Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58377
Title: | การจัดการความความเสี่ยงภัยภายในอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ กรณีศึกษา อาคารสำนักงานใหญ่ของสถาบันทางการเงิน 6 แห่ง |
Other Titles: | RISK MANAGEMENT IN OFFICE BUILDING: A CASE STUDY OF SIX HEAD OFFICE BUILDING OF FINANCIAL INSTITUTIONS |
Authors: | พีรวัฒน์ แสงชูโต |
Advisors: | เสริชย์ โชติพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sarich.C@Chula.ac.th,Sarich.c@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการด้านความเสี่ยงภัยภายในอาคารสำนักงานใหญ่ของสถาบันการเงินในประเทศไทย การวิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน จำนวน 6 แห่ง เพื่อศึกษาหลักการและเหตุผลในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายด้านการจัดการความปลอดภัยภายในอาคารของสถาบันการเงิน และศึกษาวิธีการตลอดจนกระบวนการในการจัดการด้านความเสี่ยงภัยของอาคารสำนักของสถาบันการเงิน รวมถึงศึกษาหาความสัมพันธ์ของแนวทางและวิธีการของการจัดการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะกายภาพของอาคารสำนักงานใหญ่ของสถาบันการเงิน ผลจากการศึกษาพบว่า ธนาคารกลุ่มตัวอย่างทั้ง 6 แห่ง มีลักษณะอาคารเป็นอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ โดยมีลักษณะกายภาพที่แตกต่างกัน 2 ลักษณะคือ 1)อาคารที่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำหรือคลอง 2) อาคารที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และมีความแตกต่างกันในเรื่องของระบบป้องกันอัคคีภัยโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1)กลุ่มอาคารที่สร้างก่อนกฎกระทรวงปี 2535 2) กลุ่มอาคารที่สร้างหลังกฎกระทรวงปี 2535 โดยพบว่า ธนาคารมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายด้านความปลอดภัยที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านความปลอดภัยของพนักงานและผู้ใช้งานอาคาร มุ่งเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ปฏิบัติตามข้อบังคับทางกฎหมายที่เกี่ยวกับอาคารและกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยอย่างเคร่งครัด ติดตามและประเมินความเสี่ยงภัยภายในอาคารเพื่อหาแนวทางป้องกันและมีการระบุความเสี่ยงภัยโดยธนาคารกลุ่มตัวอย่างให้ระดับความสำคัญมากที่สุดกับความเสี่ยงภัยที่เกิดจากอัคคีภัย และความเสี่ยงภัยที่เกิดจากการปฏิบัติงานของผู้รับเหมา และให้ความสำคัญในระดับรองลงมากับความเสี่ยงภัยที่เกิดจากการปฏิบัติงานผิดพลาด และความเสี่ยงภัยจากการเสื่อมสภาพหรือชำรุดจากเครื่องจักรและระบบประกอบอาคาร ความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่ทำงาน ความเสี่ยงจากการจัดเก็บสารเคมีหรือเชื้อเพลิง และความเสี่ยงจากภัยพิบัติได้แก่ ภัยจากแผ่นดินไหว และภัยจากน้ำท่วม ตามลำดับ โดยมีการกำหนดและเตรียมแผนการจัดการกับความเสี่ยง จัดทำแผนการประเมินความเสี่ยงภัย แผนการตรวจสอบการทำงานและปฏิบัติงาน แผนการอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัย กำหนดแผนงานมาตรฐานเพื่อลดความเสี่ยงภัย โดยเลือกใช้เครื่องมือที่ต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้เพื่อลดความเสี่ยงภัย ได้แก่ ป้ายแนะนำและป้ายเตือนต่างๆ จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักในเรื่องความปลอดภัย รวมถึงการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและคู่มือความปลอดภัยสำหรับการทำงานกำหนดระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ระเบียบการตกแต่งพื้นที่ โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ระดับหัวหน้างาน รวมไปถึงการจัดจ้างผู้ตรวจสอบอาคารหรือบุคคลภายนอกเข้ามาตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีการกำหนดวิธีวัดผลการปฏิบัติงานด้วยการเก็บเป็นสถิติของการเกิดเหตุและจัดทำเป็นรายงานผลเพื่อนำมาปรับปรุง ป้องกันและลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงภัยแต่ละประเภทขึ้นภายในสำนักงาน การจัดการด้านความเสี่ยงภัยของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินพิจารณาให้ระดับความเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบต่อการใช้งานอาคาร ความปลอดภัยของพนักงานและผู้ใช้อาคาร ตลอดจนผลกระทบต่อทรัพย์สิน และภาพลักษณ์ของธนาคาร โดยกำหนดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ซึ่งเป็นกลุ่มความเสี่ยง 1 ใน 5 ความเสี่ยงตามเงื่อนไขของธนาคารแห่งประเทศ โดยมีการกำหนดทิศทาง วางเป็นนโยบายและเป้าหมายด้านความปลอดภัยที่ชัดเจน เพื่อแก้ไขและลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเลือกใช้วิธีการจัดการและดำเนินการตามประเภทของความเสี่ยงภัยหลัก 2 ส่วน คือ 1 .อุบัติภัยที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ การทำงานผิดพลาด ขาดความรู้ ความประมาท ของพนักงานในอาคาร ผู้รับเหมา และเกิดจากความชำรุดของอาคาร และ 2.อุบัติภัยที่เกิดจากภัยพิบัติหรือภัยทางธรรมชาติ โดยธนาคารมีการจัดทำแผน 3 ส่วน คือ แผนเตรียมการก่อนเกิดเหตุ แผนขณะเกิดเหตุหรือเผชิญเหตุ และแผนฟื้นฟูคืนสภาพ โดยการจัดการความเสี่ยงภัยทั้งหมดเชื่อมโยงกับแผน BCP หลักของธนาคาร |
Other Abstract: | The objective of this study was to investigate the risk management of the 6 head office buildings of a financial institution in Thailand. This research was conducted by interviewing 6 financial executives to study the principles and reasons for setting the direction and objectives of building safety management. From the study results, it was found that the guidelines and procedures for managing the risk in the financial institution buildings paid close attention to the risk management of fire and other hazards that affect financial institution reliability with a focus on actions under the rules of the law, risk identification, and analysis of risk to financial institutions to set clear policies and goals for security actions as a guideline for safety operations and to deal with the risks that will affect the financial institution. There are plans, steps, patterns, and tools. There are also persons responsible for monitoring and controlling practices to be in accordance with the set procedures and formats. There are also measures to improve the effectiveness of safety management and the development of employee knowledge on safety to reduce risks and accidents that could occur. There are clear policies and targets and strict compliance with safety laws and regulations for the safety and risk management in a financial institution buildings. All financial institutions paid attention to the development of employee knowledge on safety. Most financial institutions paid serious attention to the risk especially the risk caused by the contractor and the risk of defective equipment. They dealt with risk by identifying hazards that will occur and planning controls to reduce the likelihood of incidents through the plan, tool, and control from the responsible persons. Financial institution building risk management starts from the establishment of clear policies and goals, analyzing and assessing risk and the impact that would occur. The financial institution had the same safety management approach. There may be slight differences depending on the physical characteristics and location of the building. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58377 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1160 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1160 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873603625.pdf | 4.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.