Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5841
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุทธนู ศรีไสย์ | - |
dc.contributor.author | นิรชราภา ทองธรรมชาติ | - |
dc.contributor.author | จิตต์นิภา ศรีไสย | - |
dc.contributor.author | สงกรานต์ วีระเจริญกิจ | - |
dc.contributor.author | สุภาณี จุลชู | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-11T11:22:26Z | - |
dc.date.available | 2008-02-11T11:22:26Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741333579 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5841 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพในด้านผลผลิต ผลลัพธ์ รวมทั้งสภาพปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และมาตรการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาจากแบบสำรวจ แบบตรวจสอบ แบบสอบถามกึ่งสัมภาษณ์ และแบบสอบถามมีทั้งหมด 6 ชุด คือ 1)แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน 2) แบบตรวจสอบโครงการ/แผนงานเกี่ยวกับ ICT ในโรงเรียน 3) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน 4) แบบสอบถามการใช้สื่อการเรียนการสอนของครู 5) แบบสอบถามการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของนักเรียน และ 6) แบบสอบถามเกี่ยวกับการสนับสนุนให้นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ของผู้ปกครอง ข้อมูลที่สมบูรณ์ทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์กับโปรแกรม SPSS for Windows ค่าสถิติที่ใช้คือ จำนวนหรือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (ในกรณีของการกระจายปกติ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน (ในกรณีของการกระจายที่ไม่ปกติ) และส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมของประเทศอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (51.22%) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณาในแต่ละรายด้านพบว่า รายด้านที่อยู่ในระดับต้องปรับปรุง 2 อันดับแรกคือ ด้านบุคลากร (33.36%) และด้านบริหารจัดการ (44.18%) 2.สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร (68.11%) เขตภาคเหนือ (60.18%) และเขตภาคกลาง (56.93%) มีประสิทธิภาพการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาโดดเด่นกว่าสถานศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (41.26%) และเขตภาคใต้ (34.99%) โดยแต่ละสถานศึกษาในแต่ละภาคมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วนคือ เขตกรุงเทพมหานคร 1 ด้านคือด้านบุคลากร เขตภาคกลาง 2 ด้าน คือ ด้านบุคลากร และด้านบริหารจัดการ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ด้าน คือ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านบริหารจัดการ ส่วนเขตภาคเหนือ 1 ด้าน คือ ด้านบุคลากร สำหรับเขตภาคใต้ต้องปรับปรุงทุกด้านคือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านบริหารจัดการ และด้านวัสดุอุปกรณ์ (Hardware & Software) ตามลำดับ 3. ความพร้อมในการจัดการ ICT ของสถานศึกษา ก) ด้าน Hardware และ Software โดยเฉลี่ยมีคอมพิวเตอร์ร้อยละ 72 ใช้ในการเรียนการสอน สัดส่วนโดยรวมระหว่างนักเรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อหนึ่งห้องเรียนเป็น 1: 1.30 ในโรงเรียนขนาดเล็ก 1: 0.80 โรงเรียนขนาดกลาง 1:1.04 และโรงเรียนขนาดใหญ่ 1:1.70 และเมื่อพิจารณาตามประเภทของโรงเรียนพบว่า โรงเรียนรัฐบาล 1: 0.81 และโรงเรียนเอกชน 1: 1.23 สำหรับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กันมาก ได้แก่ Microsoft (Word, Excel, & PowerPoint) CAI และโปรแกรมอื่น ๆ ข) ด้านบุคลากรและงบประมาณพบว่าบุคลากรในโรงเรียนแต่ละแห่งร้อยละ 62.96 ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ดี [ร้อยละ 7.32 สำเร็จการศึกษาในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรง] นอกจากนี้ต่ำกว่าร้อยละ 30 ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น E-mail Address ส่วนตัว มีความรู้ในการผลิตสื่อการสอน มีความรู้ในการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และการดูแลรักษารับผิดชอบคอมพิวเตอร์ ส่วนการลงทุนเกี่ยวกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์เฉลี่ยต่อปีพบว่า แต่ละโรงเรียนได้รับงบประมาณ 58,350 บาทต่อปี [รวมงบประมาณแผ่นดินประมาณกับเงินช่วยเหลือจากแหล่งอื่น ๆ] แหล่งที่ให้เงินช่วยเหลือโรงเรียนได้แก่ เงินบริจาคจากประชาชน สมาคมครูผู้ปกครอง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการ 4. การกระจายโอกาสการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) จัดการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น 2) จัดโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้าน ICT ของชุมชน 3) จัดอบรมให้กับบุคลากรและประชาชนทั่วไป 4) จัดนิทรรศการด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ และ 5)จัดการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต 5. กิจกรรมการสอน ครูผู้สอนร้อยละ 29.03 จัดการเรียนการสอนโดยให้มีการค้นหาความรู้ทางอินเทอร์เน็ต โปรแกรมที่ผู้สอนถนัดมากที่สุดร้อยละ 62.58 คือ Microsoft-Word รายวิชาที่ใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ตามลำดับ สำหรับกิจกรรมที่ครูผู้สอนให้ทำมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ พิมพ์รายงาน/เอกสาร/แบบฝึกหัด ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และวาดภาพ/สร้างตาราง/กราฟฟิค ตามลำดับ 6.