Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58412
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์-
dc.contributor.authorพัณณ์ชิตา จรัสยศวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:41:17Z-
dc.date.available2018-04-11T01:41:17Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58412-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการตอบสนองฉับพลันของอัตราการเต้นของหัวใจและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดที่มีต่อการฝึกความอดทนแบบแอนแอโรบิกระยะยาวในอุโมงค์น้ำโดยใช้อัตราส่วนระหว่างระยะเวลาฝึกต่อระยะเวลาพัก 4 รูปแบบในนักกีฬาว่ายน้ำระยะสั้น และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์อัตราการเต้นของหัวใจสำรองขณะฝึกและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดขณะฝึกด้วยอัตราส่วนระหว่างระยะเวลาฝึกต่อระยะเวลาพักทั้ง 4 รูปแบบ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักกีฬาว่ายน้ำเพศหญิง อายุตั้งแต่15 - 17 ปี จำนวน 10 คน ได้รับการฝึกความอดทนแบบแอนแอโรบิกระยะยาวในอุโมงค์น้ำที่มีอัตราส่วนระหว่างระยะเวลาฝึกต่อระยะเวลาพัก 4 รูปแบบโดยการถ่วงดุลลำดับ ได้แก่รูปแบบ 1:1 (ฝึก 30 วินาที พัก 30 วินาที) รูปแบบ 1:2 (ฝึก 30 วินาที พัก 60 วินาที) รูปแบบ 1:3 (ฝึก 30 วินาที พัก 90 วินาที) รูปแบบ1:4 (ฝึก 30 วินาที พัก 120 วินาที) ให้พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมงระหว่างการฝึกแต่ละรูปแบบ บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดทั้งขณะพักและขณะฝึก นำไปวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบที (Paired sample t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ(One-way ANOVA with repeated measures) ของอัตราการเต้นของหัวใจขณะฝึกและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดขณะฝึก หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(Correlation) ระหว่างเปอร์เซ็นต์อัตราการเต้นของหัวใจสำรองขณะฝึกกับความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดขณะฝึก ผลการวิจัย พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดขณะฝึกรูปแบบ1:1 มากกว่าขณะฝึกรูปแบบ1:4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเปอร์เซ็นต์อัตราการเต้นของหัวใจสำรองขณะฝึกและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดขณะฝึกมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง4รูปแบบ สรุปผลการวิจัย สามารถนำเปอร์เซ็นต์อัตราการเต้นของหัวใจสำรอง 71.44±.876 , 72.87±5.594 , 72.23±3.446 และ 75.92±5.473 ไปใช้กำหนดความหนักในการฝึกว่ายน้ำในอุโมงค์น้ำแทนการกำหนดความหนักด้วยความเข้มข้นของแลคเตทในเลือด(7.42±.687, 8.08±1.13 , 8.11±2.55 และ 8.85±1.38 มิลลิโมลต่อลิตร) ได้ในการฝึกรูปแบบ1:4 รูปแบบ1:3 รูปแบบ1:2 และ รูปแบบ1:1 ตามลำดับ-
dc.description.abstractalternativePurpose The purpose of this study were to study the acute effects of heart rate and blood lactate concentration responses to Long-term anaerobic endurance training protocols in water flume using four different work : rest ratio in short-distance swimmer and the relationship during training between percentage of heart rate reserve and blood lactate concentrations using four different work : rest ratio. Methods The subject were 10 female swimmer, age between 15-17 years old. All subject participated in Long-term anaerobic endurance training protocols in water flume using four different work : rest ratio by couterbalancing is 1:1 (swim 30 second rest 30 second) 1:2 (swim 30 second rest 60 second) 1:3 (swim 30 second rest 90 second) and 1:4 (swim 30 second rest 120 second) , recovery time at least 24 hours between protocal. Heart rate and Blood lactate of subject were recorded resting and training. The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviations, compared within group by using t-test(Paired sample t-test), one-way analysis of variance with repeated measure and multiple comparison by the bonferroni and determine the significant differences of heart rate and blood lactate and correlation between percentage of heart rate reserve and blood lactate concentration during training also. Results There were found the heart rate and blood lactate on training treatment 1:1 was higher than treatment 1:4 (p<0.05) and percentage of heart rate reserve during training and blood lactate concentrations during training were all positively correlated and significant all treatment. Conclusion The percentage of heart rate reserve (71.44±.876 , 72.87±5.594 , 72.23±3.446 and 75.92±5.473 %) can be used to determine the intensity of swimming training in the water flume, instead of determining configuration by blood lactate(7.42±.687, 8.08±1.13 , 8.11±2.55 และ 8.85±1.38 mmol / L) in treatment 1:4 , treatment1:3 treatment1:2 and treatment1:1 respectively.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1235-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการตอบสนองฉับพลันของตัวแปรทางสรีรวิทยาที่มีต่อการฝึกในอุโมงค์น้ำด้วยวิธีการฝึกความอดทนแบบแอนแอโรบิกระยะยาวโดยใช้อัตราส่วนระหว่างระยะเวลาฝึกต่อระยะเวลาพักที่แตกต่างกันในนักกีฬาว่ายน้ำระยะสั้นเยาวชนหญิง-
dc.title.alternativeACUTE EFFECTS OF PHYSIOLOGICAL VARIABLES ON LONG-TERM ANAEROBIC ENDURANCE TRAINING IN WATER FLUME WITH DIFFERENT WORK : REST RATIOS IN YOUTH SHORT-DISTANCE FEMALE SWIMMERS.-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorChaninchai.I@Chula.ac.th,c.intiraporn@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1235-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878315839.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.