Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58355
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด บ.ว.ร. (บ้าน วัด โรงเรียน) และแนวคิดหน่วยชุมชนละแวกบ้าน
Other Titles: THE RELEVANCE BETWEEN COMMUNITY– TEMPLE – SCHOOL CONCEPT AND NEIGHBOURHOOD UNIT CONCEPT
Authors: เกริดา โคตรชารี
Advisors: พรสรร วิเชียรประดิษฐ์
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pornsan.V@Chula.ac.th,Pornsan.V@Chula.ac.th
Kundoldibya.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเด็นด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมเมืองเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ควบคู่มากับการเติบโตของเมืองแบบก้าวกระโดด ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิดหน่วยชุมชนละแวกบ้าน (Neighbourhood Unit Concept) ที่เน้นการใช้การพัฒนาในเชิงกายภาพของชุมชนที่อยู่อาศัยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครัวเรือนซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก หากเมื่อพิจารณาบริบทสังคมไทยพบว่ามีแนวคิด บ.ว.ร. (บ้าน วัด โรงเรียน) ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางใช้ในการพัฒนาชุมชน ที่เป็นแนวคิดที่มุ่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน และหน่วยสังคมหลักภายในชุมชนเช่นกัน งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองแนวคิดว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร และศึกษาพฤติกรรมการใช้งานสาธารณูปการ และความสัมพันธ์ของชาวชุมชนต่อสาธารณูปการที่เป็นองค์ประกอบของแนวคิด บ.ว.ร. ว่าเป็นอย่างไร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ผู้วิจัยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดในด้านวัตถุประสงค์ ความหมาย องค์ประกอบ และการนำแนวคิดทั้งสองแนวคิดไปประยุกต์ใช้งาน การวิจัยส่วนที่สองเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้งานสาธารณูปการในชุมชนและความสัมพันธ์ระหว่างครัวเรือนในชุมชนกับสาธารณูปการ โดยใช้กรณีศึกษา ได้แก่ ชุมชนย่านกะดีจีน (ชุมชนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสอดคล้องกับแนวคิด บ.ว.ร.) ชุมชนย่านรามคำแหง 39 (ชุมชนที่ใช้แนวคิด บ.ว.ร. เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนา) และชุมชนย่านเมืองใหม่บางพลี วาระที่ 1 (ชุมชนที่พัฒนาโดยใช้แนวคิดหน่วยชุมชนละแวกบ้านเป็นแนวคิดหลักในการพัฒนา) เป็นพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบร่วมในเชิงกายภาพของทั้งสองแนวคิด ได้แก่ ลานชุมชนและพื้นที่สาธารณะ ศาสนสถาน และสถานศึกษา แต่ยังไม่พบหลักฐานการเชื่อมโยงที่มาของทั้งสองแนวคิด เนื่องจากเป็นแนวคิดที่มีวัตถุประสงค์และที่มาแตกต่างกัน โดยแนวคิด บ.ว.ร. เป็นแนวคิดที่เน้นใช้ความสัมพันธ์ของสถาบันหลักในชุมชนในการพัฒนา ส่วนแนวคิดหน่วยชุมชนละแวกบ้านเป็นการพัฒนาโดยใช้ลักษณะทางกายภาพเป็นหลักในการพัฒนา ผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้งานสาธารณูปการพบว่าชาวชุมชนจะรับรู้ขอบเขตชุมชนจากสถานที่ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีลานชุมชนและพื้นที่สาธารณะเป็นองค์ประกอบภายในชุมชนที่มีศักยภาพในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครัวเรือนในชุมชนมากที่สุดศาสนสถานและสถานศึกษาเป็นองค์ประกอบที่มีศักยภาพรองลงมา เนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่ถูกใช้งานด้วยกิจกรรม ความถี่ และกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลายน้อยกว่า และได้พัฒนาข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชน โดยใช้ผลการศึกษาพฤติกรรมและการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิด บ.ว.ร. ของชุมชน ประกอบกับแนวคิดหน่วยชุมชนละแวกบ้านเป็นแนวทางในการพัฒนาข้อเสนอแนะดังกล่าว
Other Abstract: Relationship between households in community is one of the important issues in urban community development after the industrial revolution. Rapid urbanization and lack interactions among community members brought the Neighborhood Unit Concept in 1929. The concept focused on using physical planning and development of residential area to accelerate residents’ social bonds. Hence, Neighborhood Unit concept has been adopted globally. However, there is similar concept in Thailand’s context called Community-Temple-School (CTS), which also centers in using the relationship of main community institutions as named in the concept for social development. This research aimed to explore and analyze if there is relevance between the Neighborhood Unit concept and the CTS concept, as well as to explain the use of community facilities and relationship of people and those facilities. Mixed research strategy was conducted in two steps. First, qualitative research was conducted to explain and analyze objectives, meanings, components, and implications of the two concepts. Second, Kadeechin (traditional community with elements of the CTS concept), Ramkamhaeng 39 (community developed by the CTS concept), and Bang Plee New Town (housing community developed by Neighborhood Unit concept) were selected to study the use of facilities and the relationship through quantitative research. The result revealed that there are three shared components among two concepts: community common spaces, religious and educational facilities. However, there is no clear explanation of how these two concepts were linked because of difference background intentions. The CTS concept focuses on main social organizations in a community for development process, while physical elements are considered in the Neighborhood Unit concept. Moreover, community residents perceive community border from “places” they visit in their daily routine. Hence, community square have highest potentials in building up social bonds within the community because of its activity diversity, frequency of uses, and variation of users. Religious facilities and educational facilities are ranked lower, however, they also have potentials in social bonding. Guidance of urban community development are discussed based on findings.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58355
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.211
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.211
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873302725.pdf11.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.