Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58689
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวาสินี วิเศษฤทธิ์-
dc.contributor.authorราตรี ฉิมฉลอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-07T02:35:28Z-
dc.date.available2018-05-07T02:35:28Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58689-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาเฉพาะกรณี (case study approach) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิที่ผ่านการรับรองคุณภาพ กรณีศึกษาเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิขนาด 2,203 เตียง ที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพงาน หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล ผู้ช่วยหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล และหัวหน้างานพัฒนาคุณภาพการพยาบาล จำนวน 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาตและการถ่ายภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิที่ผ่านการรับรองคุณภาพเป็นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล สรุปการพัฒนาคุณภาพระยะนี้อธิบายได้ 2 ประเด็นคือ1) การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลก่อนนำแนวคิด HA มาใช้ 2) การนำแนวคิด HA ลงสู่การปฏิบัติ เริ่มต้นจาก ปรับความเข้าใจให้ตรงกันในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล บอกความจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพ และประกาศนโยบายที่ชัดเจน ว่าจะเข้ารับการรับรองโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA และนำมาตรฐาน HA มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลทั่วทั้งองค์กร ระยะที่ 2 การดำเนินงานการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิ สรุปการพัฒนาระยะนี้ดำเนินการต่อเนื่องจากระยะที่ 1 โดยมีวิธีการดำเนินการได้แก่ 1) ปรับวิธีคิด ปรับทัศนคติต่อการพัฒนาคุณภาพ 2) ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ 3) การจัดตั้งทีมนำในการพัฒนา 4) วางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 5) สื่อสารอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง 6) ประเมินตนเองหาโอกาสพัฒนาตลอดเวลา 7) ทำนำร่อง 8) จัดเยี่ยมสำรวจภายในกระตุ้นการพัฒนา 9) มีเวทีให้พบปะพูดคุย 10) ประเมินผลและติดตามผลการพัฒนา 11) ใช้กลยุทธ์กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา ในทุกขั้นตอนของการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล ระยะที่ 3 การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลสู่การเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิที่ผ่านการรับรองคุณภาพ สรุปการพัฒนาระยะนี้ว่าการพัฒนาคุณภาพคงอยู่ และเกิดการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1) ทำด้วยใจ 2) ทำอย่างต่อเนื่อง3) ทำด้วยความสุข 4) ทำแล้วขยายผล 5) ทำอย่างผสมผสาน และ 6) ทำโดยใช้เครื่องมือกระตุ้น ได้แก่ ชุมนุมนักปฏิบัติ (Community of Practice) และการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย Routine to Research (R2R) ปัจจัยทำให้ประสบความสำเร็จได้แก่ 1) ผู้นำองค์กร 2) การมีส่วนร่วมของบุคลากร 3) การทำงานเป็นทีม 4) การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพให้เกิดขึ้นในองค์กร 5) การปรับปรุง เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 6) การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา 7) ความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนา 8) แกนนำทำงานคุณภาพที่มุ่งมั่น 9) การใช้แผนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล 10) การให้ความสำคัญกับความสุขของคนทำงานในการพัฒนาคุณภาพ 11) วัฒนธรรมองค์กร 12) การได้รับพลังอำนาจ แรงจูงใจในการทำงาน และ 13) การให้ความสำคัญกับคุณค่าของคนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed at exploring the development on nursing service quality in an accredited tertiary hospital. The case study is an accredited tertiary hospital size 2,203 beds. Total 32 key informants include a hospital director, Deputy of Dean in service quality development, head nurses, head-nurse assistants and leaders of nursing service quality. Research methodology consists of data collection by in-depth interview, participating observation, literature review, photography, and data analysis by content analysis. The research outcome on the development on nursing service quality in an accredited tertiary hospital comprises with 3 stages as follows: Stage 1: Beginning of the development on nursing quality services can be concluded into 2 aspects: 1) Pre-HA development and 2) HA implementation. This stage was started by adjusting the understanding in the same direction about nursing service quality. Necessity to develop on this matter is explained. Clear hospital policy about HA application and HA employment was announced throughout the organization. Stage 2: Implementation of the development on nursing quality services is a continuous process from the Stage1.This stage focuses on 1) adjust the attitude toward nursing service quality, 2) truly understand about nursing service quality, 3) establish a team for this project, 4) plan on developing strategies, 5) communicate through out organization and team workers, 6) self-assessment for developing opportunity, 7) create pilot project, 8) provide internal audit for stimulating the development 9) provide discussion panel, and 10) evaluate and monitor the outcome. Stage 3: Development on nursing service quality for accredited tertiary hospital: The stage emphasizes on the endurance and continuity of the development consisting of 1) willingness, 2) continuity, 3) pleasure to do, 4) expansion of the outcome, 5) integration, 6) use of arousal e.g. community of practice (CoP), and routine to research (R2R). Factors of the success are 1) organizational leader, 2) staff participation, 3) teamwork, 4) creating service quality culture, 5) learning and providing self-development, 6) concept of patient-center, 7) promptness on basic fundamentals of resources, 8) strong intension of project leader, 9) nursing service quality strategies, 10) emphasizing on pleasure of working team, 11) organization culture, 12) empowering from the leader, and 13) realizing on staff value.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2002-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบริการการพยาบาลen_US
dc.subjectบริการการพยาบาล -- การบริหารen_US
dc.subjectบริการการพยาบาล -- การควบคุมคุณภาพen_US
dc.subjectNursing servicesen_US
dc.subjectNursing services -- Administrationen_US
dc.subjectNursing services -- Quality controlen_US
dc.titleการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่ผ่านรับรองคุณภาพโรงพยาบาลen_US
dc.title.alternativeThe nursing service quality development in an accredited tertiary Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSasinee.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2002-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratree Chimchalong.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.