กิจกรรมการเรียน นักเรียนร้อยละ 37.80 มีคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน และร้อยละ 41.50 สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เอง โดยเฉลี่ยนักเรียนจะใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ โปรแกรมที่ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ Microsoft-Word, Microsoft-Excel, และ PowerPoint คิดเป็นร้อยละ 65.70, 39.30, และ 34.80 ตามลำดับ สำหรับรายวิชาที่นักเรียนใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์มากที่สุด 5 อันดับแรกคือ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ศิลปะ และสังคมศึกษา ตามลำดับ ส่วนกิจกรรมที่ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือพิมพ์รายงาน (66.80%) เล่นเกม (52.60%) และวาดภาพ (34.60%) ตามลำดับ 7. ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ คอมพิวเตอร์มีไม่เพียงพอกับผู้เรียน คอมพิวเตอร์ล้าสมัย ความเร็วต่ำ ขาดครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถ ไม่มีงบประมาณเพียงพอ ไม่มีการสร้างเครือข่ายระหว่างสถานศึกษา และไม่มี Software ใหม่ ๆ 8. ผู้วิจัยได้นำเสนอแผนที่เชิงกลยุทธ์ (Strategic Map) ที่ประยุกต์มาจากการใช้ Balanced Scorecard มาจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ แผนที่นี้ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วนคือ มุมมองทางการเงิน (Financial) มุมมองการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Development) มุมมองกระบวนการภายใน (Internal Process) และมุมมองผู้สอนและผู้เรียน (Customers) รวมทั้ง Scorecard Sheet ที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ (objectives) ดัชนีชี้วัด (KPI) ข้อมูลฐานเดิม (Baseline Data) เป้าหมาย (Target) และโครงการหรือแผนการปฏิบัติ (Initiatives) ที่สอดคล้องกับแผนที่เชิงกลยุทธ์ดังกล่าว [รายละเอียดดูได้จากตารางที่ 45 ในบทที่ 5 ของรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์] | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the study was threefold: First, to study the current background of Information and Communication Technologies (ICT) and Computer in Education (Ed.COM) at Thai Primary and Secondary Schools (P&S Schools); Second, to evaluate the efficiency of outputs, outcomes, and problems for using ICT and Ed.Com in the P&S schools. Data were collected from 6 research instruments [1) ICT and Ed.COM Infrastructure survey Form for school; 2) ICT and Ed.COM projects/plans examining Form; 3) Interviewing Form for school administrator; 4) Questionnaire Form for teachers; 5) Questionnaire Form for Students, and Questionnaire Form for parents. All completed data were analyzed by the SPSS program in frequency, percentage, arithmetic mean )normal distribution case) standard deviation, median (un0nrmal distribution case), and quartile deviation. Research results were as follows: 1. The total efficiency for using the ICT and Ed.COM in all Thai P&S schools were at almost low level (52.22%) when comparing with the established criteria. For details in each category, it was found that the first 2 categories had to improve so fast as peopleware (33.36%) and managerial administration (44.18%). 2. The P&S schools in the Metropolitan (68.11%), Northern (60.18%), and Central (56.93%) areas had a higher efficiency in ICT and Ed.COM than the schools in the Northeastern (41.21%) and Southern (34.99%) areas. Problems of Schools in each part of Thailand concerning with ICT and Ed.COM should be improved so fast: one problem in Metropolitan, and Northern areas as peopleware; two problems in Central area as peopleware and managerial administration; three problems in Northeastern area as financial, peopleware, and managerial administration; and four problems in Southern area as peopleware, financial, managerial administration, and Hardware & Software, respectively. 