Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58356
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรสัณฑ์ บูรณากาญจน์-
dc.contributor.authorชรินรัตน์ รุ่งเรืองศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:38:32Z-
dc.date.available2018-04-11T01:38:32Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58356-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractประเทศไทยมีอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก ที่ยังใช้ประโยชน์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคารที่มีการใช้งานจากเดิมเป็นอาคารเรียนและห้องสมุด ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงการใช้เป็นอาคารสำนักงาน และห้องสมุดที่ติดตั้งระบบปรับอากาศ การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความเหมาะสมต่อการใช้งานในยุคปัจจุบันรวมถึงสภาวะน่าสบายทางด้านเทคโนโลยีอาคาร 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้สึกร้อนหนาว ความสว่าง เสียง และคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร การศึกษาวิจัยเริ่มจากการเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณความสว่างบนพื้นที่ใช้งาน ความดังของเสียงภายในห้อง และการใช้แบบสอบถามประเมินคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคารควบคู่กับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ อาคารกรณีศึกษามีคุณสมบัติมวลสารมาก (น้ำหนักผนังอาคารมากกว่า 195 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีค่าความหน่วงความร้อนจากภายนอกได้มาก ผลการวิจัย พบว่า อุณหภูมิอากาศภายในอาคารกรณีไม่ปรับอากาศได้รับอิทธิพลจากอากาศร้อนภายนอกอาคารน้อยมากเนื่องจากอิทธิพลของความจุความร้อนของผนังมวลสารมาก ความสว่างบนพื้นที่ใช้งานภายในอาคารจะได้รับแสงธรรมชาติจากช่องเปิดด้านข้างเข้ามาในพื้นที่ใช้งานไม่เกิน 3 เมตร ความดังของเสียงภายในห้องมีค่าระหว่าง 55-80 เดซิเบล ส่วนค่าความก้องของเสียงภายในห้องมีค่า 2-5 วินาที ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานการใช้งาน ผลการศึกษาด้านคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร พบว่า การใช้งานพื้นที่ปัจจุบันเมื่อใช้ระบบปรับอากาศและจำเป็นต้องปิดประตูหน้าต่างจะทำให้สภาพแวดล้อมภายในอาคารไม่เหมาะสมกับการใช้งาน งานวิจัยพบว่าการใช้อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณสมบัติมวลสารมาก มีความจำเป็นต้องใช้ระบบอาคารที่มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้อาคารโดยเฉพาะด้านความร้อนหนาวและด้านแสงสว่างในอาคาร-
dc.description.abstractalternativeMany historical buildings in Thailand have been used since they were built until today. Maha Chulalongkorn and Maha Vajiravudh buildings at Chulalongkorn university had been used as lecture room and library but today they will use as air conditioning office and library. This study is object to analyze the suitable human comfort conditions of historical building as thermal, lighting, acoustics, and indoor environmental quality. Hourly air temperatures, relative humidity, illumination background noise, and questionnaire were collected. Those case study buildings categorized as high mass building (more than 195 kilograms per square meter wall). They have high thermal resistance property. It is found that indoor air temperatures barely influence by outdoor air temperature. The illumination on working plane can be used only 3 meters from external wall. Then, the artificial light is needed to make 500 Lux. The background noise is 55-80 decibel while reverberation time (RT) is 2-5 seconds which exceed standard. Indoor environmental quality illustrates that natural ventilation library was suitable in the past but when using air conditioning in the room. It can be concluded that historical building with high mass is needed to be considered carefully when using air conditioning and lighting for modern life style demand.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1500-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.subjectอาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน-
dc.subjectอาคาร -- การใช้พลังงาน-
dc.subjectอาคารประวัติศาสตร์-
dc.subjectChulalongkorn University. Faculty of Arts-
dc.subjectBuildings -- Energy conservation-
dc.subjectBuildings -- Energy consumption-
dc.titleการศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสภาพแวดล้อมของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพื่อการใช้งานในยุคปัจจุบัน กรณีศึกษาอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.title.alternativeEnergy and environment efficacy study of historic building case study: Maha Chulalongkorn Building and Maha Vajiravudh Building in Faculty of Arts Chulalongkorn University-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorVorasun.B@Chula.ac.th,vorasun@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1500-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873306225.pdf11.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.