Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58702
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงใจ กสานติกุล-
dc.contributor.advisorวิพรรณ ประจวบเหมาะ-
dc.contributor.authorฤทัยรัตน์ ศรีทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-07T04:25:06Z-
dc.date.available2018-05-07T04:25:06Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58702-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะซึมเศร้าของเด็กในสถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญญพรและความรู้ เจตคติและการปฏิบัติของบุคลากรที่มีต่อการรักษาด้วยยาทางจิตเวชในเด็ก ซึ่งการวิจัยแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะซึมเศร้าของเด็กในสถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญญพร และการศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาความรู้ เจตคติและการปฏิบัติของบุคลากรที่มีต่อการรักษาด้วยยาทางจิตเวชในเด็กสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เด็กที่อยู่ในสถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญญพรทั้งหมด จำนวน 97 คน ทำการสำรวจผ่านแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามภาวะซึมเศร้า CES-D (Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale) จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาผ่านค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานผ่านการวิเคราะห์ Chi-Square Test, Fisher's Exact test ผลการวิจัยพบว่า ความชุกภาวะซึมเศร้าของเด็กในสถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญญพร คิดเป็นร้อยละ 60.8 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ การศึกษาของเด็ก ซึ่งพบว่าเด็กที่เรียนในระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า มีภาวะมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าเด็กที่เรียนในระดับมัธยมศึกษา สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้แนวคำถามเกี่ยวกับความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของบุคลากรต่อการรักษาด้วยยาทางจิตเวชในเด็ก ซึ่งผู้วิจัยได้จัดทำกรอบแนวคิดและแนวคำถามขึ้นมาเองและให้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ โดยทำการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดในการดูแลเด็กทุกคนจำนวน 12 คน ซึ่งประกอบด้วย นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ครูและพี่เลี้ยง ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ยาทางจิตเวชในเด็กและมีการปฏิบัติที่ถูกต้องในการดูแลเด็กที่ได้รับยาทางจิตเวช แต่ยังขาดความรู้ในเรื่องยาทางจิตเวชen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the prevalence and cause factors of depression in Thanyaporn Foster Home for Girls together with the knowledge, attitude and practice in medical team's ability and caregiver to psychophamaco therapy. Research method divided into 2 parts: 1. Quantity research: prevalence and cause factors 2. Quality research: knowledge, attitude and practice of caregiver Quantity research: Sample group: 97 girls from Thanyaporn Foster Home. All data were collected by the questionnaire and CES-D (Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale). The result was interpreted by Statistic Analysis; frequency, percentage and mean, standard deviation, Chi-square test, Fisher's Exact test. The results of this study were: Prevalence of depression in Thanyaporn Foster Home for girls was 60.8%. From the researching, the factor related significantly with depression at the level 0.05 was education. Those attending elementary schools and lower level institutions were found depression more than those in secondary schools. Quality research was about In-depth Interview which questionnaire design for exploring knowledge, attitude and practice of caregiver. Researcher created guidelines and revised by specialist. By interviewing 12 caregivers; physiologists, socialists, teachers, and nannies shows most of them have good attitudes and manner toward children but deficiency in Psychophamaco Therapy.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.605-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความซึมเศร้าในเด็กen_US
dc.subjectความซึมเศร้าในเด็ก -- การวินิจฉัยen_US
dc.subjectDepression in childrenen_US
dc.subjectDepression in children -- Diagnosisen_US
dc.subjectDepressed persons -- Careen_US
dc.titleภาวะซึมเศร้าของเด็กในสถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญญพรและความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ ของบุคลากรที่มีต่อการรักษาด้วยยาทางจิตเวชในเด็กen_US
dc.title.alternativePrevalence of depression in Thanyaporn Foster Home for Girls including knowledge, attitude and practice of caregiver to psychophamaco therapyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตเวชศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDuangjai.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorVipan.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.605-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rutairat_sr_front.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
rutairat_sr_ch1.pdf642.74 kBAdobe PDFView/Open
rutairat_sr_ch2.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
rutairat_sr_ch3.pdf451.07 kBAdobe PDFView/Open
rutairat_sr_ch4.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
rutairat_sr_ch5.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
rutairat_sr_back.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.