Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58516
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบ
Other Titles: Factors influencing consumer's purchasing intention of product with latent advertising displayed in cooking shows on Youtube
Authors: ปรมินทร์ ศิรินุกุลวัฒนา
Advisors: ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tatri.T@Chula.ac.th,tatri13@gmail.com
Subjects: โฆษณาแฝง
พฤติกรรมผู้บริโภค
Product placement in mass media
Consumer behavior
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ การจดจำ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้ชมต่อตราสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อของผู้ชมจากการทำโฆษณาแฝงในรายการเกี่ยวกับอาหารบนยูทูบ ได้แก่ รายการ GGcooking และล้างตู้เย็นและอิ่ม TIPS โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ชมที่เคยรับชมรายการ จำนวนรายการละ 200 คน รวม 400 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยรวมมีพฤติกรรมเปิดรับชมรายการอาหารบนยูทูบค่อนข้างมาก โดยมีลักษณะการรับชมค่อนข้างบ่อยครั้งและใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานในการรับชมต่อครั้ง มีความสามารถจดจำตราสินค้าที่ทำการโฆษณาแฝงในรายการอาหารยูทูบในระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อตราสินค้าที่ทำโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับดี มีความชื่นชอบต่อโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับปานกลาง โดยชื่นชอบโฆษณาแฝงแบบการเชื่อมโยงสินค้ากับเนื้อหา (Tie-In) มากที่สุด และมีความตั้งใจซื้อสินค้าที่ทำการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่ทำโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบของผู้ชมนั้น ได้แก่ ทัศนคติต่อรูปแบบโฆษณาแฝง (Beta = 0.469) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และทัศนคติต่อตราสินค้า (Beta = 0.336) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
Other Abstract: The objective of this quantitative study was to explore viewers’ media exposure, memorization, attitudes and purchasing intention towards products with latent advertising displayed in two cooking shows on Youtube – GGcooking and Lang Tuyen and Im TIPS. Four hundred viewers – two hundred for each show – were asked to complete the questionnaire. The findings revealed that, in general, the media exposure behavior of these two groups was ranked rather high. They watched their show very often and spent a long time watching each episode. Their ability to memorize the products displayed in the shows was ranked average while their attitudes towards the products were ranked good. Their appreciation of the latent advertisement was ranked average. They liked the tie-in advertisements most but their purchasing intention of products was ranked average. The factors that affected the purchasing intention were attitude towards the advertisement (Beta = 0.469) with statistical significance at 0.01 and attitude towards the product brands (Beta = 0.336) with statistical significance at 0.01.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58516
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.910
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.910
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984683728.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.