Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58638
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการแบบผสมผสานต่อความเหนื่อยล้าของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็ง
Other Titles: The effect of complementary symptom management program on fatigue in family coregivers of cancer patients
Authors: วิจิตรา เคี่ยมทองคำ
Advisors: สุรีพร ธนศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sureeporn.T@Chula.ac.th
Subjects: มะเร็ง -- ผู้ป่วย
มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล
ครอบครัว
ชี่กง
น้ำมันหอมระเหย -- การใช้รักษา
Cancer -- Patients -- Care
Care of the sick
Families
Qi gong
Essences and essential oils -- Therapeutic use
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จำนวน 40 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มๆละ 20 คน โดยคำนึงถึงคุณสมบัติที่เหมือนหรือใกล้เคียงกันในเรื่องความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ประเภทของการรักษาที่ได้รับ และคะแนนความเหนื่อยล้า กลุ่มทดลองที่1 ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการแบบผสมผสานโดยการบริหารกายจิตแบบชี่กง และกลุ่มทดลองที่2 ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการแบบผสมผสานโดยการบริหารกายจิตแบบชี่กงร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหย ซึ่งทั้ง 2 โปรแกรมนี้ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากแบบจำลองการจัดการกับอาการของDodd และคณะ(2001) และแนวคิดการดูแลแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความเหนื่อยล้า ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าของกลุ่มทดลองที่1 ก่อนการทดลองและภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน แต่คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าของกลุ่มทดลองที่1 ภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ ลดลงจากก่อนการทดลองและภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 2 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (X̅1 ก่อน = 6.09, X̅1 หลัง 2 สัปดาห์ = 5.82, X̅1 หลัง 4 สัปดาห์ = 4.94) ส่วนคะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าของกลุ่มทดลองที่2 ภายหลังสิ้นสุดการทดลองทั้ง 2 และ 4 สัปดาห์ ลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (X̅2 ก่อน = 6.38, X̅2 หลัง 2 สัปดาห์ = 4.97, X̅2 หลัง 4 สัปดาห์ = 3.85) 2. คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าของกลุ่มทดลองที่2 น้อยกว่ากลุ่มทดลองที่1 ภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 2 และ 4 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (X̅1หลัง 2 สัปดาห์ = 5.82, X̅ 2หลัง 2 สัปดาห์ = 4.97, t = 5.39, p < .05; X̅1 หลัง 4 สัปดาห์ = 4.94, X̅2 หลัง 4 สัปดาห์ = 3.85, t = 8.94, p < .05)
Other Abstract: This quasi-experimental research aimed to compare the effect of complementary symptom management program on fatigue. The study sample were 40 family caregivers of cancer patients at out-patients of Queen Sirikit Hospital, and were selected by a purposive sampling. The subjects were equally deviled into two experimental groups. The groups were matched by the relationship with patients, treatment of cancer and fatigue score. The first experimental group received complementary symptom management program with Qigong while the second experimental group received complementary symptom management program with Qigong and Aromatherapy. Both programs based on the Symptom Management Model (Dodd et al, 2001) and complementary concepts. The instrument for collecting data was the Fatigue Questionnaire which was tested for reliability with Cronbach’s alpha coefficient of .87. Data were analyzed by using descriptive statistics, Kolmogorov-Smirov test, Independent t–test and Repeated Measure Analysis of Variance. The major findings were as follows: 1. The posttest mean score on fatigue at the pretest and 2 weeks phase in the first experimental group were not significant differences(p < .05), but at the 4 weeks was significantly lower than at the pretest and 2 weeks phase (X̅1-pre = 6.09, X̅1-post 2 wk = 5.82, X̅1-post 4 wk = 4.94, F = 24.22, p < .05 ). The 2 and 4 weeks posttest mean scores on fatigue in the second experimental group were significantly lower than that of the pretest (X̅2-pre = 6.38, X̅2-post 2 wk = 4.97, X̅2-post 4 wk = 3.85, F = 120.44, p < .05 ). 2. The 2 and 4 weeks posttest mean scores on fatigue of the second experimental group were significantly lower than those of the first experimental group (X̅1-post 2 wk = 5.82, X̅2-post 2 wk = 4.97, t = 5.39, p < .05; X̅1-post 4 wk = 4.94, X̅2-post 4 wk = 3.85, t = 8.94, p < .05)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58638
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1207
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1207
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wijittra_ki_front.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
wijittra_ki_ch1.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
wijittra_ki_ch2.pdf9.45 MBAdobe PDFView/Open
wijittra_ki_ch3.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
wijittra_ki_ch4.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
wijittra_ki_ch5.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
wijittra_ki_back.pdf6.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.