Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58653
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมเกียรติ วงษ์ทิม-
dc.contributor.advisorสุเทพ กลชาญวิทย์-
dc.contributor.authorสถาพร ไชยกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-02T03:36:02Z-
dc.date.available2018-05-02T03:36:02Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58653-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractที่มา โรคหืดเป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นผิดปกติ เมิ่อเจอสิ่งกระตุ้น หลอดลมจะมีการหดตัวลง นอกจากนี้ภาวะกรดไหลย้อนเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบันและเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งในโรคระบบทางเดินอาหาร และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหืด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ควบคุมโรคหืดได้ยาก การรักษากรดไหลย้อนอาจทำให้อาการของโรคหืดดีขึ้น แต่ยังไม่มีการศึกษาความชุกการเกิดกรดไหลย้อนในคนไทย รวมทั้งยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดไหลย้อนกับระดับการควบคุมของโรคหืด วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดกรดไหลย้อนในผู้ป่วยโรคหืด และศึกษาความชุกและความสัมพันธ์ของการเกิดกรดไหลย้อนที่มีระดับการควบคุมโรคหืดที่ระดับต่างๆ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยโรคหืด โดยศึกษาความชุกของการเกิดกรดไหลย้อนด้วยการตรวจ 24-hour pH monitoring ซึ่งจะวินิจฉัยว่าเป็นกรดไหลย้อนมาหลอดอาหารเมื่อผลการตรวจมีค่า %time pH at lower esophagus มากกว่าหรือเท่ากับ 4 หรือ %time pH at upper esophagus มากกว่าหรือเท่ากับ 1 รวมจำนวนผู้ป่วยเข้ารับการศึกษาทั้งหมด 88 ราย และยินยอมตรวจกรดไหลย้อน 56 ราย ผลการศึกษา ลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยที่รับการตรวจ 24-hour pH monitoring กับกลุ่มที่ไม่ได้ตรวจ ไม่มีความแตกต่างกัน ความชุกของการเกิดกรดไหลย้อนในคนไทยเท่ากับ 37.50% มีผู้ป่วย 15 ราย (71.43%) ที่มีอาการของกรดไหลย้อน การใช้อาการในการวินิจฉัยกรดไหลย้อน มีความไว ความจำเพาะ positive predictive value และ negative predictive value เท่ากับ 71.43%, 77.14%, 65.22% และ 81.82% ตามลำดับ กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นกรดไหลย้อนมีระดับการควบคุมโรคที่ระดับ uncontrolled สูงกว่า (57.17% กับ 25.72% ตามลำดับ p = 0.028) และมี ACT score ที่น้อยกว่า 20 ในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นกรดไหลย้อน (80.96% กับ 48.57% ตามลำดับ p = 0.024) นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่เป็น GERD มีค่า ACT score ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็น GERD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (15.10 ± 5.61 และ 18.40 ± 5.82 ตามลำดับ p = 0.042) สรุปผลการศึกษา พบความชุกของการเกิดกรดไหลย้อนในผู้ป่วยโรคหืดที่สูง การที่ผู้ป่วยมีอาการของการไหลย้อนของกรด (reflux symptoms) ไม่ได้บ่งบอกว่าผู้ป่วยเป็นกรดไหลย้อน ผู้ป่วยโรคหืดที่ควบคุมอาการได้ไม่ดี อาจต้องนึกถึงภาวะกรดไหลย้อนร่วมด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeBackground Asthma is a chronic inflammatory disorder of the airways and associated with airway hyperresponsiveness. Both asthma and gastroesophageal reflux disease (GERD) are common. In adult patients with asthma, GERD appear to be even more common. It has been proposed that GERD is particularly likely to be an exacerbating factor in the subgroup of patients with poor control asthma, then the treatment of GERD may be improve asthma symptoms. Objectives The aim of this study was to determine the prevalence of GERD in asthmatic patients and to determine the association between GERD and level of asthma control. Design and methods A cross-sectional descriptive study was conducted in 88 asthmatic patients at outpatients asthma clinic. 56 of 88 contacted patients (63.64%) agreed to participate in the study. Twenty-four-hour esophageal pH monitoring was performed on all patients. Results The prevalence of GERD in asthmatic patients was 37.50%. Among the GERD patients, 15 of 21 patients (71.43%) experienced GERD symptoms. The sensitivity, specificity, positive predictive value and negative predictive value of reflux symptoms for diagnosis GERD were 71.43%, 77.14%, 65.22% and 81.82%, respectively. The prevalence of GERD was higher in uncontrolled asthmatics than partly controlled and controlled asthmatics. Among GERD patients, the patients with uncontrolled asthma was higher than the patients without GERD (57.17% and 25.72%, respectively, p = 0.028) and ACT score less than twenty was higher in GERD patients than without GERD. (80.89% and 48.57%, respectively, p = 0.024). The ACT score in the patients with GERD was lower than in the patients without GERD. (15.10 ± 5.61 and 18.40 ± 5.82, respectively, p = 0.042) Conclusion The prevalence of GERD is high in asthmatic patients. The presence of typical reflux symptoms does not seem to guarantee the presence of abnormal acidic reflux.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.443-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาวะกรดไหลย้อนen_US
dc.subjectภาวะกรดไหลย้อน -- ระบาดวิทยาen_US
dc.subjectหืดen_US
dc.subjectหืด -- ภาวะแทรกซ้อนen_US
dc.subjectGastroesophageal refluxen_US
dc.subjectGastroesophageal reflux -- Epidemiologyen_US
dc.subjectAsthmaen_US
dc.subjectAsthma -- Complicationsen_US
dc.titleการศึกษาความชุกของการเกิดโรคกรดไหลย้อนในผู้ป่วยโรคหืดen_US
dc.title.alternativePrevalence of gastroesophageal reflux in asthmaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSomkiat.N@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSutep.G@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.443-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sataporn Chaiyakul.pdf583.82 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.