Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58731
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชญ รัชฎาวงศ์-
dc.contributor.authorนพพล รัตนโกวิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-14T13:57:43Z-
dc.date.available2018-05-14T13:57:43Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58731-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงประสิทธิภาพของระบบแผ่นกั้นไร้อากาศ ในช่วงเริ่มต้นเดินระบบและช่วงเดินระบบ เพื่อบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นสูง ซึ่งน้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีซีโอดี 6,000 มก/ลิตร และอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่สภาวะคงตัว เท่ากับ 7.2 กก ซีโอดี/ลบ.ม•วัน โดยในงานวิจัยนี้ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เป็นการทดลองในช่วงเริ่มต้นเดินระบบ โดยศึกษาถึงผลของระบบ 3 ห้องมีตะแกรง (เส้นผ่าศูนย์กลางรูขนาด 2 มม) กั้นที่ปลายช่องไหลขึ้นกับระบบ 3 ห้องไม่มีตะแกรงกั้น เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการเข้าสู่ภาวะคงตัว และช่วงที่ 2 เป็นการทดลองในช่วงเดินระบบได้ทำการศึกษาแยกเป็น 2 ส่วน โดยในส่วนแรกทำการศึกษาถึงผลของจำนวนห้องแบบ 3 ห้องกับแบบ 5 ห้องของระบบแผ่นกั้นไร้อากาศต่อความสามารถในการบำบัดสารอินทรีย์ และส่วนที่ 2 ได้ศึกษาตัวแปรต่างๆ ภายในห้องของถังปฏิกิริยาทั้งแบบ 3 ห้องกับแบบ 5 ห้องโดยสนใจถึงความสามารถในการบำบัดสารอินทรีย์เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพของระบบได้ ซึ่งในการทดลองช่วงที่ 2 นี้จะใช้รูปแบบของถังปฏิกิริยาจากการทดลองช่วงที่ 1 ที่ใช้ระยะเวลาในการเริ่มต้นเดินระบบที่สั้นกว่ามาใช้ในการทดลอง ผลการทดลองช่วงที่ 1 ในช่วงเริ่มต้นระบบพบว่าระบบแบบ 3 ห้องไม่มีตะแกรงกั้นที่ช่วงไหลขึ้นใช้เวลาในการเข้าสู่ภาวะคงตัวนานกว่าระบบที่มีตะแกรงกั้นทั้งหมด 76 วัน เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพในการการกำจัดซีโอดีของระบบแบบมีตะแกรงกั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบแบบไม่มีตะแกรงกั้น โดยมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยที่สภาวะคงตัวเท่ากับ 97.52% และ 95.73% ตามลำดับ และผลการทดลองช่วงที่ 2 ช่วงเดินระบบ ได้เลือกใช้ถังปฏิกิริยาแบบมีตะแกรงกั้นที่ปลายช่องไหลขึ้นในการทดลอง พบว่าประสิทธิภาพของระบบ 3 ห้องและ 5 ห้องใกล้เคียงกัน โดยมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 97.52% และ 97.98% และมีอัตราการผลิตก๊าซรวมเฉลี่ย เท่ากับ 0.70 และ 0.70 ลบ.ม/กก ซีโอดีที่ถูกกำจัด ซึ่งเมื่อพิจารณาจะเห็นว่า ถังปฏิกิริยาแบบ 3 ห้องมีตะแกรง มีความเพียงพอในการบำบัดน้ำเสียประเภทน้ำตาลที่มีภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่ 7.2 กก ซีโอดี/ลบ.ม•วัน และเมื่อพิจารณาในแต่ละห้องพบว่าประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีจะมากที่สุดในห้องที่ 1 ของทั้ง 3 ถังปฏิกิริยาและลดลงไปยังห้องสุดท้าย และกรดไขมันระเหย ของแข็งแขวนลอย และของแข็งระเหยก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกับประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีen_US
dc.description.abstractalternativeThis study is aimed at the efficiencies of Anaerobic Baffled Reactor (ABR) in Start-up and operation for of treatment of the high strength wastewater. The wastewater used in this research was synthetic wastewater. The influent COD was 6,000 mg/L and organic loading rate was 7.2 kg COD/m3•day. The research was divided into 2 experimental periods. The first period was studied of 3 compartments ABR in start-up. This period was compared time into the steady state of 3 compartments ABR with 2 mm. diameter of sieve and without sieve and select the best result one for the second experimental period. The second period was divided into 2 operations. First, was studied in the 3 and 5 compartments ABR in operation so as to evaluate and compare both of these 2 compartments concerning the efficiencies of organic removal. Second, comparing the efficiencies of organic removal in each compartment itself. The finding of the first experiment, in the start-up, the 3 compartments ABR without sieve reaching to the steady state spent time more than the 3 compartments ABR with sieve for 76 days. Considering the efficiency of COD removal of the 3 compartments ABR with sieve was better than the without one. The average of efficiency in COD removal in the steady state was 97.52% and 95.73% respectively. The finding of the second experiment in the operation state, the selected ABR with sieve, the efficiency of the 3 and 5 compartments ABR is relatively similar, the average of efficiency in COD removal in the steady state was 97.52% and 97.98% respectively. The gas production ratio is 0.70 and 0.70 m3/kg• COD removal respectively. After considered, found that the 3 compartments ABR with sieve is sufficient to treat the sugar wastewater which had the organic loading 7.2 kg COD/m3•day. After considered in each compartment, the highest efficiency of COD removal was in the first compartment of each 3 reactors and progressively reduced until the last compartment. The volatile fatty acid suspended solid and volatile solid has the similar tendency in efficiency of COD removal.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1368-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจนen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Anaerobic treatmenten_US
dc.titleการเริ่มต้นและการเดินระบบแผ่นกั้นไร้อากาศเพื่อบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นสูงen_US
dc.title.alternativeStart-up and operation of anaerobic baffled reactor for treatment of high strength wastewateren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPichaya.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1368-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppon Rattanakowin.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.