Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58655
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505
Other Titles: Legal problems on pledge under Pawnshop Act B.E.2505
Authors: สมพล เอี่ยมจิตกุศล
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Paitoon.K@chula.ac.th
Subjects: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- จำนำ
จำนำ
โรงรับจำนำ
พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505
Civil and commercial law -- Pledges (Law)
Pledges (Law)
Pawnbroking
Pawnshop Act B.E.2505
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สัญญาจำนำที่ผู้รับจำนำมีสถานะเป็นโรงรับจำนำนั้นย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ว่าด้วยลักษณะจำนำ จากการศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มีประเด็นปัญหาที่สำคัญ 4 ประการด้วยกัน คือ ประการแรก กรณีเกี่ยวกับการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนของเจ้าของที่แท้จริงจากโรงรับจำนำ เนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ถือเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นของหลัก “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” เมื่อโรงรับจำนำเอาทรัพย์จำนำหลุดเป็นสิทธิแล้ว สิทธิของเจ้าของที่แท้จริงในการติดตามเอาทรัพย์คืนย่อมสิ้นไป ประการที่สอง กรณีสัญญาจำนำที่ทำกับโรงรับจำนำโดยผู้จำนำเป็นผู้เยาว์ สิทธิในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ในกรณีตามบทบัญญัติมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ถือเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นของหลักกฎหมายในเรื่องความสามารถของผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม คือ ผู้เยาว์ที่มีอายุเกินกว่า 15 ปีแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์สามารถทำนิติกรรมจำนำสิ่งของไว้กับโรงรับจำนำได้เองตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 21 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประการที่สาม กรณีโรงรับจำนำเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ผลทางกฎหมายในกรณีที่โรงรับจำนำคิดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเกินกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ผลทางกฎหมายย่อมจะเป็นว่าข้อตกลงที่เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะทั้งหมด ประการสุดท้าย กรณีเกี่ยวกับผลภายหลังการบังคับจำนำโดยโรงรับจำนำเอาทรัพย์จำนำหลุดเป็นสิทธิ การที่โรงรับจำนำมีสิทธิบังคับจำนำโดยเอาทรัพย์จำนำหลุดเป็นสิทธินั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ซึ่งก็คือโรงรับจำนำยอมรับชำระหนี้เป็นทรัพย์อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ดังนั้นหนี้กู้ยืมเงินที่มีการจำนำทรัพย์ไว้เป็นหลักประกันย่อมระงับสิ้นไป จากการศึกษาปัญหาดังกล่าวข้างต้น เห็นว่า บทบัญญัติที่บัญญัติไว้ในของพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งที่บัญญัติไว้ในบรรพ 3 เอกเทศสัญญา ว่าด้วยลักษณะจำนำ และตามหลักทั่วไปที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 และบรรพ 2 ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ได้บัญญัติไว้อย่างครอบคลุม สามารถนำมาปรับใช้กับทั้ง 4 ปัญหาดังกล่าวข้างต้น โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมาย เพียงแต่ผู้ใช้กฎหมายต้องปรับใช้บทบัญญัติของกฎหมายให้ตรงตามความมุ่งหมายของกฎหมาย
Other Abstract: The contract of pledge which pledgee is pawnbroker is governed by the Pawnbrokers Act B.E. 2505 and laws of Pledge under the Civil and Commercial Code. From the research, legal problems on pledge under the Pawnbrokers Act B.E. 2505 have 4 important issues. First issue concerns about the right of the owner of property to follow and recover his property from any person not entitled to detain it. Section 25 of the Pawnbrokers Act B.E. 2505 is considered to be the exception of the general rule that transferee has no better right than transferor. If pawnbroker forfeits the pledged good then the right of the owner of property to follow and recover his property is suppressed. Second issue concerns about the contract of pledge which pledgor is minor. Section 18 of the Pawnbrokers Act B.E. 2505 is considered to be an exception of the principle of law on the doing of juristic act by minor. Therefore, minor who is after completing fifteen years of age can make a contract of pledge which pledgee is pawnbroker without any consent of his legal representative. Third issue concerns about the case which pawnbroker demands a rate of interest higher than the rate allow by section 17 of the Pawnbrokers Act B.E. 2505. Legal consequence in above case is that the interest rate agreement shall be invalid. Fourth issue concerns about consequence after enforcement of pledge by pawnbroker. Pawnbroker has a right to enforce of pledge by forfeit pledged good which means that pawnbroker accept in lieu of performance another performance than that agreed upon. Therefore, money lending obligation that has personal property to be pledged as security is extinguished. From the research of the 4 issues mentioned above, the provisions of the Pawnbrokers Act B.E. 2505 and the Civil and Commercial Code in the laws of Pledge, Contracts and Obligations have specifically enacted covering these issues. The law can be applied in all 4 issues with no need to modify the provision of laws only if the person who uses the law applies and adapts the provisions of laws in accordance with the spirit of its provision.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58655
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.502
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.502
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somphol Lumchitkusol.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.