Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5871
Title: การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเพื่อวัดโครงสร้างของผนังหลอดเลือด
Other Titles: A design and development of a program for measuring vascular wall structure
Authors: อุรีรัฐ วัฒนชนม์
Advisors: นงลักษณ์ โควาริสารัช
สุทธิลักษณ์ ปทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nongluk.C@chula.ac.th
Suthiluk.P@chula.ac.th
Subjects: การประมวลผลภาพ -- เทคนิคดิจิตอล
คอมพิวเตอร์กราฟิก
หลอดเลือด
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเพื่อวัดโครงสร้างของผนังหลอดเลือดโดยใช้การประมวลผลภาพและคอมพิวเตอร์กราฟิกมาช่วยในการวิเคราะห์ภาพ เนื่องจากลักษณะของภาพหลอดเลือดมีความแตกต่างหลากหลายมาก ทั้งจากลักษณะของหลอดเลือดเอง จากกระบวนการเตรียมสไลด์ และจากการที่ข้อมูลภาพที่นำมาใช้ต้องผ่านหลายสื่อ จึงทำให้โปรแกรมนี้มีข้อจำกัดที่ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงและผู้ใช้ควรเลือกใช้รูปแบบการทำงานให้เหมาะสม งานวิจัยนี้ได้ออกแบบโปรแกรมวัดเป็น 3 แบบคือ แบบอัตโนมัติ แบบกึ่งอัตโนมัติ และแบบกำหนดเองโดยผู้วัด ในการวัดแบบอัตโนมัติโปรแกรมจะคัดเลือกคู่จุดที่อยู่บนผนังหลอดเลือดที่เหมาะสมทั้งหมดเพื่อเป็นตัวแทนในการวัดโดยอัตโนมัติ แล้วคำนวณค่าโครงสร้างของผนังหลอดเลือดให้รวมทั้งความหนาของผนังหลอดเลือด สำหรับการวัดแบบกึ่งอัตโนมัติ ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะตัด เพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งคู่จุดที่การวัดแบบอัตโนมัติได้คัดเลือกมาได้ ในขณะที่การวัดแบบกำหนดเองโดยผู้วัดนั้นผู้ใช้สามารถคัดเลือกคู่จุดการวัดได้เอง งานวิจัยนี้ได้ประเมินผลโปรแกรมวัดกับชุดภาพวงแหวนรูปวงกลมและรูปวงรีที่สร้างขึ้นจำนวน 22 ภาพที่มีความหนา 1 ซม. และ 2 ซม. ค่าความหนาที่วัดได้เป็น 0.994+-0.004 ซม. (n = 313) และ 1.981+-0.025 ซม. (n = 242) สำหรับความหนา 1 ซม. และ 2 ซม. ตามลำดับ โปรแกรมวัดนี้ยังได้ทดลองวัดกับภาพหลอดเลือดจำนวน 27 ภาพ เมื่อเปรียบเทียบผลการวัดโดยคนพบว่าจำนวนคู่จุดที่วัดโดยโปรแกรมนี้มีมากกว่าการวัดด้วยคนมาก โดยเฉพาะภาพหลอดเลือดที่มีขอบของผนังหลอดเลือดชัดเจนซึ่งทำให้ค่าความหนาที่วัดได้มีความน่าเชื่อถือมาก ในการทดลองใช้งานจริงในห้องปฏิบัติการ Microcirculation ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมนี้ช่วยให้การวัดโครงสร้างของผนัง หลอดเลือดทำได้สะดวกและมีประสิทธิภาพทางสถิติมากกว่าการวัดโดยคนซึ่งไม่สามารถเลือกคู่จุดได้ละเอียดเท่า รวมทั้งช่วยลดปัญหาการวัดที่ทำโดยคนที่ยังมีความไม่แน่นอนซึ่งทำให้ค่าที่วัดได้มีความแปรปรวนสูงด้วย
Other Abstract: Designs and developes a program for measuring vascular wall structure by using digital image processing and computer graphics to help analyzing images. Various different blood vessel shapes, slide preparation and image acquisition processes can all cause blood vessel images to vary widely. The designed measuring program, hence, has some limitations that users must be aware of, and they must select a suitable working mode. The measuring program is designed to work in 3 modes: automatic, semi-automatic and manual. Appropriate measuring points on vascular walls are automatically selected in the automatic mode. Vascular wall structure, which includes the vascular wall thickness, is calculated. With semi-automatic mode, users can choose to delete, to add or to change the measuring points selected from automatic mode. Users can freely select measuring points to measure vascular wall thickness in the manual mode. In this research, the measuring program has been evaluated with 22 images of both circular rings and elliptical rings of 1 cm. and 2 cm. thick. The thicknesses resulting from the program are 0.994+-0.004 cm. (n = 313) and 1.981+-0.025 cm. (n = 242) for the 1 cm. and 2 cm., respectively. The program has been tested with 27 blood vessel images, when compared to human measuring results, shows that it provides more reliable measurements as many more measuring points are used in the program, especially for the distinct vascular walls images. A practical use at the Microcirculation Lab, Department of Physiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, shows that the program makes vascular wall measuring process work much more convenient. The results are more statistically efficient when compared to those done by human because human cannot select as many measuring points. The program also reduces human's uncertain measuring problems which cause measuring results to vary widely.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5871
ISBN: 9743472371
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ureerat.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.