3. The ICT and Ed.COM Readiness in the Thai P&S schools were: 1) All schools had Computer )including Hardware & Software) for learning and teaching at 72 percent, a total ratioper computer room between student and computer as 1: 1.30, small schools as 1: 0.80, middle schools as 1: 1.04, large schools as 1: 1.70, state schools as 1: 0.81, and private schools as 1: 1.23. It was also found that most popular programs were used as Microsoft programs (Word, Excel, & PowerPoint), Computer Aids Instruction (CAI), and other programs, respectively. B) By average 62.96 percent of personnel in each school used computer well [7.30 percent graduate from major computer science]. These following aspects were used below 30 percent: using internet, having own E-mail address, having knowledge for building teaching media, having knowledge for maintaining computers, and having knowledge for keeping computers. As a result of budgeting concerning the ICT and Ed.COM, by average, each school got financial around 58,350 baht a year [including fiscal budgets and financial supports from the other sources]. All supporting sources were as: citizen, teacher and parent association, local government organizations, official departments, and so on. 4. Top 5 given chances for using the best ICT and Ed.COM benefits in schools were: 1) given learning opportunity to all students at every levels, 2) managing school as the community ICT learning center, 3) training ICT for all personnel or civilians, 4) showing ICT and Ed.COM activities, and 5) managing teaching and learning knowledge in internet website. 5. As a result of teaching activities, most of teachers (29.03%) taught students by searching knowledge in internet. Most programs that teachers (62.58%) knew best as Microsoft-Word. Top five subjects that teachers used computer frequently were: Computer, Science, Mathematics, English, and Thai subjects. In addition, most top three activities that teacher assigned to students were: printing reports/documents/exercises, searching information in websites, and drawing/making tables or graphics, respectively. 6. As a result of learning activities, most of students (37.80%) had computers at home, 41.50% could link internet bythemselves, average using 2 times a week, mostly used the top 3 programs as Microsoft-Word, Excel, and PowerPoint at 65.70, 39.30, and 34.80 respectively. Top five subjects that students used computer frequently were: Science, English, Mathematics, Arts, and Social Science, respectively. In addition, most activities that students used frequently were: printing reports (66.80%), playing games (52.60%), and drawing (34.60%), respectively. 7. Crucial problems and obstacles for using the ICT and Ed.COM in P&S schools were as follows: no computers enough to students, computer low speed, lack best teachers who knew ICT and Ed.COM knowledge, no fiscal budgeting enough, no networks among schools, and no new software. 8. Strategic map was presented by researchers for an implement plans, applied from the ideas of the Balanced Scorecard, consisted of 4 components: financial, learning and development, internal process, and customers. Moreover, scorecard sheet was also presented. Some details of scorecard sheet were: objectives, key performance indicator or KPI, baseline data, target, and initiatives. [see details of scorecard sheet in Table 45, Chapter 5 of the completed report] | en |
dc.description.sponsorship | ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา | en |
dc.format.extent | 33037216 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อินเตอร์เน็ตในการศึกษา | en |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ | en |
dc.subject | เทคโนโลยีทางการศึกษา | en |
dc.title | การประเมินประสิทธิภาพการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ | en |
dc.title.alternative | Efficiency evaluation of information and communication technologies and computer in education at Thai primary and secondary schools | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | suweracharoendit@yahoo.com | - |
dc.email.author | suphanee@ite.nectec.or.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suttanu(eff).pdf | 32.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.