Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58670
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล-
dc.contributor.authorมหัทธนี ภิญโญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-03T03:34:41Z-
dc.date.available2018-05-03T03:34:41Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58670-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractลิกโนเซลลูโลซิก เอทานอลเป็นพลังงานหมุนเวียนทางเลือกหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจโดยอาศัยเซลลูเลสในการย่อยสลาย แต่ในขณะเดียวกันเอนไซม์ก็ยังคงมีราคาที่สูงอีกทั้งเชื้อ Trichoderma reesei ยังมีแอกทิวิตีไม่สูงมาก ในงานวิจัยนี้นำเชื้อ Trichoderma reesei TISTR 3081 มาชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยสารอีเอ็มเอส รังสีอัลตราไวโอเลต และสารโคลชิซีน เพื่อเพิ่มแอกทิวิตีจำเพาะของเซลลูเลส หลังจากทำการกลายพันธุ์ด้วยสารอีเอ็มเอสและกลายพันธุ์ซ้ำด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต พบว่าไอโซเลต E45-UV26 มีแอกทิวิตีจำเพาะของเอนโดกลูคาเนส เอกโซกลูคาเนส และเบตา-กลูโคซิเดส สูงกว่าสายพันธุ์ตั้งต้น 1.41, 1.69 และ 2.53 เท่า ตามลำดับ โดยทดสอบความสามารถในการผลิตเซลลูเลสในอาหารเหลวสูตรของแมนเดล ที่มีแอลฟา-เซลลูโลสเป็นแหล่งคาร์บอน และจากการนำ E45-UV26 มาทดสอบลำดับเบสในนิวคลีโอไทด์ของ cbh1 และ cbh2 พบว่าลำดับเบสของ cbh1 มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับเบส 4 ตำแหน่ง คือบริเวณอินทรอนตำแหน่งเบสที่ 710 และ 734 ในส่วนเอกซอนตำแหน่งเบสที่ 812 และ 924 การที่มีตำแหน่งเบสที่บริเวณเอกซอนทำให้มีการสังเคราะห์กรดอะมิโนเปลี่ยนแปลงหนึ่งตัว คือเปลี่ยนจาก Asparagine ไปเป็น Threonine และหลังจากการใช้ 0.1 เปอร์เซ็นต์ สารโคลชิซีนในเชื้อ E45-UV24, E45-UV26 และ E45-UV39 เป็นเวลา 20 วัน พบว่า EV39-C69 มีแอกทิวิตีจำเพาะในหน่วยยูนิตต่อมิลลิกรัมโปรตีนของเอนโดกลูคาเนส เอกโซกลูคาเนส สูงกว่าสายพันธุ์ตั้งต้น 2.16 และ 1.35 เท่า ตามลำดับ แต่เนื่องจากเชื้อที่ผ่านการใช้โคลชิซีนส่วนใหญ่จะมีการผลิตโปรตีนที่เพิ่มสูงขึ้น ถ้าคำนวณเป็นค่าแอกทิวิตีในหน่วยยูนิตต่อมิลลิลิตร พบว่า EV24-C46 มีแอกทิวิตีของเอนโดกลูคาเนส เอกโซกลูคาเนส และ เบตา-กลูโคซิเดส สูงกว่าสายพันธุ์ตั้งต้น 2.09, 2.20 และ 1.21 เท่า ตามลำดับ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการกลายพันธุ์ด้วยสารอีเอ็มเอส ร่วมกับการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถใช้ในการเพิ่มการผลิตเซลลูเลสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้สารอีเอ็มเอสเพียงอย่างเดียวในเชื้อ T. reesei TISTR 3081en_US
dc.description.abstractalternativeLignocellulosic ethanol is one of the most promising renewable energy, but the high cost of enzyme is one of the major barriers. The enzyme cellulase from wild type Trichoderma reesei must be improved to make bioetanol more economical due to its low activity and concentration. To resolve this issue this research project aims to improve the cellulose activity by induce mutation on Trichoderma reesei TISTR 3081 via ethylmethanesulfonate (EMS), ultraviolet radiation (UV) and colchicine. After induced for double mutation with EMS treatment and ultraviolet radiation mutation, it was found that isolate E45-UV26 had higher specific activities of endoglucanase, exoglucanase, and β-glucosidase than those of wild type by 1.41, 1.69, and 2.53 times, respectively. Cellulase-producing ability was tested in Mandels' medium containing alpha-cellulose as the sole carbon source. Nucleotide base sequencing of cbh1 and cbh2 revealed that the base order of cbh1 had mutations in 4 positions, i.e. base orders 719 and 734 of the intron and base orders 812 and 924 of the exon. The base order of the exon caused a change in the synthesis of an amino acid, from Asparagine to Threonine. After treating isolates E45-UV24, E45-UV26, and E45-UV39 with colchicine for 20 days, it was found that isolate EV39-C69 had higher specific activities than those of wild type by milligram of protein of endoglucanase and exoglucanase by 2.16 and 1.35 times, respectively. However, as most isolates would have higher protein production after treatment with colchicine, if the activities were calculated as units per millilitre, EV24-C46 would be revealed that the activities of endoglucanase, exoglucanase, and β-glucosidase were 2.09, 2.20, and 1.21 times higher than those of the wild type, respectively. This study found that mutation with EMS together with ultraviolate radiation can increase the production of cellulase more effectively than using EMS alone in T. reesei TISTR 3081.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2001-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเซลลูเลสen_US
dc.subjectเซลลูเลส -- การสังเคราะห์en_US
dc.subjectลิกโนเซลลูโลสen_US
dc.subjectCellulaseen_US
dc.subjectCellulase -- Synthesisen_US
dc.subjectTrichoderma reeseien_US
dc.subjectLignocelluloseen_US
dc.titleการเพิ่มเซลลูเลสแอกทิวิตีของ Trichoderma reesei TISTR 3081 โดยการกลายพันธุ์ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทิลมีเทนซัลโฟเนต รังสีอัลตราไวโอเลตและโคลชิซีนen_US
dc.title.alternativeCellulase activity enhancement of TISTR 3081 By induced mutation with ethylmethanesulfonnate ultraviolet radiation and colchicineen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีชีวภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWarawut.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2001-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mahattanee Phinyo.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.