled with a liquid solution and drive it by pressure. However, dispenser manufacture is expensive and complicated. Therefore, this work propose the plastic hollow microneedles pad that consist of the microneedle arrays and dispenser cap. The aim of this work is to design and develop the polyethylene dispenser that have design and assemble suitable for industrial manufacturing.The dispenser design for putting hollow microneedles together by pressing. In the design process, ANSYS is used to simulate deflection with several finger forces. The dispenser can delivery drug with the minimum finger force (10 N) at least 110 microliters and it is not fail with the maximum finger force (60 N). The overall dimensions of the dispenser are 22 mm X 22 mm X1 mm. Deflection membrane thickness was adjusted from 0.1 mm to 0.8 mm. After simulate model with ANSYS, the suitable thickness for dispenser is 0.4 mm. The dispenser was fabricated by injection molding. The first experiment result showed that the fabricated plastic dispenser could withstand the maximum finger force without failure. To increase drug delivery quantity, the diameter, membrane thickness and height of the dispenser were adjusted to 0.2, 20, 2 mm. respectively. In the performance test of the locking part, the locking part can hold drug in the dispenser’s reservoir up to 3,000 rpm without leaking.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58331
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.890
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.890
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870367021.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.