Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58467
Title: ผู้มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี
Other Titles: Person entitled to request for execution
Authors: สุจรรยา สุจริตศรีชัยกุล
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sakda.T@Chula.ac.th,Sakda.T@Chula.ac.th
Subjects: การบังคับคดี
Executions (Law)
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดไว้ สามารถเข้ามาใช้สิทธิร้องขอให้บังคับคดี ไม่ว่าจะเป็นผู้รับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญา ผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามกฎหมาย ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล และผู้เป็นเจ้าหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 วางหลักให้สิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้น อย่างไรก็ดี ศาลฎีกาก็รับรองสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) แต่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดไว้ ถึงกระนั้นก็ตาม กลับไม่รับรองสิทธิดังกล่าวแก่ผู้รับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาและผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามกฎหมาย ทั้งที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดไว้เช่นเดียวกัน จึงก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องกันของกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ เมื่อศึกษาถึงแนวคิดการโอนสิทธิตามคำพิพากษาตามกฎหมายสหรัฐอเมริกาแล้วพบว่า มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรับรองให้มีการเปลี่ยนตัวผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามาใช้สิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ การรับช่วงสิทธิซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายจึงยิ่งสมควรที่จะให้สิทธิเข้ามาร้องขอให้บังคับคดีได้เช่นกัน นอกจากนี้ การไม่รับรองสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ส่งผลให้บุคคลดังกล่าวจำต้องไปฟ้องว่ากล่าวเป็นคดีใหม่ ทั้งที่ได้รับการพิสูจน์ถึงสิทธิผ่านกระบวนการยุติธรรมทางศาลมาแล้ว จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบวิธีพิจารณาความแพ่งที่ดีและมีประสิทธิภาพแต่อย่างใด และในกรณีสุดท้าย การปฏิเสธซึ่งสิทธิร้องขอให้บังคับคดีของผู้เป็นเจ้าหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่จะเป็นการคุ้มครองเจ้าหนี้ผู้สุจริตกลับเป็นการคุ้มครองลูกหนี้ผู้ไม่สุจริต ทั้งข้อพิพาทที่อาจเกิดจากการรับรองซึ่งสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่บุคคลดังกล่าวก็มิได้ก่อให้เกิดความยุ่งยากและสลับซับซ้อนในการบังคับตามสิทธิเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จึงขอเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ให้บุคคลที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดไว้ สามารถเข้ามาใช้สิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ด้วยเช่นกัน
Other Abstract: The thesis aims to study the possibility of determining the right to request for execution of the assignee who obtained the right from the judgment creditor, the subrogated who acquired the right according to laws, the beneficiary of the compromise agreement in court, and the creditor of the judgment creditor. The thesis found that the Civil Procedural Code section 271 provides that only the parties or person who won the case (judgment creditor) is entitled to request for execution. However, the Supreme Court also recognizes the right to request for execution of the person who is not the judgment creditor but having such right stipulated by law. Nevertheless, the Supreme Court denies recognizing the right to request for execution of the assignee and the subrogated who obtain the right from the judgment creditor. This causes the disparity between substantive law and procedural law. From studying the concept of assignment of judgment according to the US law, there is the provision of law allowing for the change of the judgment creditor to request for execution. As such, the subrogation triggered by law should be entitled to have the right to request for execution as well. Besides, denying the right that had once been affirmed of the beneficiary of the compromise agreement in court leads to a new lawsuit and cannot be deemed as a good and efficient civil procedural system. Last, denying the right of the creditor of the judgment creditor may turn into guarding the dishonest debtor. In contrast, by allowing such rights to execution, the disputes that may arise within its scope will not be greater or more complicated than that which is an ordinary case in any event. The thesis finally proposes that there should be an amendment to the Civil Procedural Code section 271 by providing the right to request for execution of the person having the rights stipulated by law.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58467
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.975
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.975
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5886033034.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.