Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58417
Title: ผลของการฝึกเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล
Other Titles: Effect of supplementary combined plyometric and core muscle training on agility in futsal players
Authors: สหรัฐฯ ศรีพุทธา
Advisors: วันชัย บุญรอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Wanchai.B@Chula.ac.th,Wanchai.B@chula.ac.th,wanchai.b@hotmail.ac.th
Subjects: ฟุตซอล
พลัยโอเมตริก (การฝึกกำลัง)
Indoor soccer
Plyometrics
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอลเพศชาย ระดับเยาวชนอายุ 13-15 ปี วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักกีฬาฟุตซอลโรงเรียนปทุมคงคา ใช้การคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง ( Purposive Sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจับคู่ (match pair) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 14 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกโปรแกรมเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และกลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริกเพียงอย่างเดียว ทั้งหมด 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว พลังกล้ามเนื้อในรูปแบบพลังในการเร่งความเร็ว และความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว โดยทำการทดสอบ 3 ครั้ง คือ ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการทดสอบก่อนการทดลองที่ 1 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ในกลุ่มทดลอง ความคล่องแคล่วว่องไวมีการลดลงของเวลา และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พลังกล้ามเนื้อในรูปแบบพลังในการเร่งความเร็ว ไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มทดลองที่ 2 ความคล่องแคล่วว่องไวมีการลดลงของเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พลังกล้ามเนื้อในรูปแบบพลังในการเร่งความเร็วและความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่การฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวมีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล แต่ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม
Other Abstract: Purpose The purpose of this study were to examine and to compare the supplementary combined plyometric and core muscle training on agility of male futsal players aged 13-15 years old. Method : Participants are twenty-eight men futsal players ( age 13-15 years old) from Patumkongka school selected by purposive selection and divided into two groups by match pair. The experimental group 1 performed supplementary plyometric training combine with core muscle training. The experimental group 2 performed only supplementary plyometric training. Participants were tested on their agility , acceleration power and core muscle strength before training and after the 4th and 8th week of training. Data were analysis using mean, standard deviation, one-way analysis of variance with repeated measure. Independent t-test was also employed for statistical significance. Results : Mean±S.D. of agility and core muscle strength significantly increased after the 4th and 8th week of training (p<.05). but no significant in acceleration power on The experimental group 1 . In the experimental group 2, agility significantly increased after the 4th and 8th week of training (p<.05). but no significant in acceleration power and core muscle strength on the experimental group 2. Mean±S.D. of agility, acceleration power and core muscle strength no significant difference between experimental 1 and experimental 2 group. (p>.05). Conclusion: this study showed that supplementary combined plyometric and core muscle training in this experiment had significant effect on development in agility but no significant different between experimental 1 and experimental 2 group.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58417
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1244
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1244
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878412039.pdf6.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.