Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5844
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ | - |
dc.contributor.author | รชา โรจนตรีคูณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-11T11:50:50Z | - |
dc.date.available | 2008-02-11T11:50:50Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741308248 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5844 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | เว็บแคชถูกนำมาใช้ในอินเทอร์เน็ตเพื่อช่วยลดปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านในเครือข่ายรวมถึงเวลาที่ใช้ในการตอบสนองกับผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม แคชเริ่มเกิดเป็นปัญหาคอขวดขึ้นจากการที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ทันในหน่วยงานที่มีผู้ใช้จำนวนมาก ทำให้มีการนำระบบแคชแบบกระจายมาใช้ โดยปกติแล้วระบบแคชแบบกระจายจะเน้นที่การนำแคชขององค์กรต่างๆ มารวมกลุ่มติดต่อสื่อสารกันเพื่อเพิ่มโอกาสในการพบเอกสาร แต่ต่อมา ได้มีการนำระบบแคชแบบกระจายมาใช้ภายในองค์กรเดียวเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของแคช ระบบแคชแบบกระจายจึงได้รับความสนใจและมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย แต่ยังขาดการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการเพิ่มจำนวนแคชเข้าไปในระบบ รวมถึงการศึกษาวิธีการจัดการเอกสารที่ได้จากแคชข้างเคียง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของแคชเป็นอย่างมาก ในวิทยานิพนธ์นี้จึงได้นำเสนอการทดสอบประสิทธิภาพและการเปรียบเทียบการใช้ระบบแคชแบบกระจายที่มีจำนวนแคชในระบบและรูปแบบการติดต่อสื่อสารระหว่างแคชที่แตกต่างกันออกไป การทดสอบในวิทยานิพนธ์นี้จะใช้วิธีการจำลองการทำงานของพร็อกซีแคชกับข้อมูลการใช้เว็บจริงซึ่งได้จากแคชของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการแทนที่แบบแอลอาร์ยู ผลการจำลองการทำงานของพร็อกซีแคชพบว่า การเพิ่มจำนวนแคชในระบบมีผลทำให้การร้องขอเอกสารจากผู้ใช้ถูกกระจายไปยังแต่ละแคชมากขึ้น จึงทำให้ความนิยมของเอกสารที่แคชแต่ละตัวมองเห็นนั้นมีน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของแคชลดลง และเมื่อปรับปรุงวิธีแอลอาร์ยูให้มีการปรับคิวแอลอาร์ยูในทุกๆ การร้องขอจะช่วยให้แคชสามารถมองเห็นความนิยมของเอกสารแต่ละตัวได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้วิธีการจัดเก็บเอกสารที่ได้จากแคชข้างเคียงก็มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของแคชโดยรวมด้วย ถ้าหากมีการเก็บเอกสารที่ได้จากแคชข้างเคียงซึ่งทำให้เกิดการเก็บเอกสารซ้ำซ้อนระหว่างแคช จะมีผลทำให้ประสิทธิภาพที่ได้ของแคชลดลงแต่จะช่วยลดจำนวนข้อความที่เกิดจากการติดต่อสื่อสารระหว่างแคช ในทางตรงกันข้าม หากไม่มีการเก็บเอกสารที่ได้จากแคชข้างเคียง จะทำให้แคชได้ประสิทธิภาพสูงสุดแต่จะมีข้อความที่เกิดขึ้นจากการติดต่อสื่อสารระหว่างแคชมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนแคชในระบบและวิธีการจัดเก็บเอกสารที่ได้จากแคชข้างเคียงมีผลต่อประสิทธิภาพของแคชที่ได้ | en |
dc.description.abstractalternative | Web cache has been introduced to the internet to help decrease both bandwidth usage and user's response time. However, the increasing number of concurrent users of the internet still causes some problems to web cache. In an organization with a large number of users, a single web cache becomes a bottleneck because it cannot handle all users' requests. Thus, distributed cache has been proposed. Typically, the distributed cache has been used to share the contents among nearby caches to increase the possibility of finding requested documents and decrease document retrieval time. In recent years, distributed cache has been used to reduce the workloads of web caches and improve the overall performance. Thus, there were many studies regarding to distributed cache. Nonetheless, other important aspects such as the effect of the number of caches in distributed cache and document management schemes for distributed cache have not been researched in previous studies. In this thesis, we have studied the effect of the number of caches and cache communication method on the performance of distributed cache. In our experiments, proxy caching simulation is used as a tool to evaluate the performance of distributed cache. Using data from the office of Information Technology of Chulalongkorn University, our results indicate that the increase of the number of caches leads to the reduction of document popularity in each cache which leads to the performance degradation. However, using LRU replacement policy, which its queue is updated on every request, helps improving performance as it makes document popularity in each cache to become more realistic. In addition, document management method schemes also affect the performance of distributed cache especially the overall hit ratio and the communication overheads. | en |
dc.format.extent | 1787624 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | หน่วยความจำแคช | en |
dc.title | การวิเคราะห์ผลกระทบของจำนวนแคชและวิธีการประสานงานที่มีต่อประสิทธิภาพของแคชแบบกระจาย | en |
dc.title.alternative | The analysis of effects of number of caches and co-operating algorithm on the performance of the distributed web cache | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Natawut.N@Chula.ac.th, natawut@cp.eng.chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.