Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58418
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย-
dc.contributor.authorอุษา ศรีไชยา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:41:35Z-
dc.date.available2018-04-11T01:41:35Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58418-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดตามเพศและระดับชั้นการศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 448 คน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า “ที” และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวในกรณีที่พบความแตกต่าง จะใช้การวิเคราะห์รายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายและเพศหญิงในสัดส่วนที่เท่ากันส่วนใหญ่มีอายุ 18-22 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรีซึ่งเป็นนิสิตนักศึกษาของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเข้าใช้บริการฟิตเซ็นเตอร์ช่วงวันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา14.01 น. - 18.00 น. เพราะมาออกกำลังกาย โดยใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อครั้ง และมาใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ 1–5 ครั้งต่อเดือน เสียค่าใช้จ่ายเมื่อมาใช้บริการ 100 - 150 บาท บาทต่อครั้ง เหตุผลสำคัญในการเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ คือ ที่ตั้งของฟิตเนสเซ็นเตอร์อยู่ใกล้ที่พักสะดวกต่อการเดินทาง การใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนคือการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์มีการตัดสินใจใช้บริการส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริการ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ และด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ 2. ผลการเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ตามเพศและระดับการศึกษา โดยการทดสอบค่า “ที” พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีการตัดสินใจส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกัน ด้านสถานที่การให้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์กับส่วนประสมทางการตลาดตามระดับการศึกษา โดยการวิเคราะห์พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการตัดสินใจส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันด้านการส่งเสริมทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativePurpose The purpose of research aims to know marketing mix affecting decision of using service fitness center of private higher education institution in Bangkok metropolitan. Methods The purpose of research aims to study marketing mix affecting decision of using service fitness center of private higher education institution in Bangkok metropolitan and compare marketing mix by gender and educational level. The data were collected by survey questionnaires of 488 undergraduate students from private higher education institution in Bangkok metropolitan. Data were analyzed in terms of means, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and Scheffe’ Results of the research Data were collected from male and female, 18-22 years old undergraduate students from private higher educational institution in Bangkok metropolitan. They use fitness center on Saturday and Sunday at 2pm. to 6pm. for exercise about 1 hour per time. Students in the study use fitness center 1-5 times per month and pay fee 100 – 500 baht per time. Reason to use fitness center is the location where is close to their living place and convenient to travel. They want to be healthy so they are going to use fitness center. The result found that 1. The marketing mix affecting the decision revealed that the overall very high and when considering each of the details the same level such as service, price, place, sale promotion, personnel, process and creating and representing physical characteristics. 2. Result from comparing marketing mix in terms of gender by t-test found that statistical significant difference place at 0.05 levels by gender. 3. Relationship between the decision to use fitness center and marketing mix by educational level found that, statistical significant difference promotion at 0.05 levels in different educational level of student.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1251-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectสถานกายบริหาร-
dc.subjectการตัดสินใจ-
dc.subjectการตลาด-
dc.subjectPhysical fitness centers-
dc.subjectDecision making-
dc.subjectMarketing-
dc.titleส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของเขตกรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeThe marketing mix affecting decision of using service fitness center of private higher education institution in Bangkok Metropolitan-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorTepprasit.G@Chula.ac.th,Tepprasit.G@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1251-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878416539.pdf8.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.