Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58543
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ | - |
dc.contributor.author | อัจฉรียา ชัยยะสมุทร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-04-18T03:09:01Z | - |
dc.date.available | 2018-04-18T03:09:01Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58543 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันปัญหาสภาวะโลกร้อน กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่มีการกล่าวถึงกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติมากมาย สาเหตุของสภาวะโลกร้อนเกิดจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิง เป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่ง ที่มีสัดส่วนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ดังนั้นการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเป็นทางหนึ่งที่ช่วยลดสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ รวบรวมข้อมูลการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากปริมาณการใช้พลังงานของวัฏจักรชีวิต 5 ขั้นตอนของวัสดุผนังทึบ ได้แก่ (1) ขั้นตอนการได้มาของวัสดุ (2) การผลิตวัสดุ (3)การก่อสร้างอาคาร (4)การใช้งานอาคาร และ(5)การรื้อถอนอาคาร วัสดุผนังทึบที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้มี 5 ชนิด ได้แก่ ผนังก่ออิฐมอญฉาบปูน ผนังซีเมนต์บล็อกฉาบปูน ผนังคอนกรีตมวลเบา ผนังเม็ดโฟมคอนกรีต และผนังระบบฉนวนกันความร้อนภายนอก จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เพื่อเสนอแนวทางการใช้งานวัสดุผนังทึบของอาคารบ้านพักอาศัย 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 98.64 ตารางเมตร โดยศึกษาอายุอาคารช่วงระยะเวลา 1 ปี 15 ปี 30 ปี และ 50 ปี การวิจัยเริ่มจากรวบรวมข้อมูลของปริมาณพลังงานสะสมรวมของวัสดุของวัฏจักรชีวิต ส่วนขั้นตอนการใช้งานอาคารนั้นคำนวณจากภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ นำปริมาณพลังงานทั้งหมดเปรียบเทียบเป็นพลังงานไฟฟ้า และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ผนังก่ออิฐมอญฉาบปูนปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุด ในขั้นตอนการก่อสร้างอาคาร และขั้นตอนการใช้งานอาคาร สำหรับขั้นตอนการรื้อถอนอาคารนั้น เมื่อนำปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดของผนังวัสดุทึบแต่ละชนิด มาเปรียบเทียบเป็นพื้นที่ป่าปลูกเทียบเท่าทดแทนพบว่า ผนังก่ออิฐมอญฉาบปูน มีปริมาณพื้นที่ป่าปลูกเทียบเท่าทดแทนมากที่สุด ผนังโฟมคอนกรีตบล็อกและผนังระบบฉนวนกันความร้อนภายนอก มีปริมาณพื้นที่ป่าปลูกเทียบเท่าทดแทนน้อยที่สุด ดังนั้นวัสดุผนังทึบที่เหมาะสมในการนำมาใช้ออกแบบและก่อสร้างบ้านพักอาศัยมากที่สุด คือ ผนังโฟมคอนกรีตบล็อกและผนังระบบฉนวนกันความร้อนภายนอก เพราะช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก | en_US |
dc.description.abstractalternative | Global warming is an important problem today with its influence in causing the climate change and natural disaster. The increase of green house gases (GHGs) has a huge impact in causing global warming with the most prevalent GHGs substance being Carbon dioxide (CO2). The majority of CO2 emissions come from the combustion of fuel. An increase of CO2 emissions from places of residence plays an important role in global warming. The objective of this research is to evaluate energy consumption data of five life-cycle processes as extracting, raw materials processing, manufacturing, building construction, building usage and demolition. Opaque wall materials include common brick, cement block, autoclaved aerated concrete, EPS foam concrete block and Exterior Insulation Finished System (EIFS). Then, for environmental impact concern, data were analyzed and compared to provide the suggestion of opaque wall to designer. The building lifetime of two-story houses of 1 year, 15 years, 30 years and 50 years were compared. Embodied energy of five life-cycle stages were analyzed while cooling load calculations were used as the energy consumption in kWh of electricity during building operation as well as CO2 emissions respectively. It was found common brick has the most CO2 emission in the building construction and using process for 50 year lifetime. Considering greenhouse gas emission as the area to grow the tree, Common brick requires maximum green area in the forest while EPS foam concrete block and EIFS need minimum of green area. Then, the best opaque wall material for residential buildings is EPS foam concrete block and EIFS which can reduce the amount of CO2 emissions contributing to global warming. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1076 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง | en_US |
dc.subject | วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง -- แง่สิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.subject | กำแพง -- แง่สิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.subject | คาร์บอนไดออกไซด์ -- แง่สิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.subject | ก๊าซเรือนกระจก | en_US |
dc.subject | ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ | en_US |
dc.subject | Building materials | en_US |
dc.subject | Building materials -- Environmental aspects | en_US |
dc.subject | Walls -- Environmental aspects | en_US |
dc.subject | Carbon dioxide -- Environmental aspects | en_US |
dc.subject | Greenhouse gases | en_US |
dc.subject | Greenhouse gas mitigation | en_US |
dc.title | การประเมินวัฏจักรชีวิตและการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของวัสดุผนังทึบในอาคารบ้านพักอาศัย | en_US |
dc.title.alternative | Life-cycle assessment and CO2 emissions of opaque wall materials in residential building | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Vorasun.b@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1076 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Achareeya Chaiyasamut.pdf | 7.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.