Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58440
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลวรรณ ตังธนกานนท์-
dc.contributor.authorสุวรัตน์ ทองพันชั่ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:42:48Z-
dc.date.available2018-04-11T01:42:48Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58440-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในแต่ละระดับความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ ที่ได้รับรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบผสมที่แตกต่างกัน (2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบผสมและระดับความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีต่อพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 154 คน แบ่งเป็นผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ระดับสูง ปานกลาง และต่ำ โดยผู้เรียนในแต่ละความสามารถจะได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบผสม 4 รูปแบบ (ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและอธิบายรายละเอียดโดยการโต้ตอบ, ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและให้การชี้แนะโดยการโต้ตอบ, ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง ให้การชี้แนะ และอธิบายรายละเอียด และข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) แบบทดสอบความสามารถด้านคำนวณก่อนเรียนและหลังเรียน (2) แบบฝึกทักษะเรื่องความสามารถด้านคำนวณผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง การวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์โดยใช้การสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับสูงที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและอธิบายรายละเอียดด้วยการโต้ตอบมีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณสูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและอธิบายรายละเอียดด้วยการโต้ตอบ, ข้อมูลย้อนกลับแบบแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและให้การชี้แนะด้วยการโต้ตอบ และข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับปานกลางและต่ำที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องให้การชี้แนะ และอธิบายรายละเอียด มีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณสูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและอธิบายรายละเอียดด้วยการโต้ตอบ, ข้อมูลย้อนกลับแบบแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและให้การชี้แนะด้วยการโต้ตอบ และข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์กับรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบผสมต่อพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the research were: (1) to compare the numeracy skill development of secondary school students who received four types of mixed feedback and (2) to study the interactions between mixed feedback types and learning ability in mathematics which affect numeracy skill development of secondary school students. Samples were 154 secondary school students classified into 3 groups of mathematics learning ability, i.e., high, moderate and low. Students were provided with 4 types of feedback, i.e., corrective result and elaborated with interactive feedback (KCR+EF(IF)), corrective result and directive with interactive feedback (KCR+DF(IF)), corrective result directive and elaborated feedback (KCR+DF+EF) and corrective result feedback (KCR). Research instruments were (1) 4 copies of pretest and 4 copies of posttest examinations, (2) numeracy skill exercises via computer assisted instruction. Quantitative data were analyzed by using descriptive statistics, one-way ANOVA, two-way ANCOVA, relative gain score, whereas qualitative data analysis from interview were analyzed by using analytic induction. Results were as follows: 1) In the high mathematics learning ability group, students who received corrective result and elaborated with interactive feedback were better at numeracy skill development than those who received corrective result and elaborated with interactive feedback; corrective result and directive with interactive feedback; and corrective result feedback at the statistical significance level of .01. In the moderate and low mathematics learning ability groups, those who received corrective result directive and elaborated feedback were better at numeracy skill development than those who received corrective result and elaborated with interactive feedback; corrective result and directive with interactive feedback; and corrective result feedback at the statistical significance level of .01. 2) There were interactions between learning ability in mathematics and mixed feedback types on numeracy skill development at the statistical significant level of .01.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.736-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษา-
dc.subjectการคำนวณ-
dc.subjectความสามารถทางคณิตศาสตร์-
dc.subjectHigh school students-
dc.subjectMathematical ability-
dc.titleผลของรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบผสมที่แตกต่างกันด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น-
dc.title.alternativeEffects of different types of computer-based mixed feedback on the numeracy skill development of lower secondary school students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorKamonwan.T@Chula.ac.th,tkamonwan@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.736-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883389027.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.