Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58736
Title: การศึกษาความชุกของการกลายพันธุ์ของยีนคิท ในมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันระบบทางเดินอาหารหรือจิสท์ ในผู้ป่วยไทย
Other Titles: Prevalence of kit gene mutation in gastrointestnal-stromal tumor (GIST) in Thai patients
Authors: นภา ปริญญานิติกูล
Email: Narin.V@Chula.ac.th
Advisors: วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
นรินทร์ วรวุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Virote.S@Chula.ac.th
Subjects: การกลายพันธุ์
ยีน
เนื้อเยื่อ -- มะเร็ง
Mutation (Biology)
Genes
Tissues -- Cancer
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา การทำงานที่มากกว่าปกติของยีนคิทพบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งเนื้อเยื่อ เกี่ยวพันระบบทางเดินอาหารหรือจิสท์ และยังเป็นเป้าหมายต่อการรักษาด้วยยาอีมาทีนิบ การกลายพันธุ์ของยีนคิทที่ต่างกันสามารถทำนายการตอบสนองต่อยาอีมาทีนิบ ผู้วิจัยต้องการวิเคราะห์การกลายพันธุ์ของยีนคิทเป็นครั้งแรกในผู้ป่วยมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันระบบทางเดินอาหารหรือจิสท์ในประเทศไทยและศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของยาอีมาทินิบ ผู้ป่วยและวิธีการ ผู้ป่วย 36 รายที่วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันระบบทางเดินอาหารหรือจิสท์ และมีชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2551 นำมาสกัดสารพันธุกรรม และทำการตรวจวิเคราะห์การกลายพันธุ์ด้วยวิธี พีซีอาร์ และตรวจดีเอ็นเอซีเควนท์ทุกราย จากนั้นนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับการตอบสนองของยาระยะเวลาที่ไม่มีการลุกลามของดรค และระยะเวลาการรอดชีวิต ผลการวิจัย สามารถสกัดสารพันธุกรรมและตรวจเพิ่มเติมได้ 24 ราย , 15 รายใน 24 ราย (62.5%) พบการกลายพันธุ์ของยีนคิทเอคซอน 11, 4 ราย (16.7%) พบการกลายพันธุ์ของยีนคิทเอคซอน 9 ลักษณะการกลายพันธุ์ของยีนคิทเอคซอน 11 พบว่า 66.7% เป็น Deletion, 20% เป็น Complex mutation, 13.3% เป็น Substitution ในขณะที่ ทั้งหมด 4 รายของการกลายพันธุ์ของยีนคิทเอคซอน 9 เป็น Duplication หลังจากที่ติดตามผู้ป่วยนาน เฉลี่ย 22.5 เดือน พบว่าในผู้ป่วยมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันระบบทางเดินอาหารหรือจิสท์ ระยะกระจายที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนคิทเอคซอน 11 มีแนวโน้มในการตอบสนองการรักษาดีกว่าในกลุ่มที่ตรวจไม่พบการกลายพันธุ์ของยีนคิทเอคซอน 11 โดยมีอัตราการตอบสนองร้อยละ 62.5 เทียบกับร้อยละ 37.5, p = .74, ระยะเวลาที่ไม่มีการลุกลามของโรค 33.06เดือน เทียบกับ 21.6 เดือน, p=.08 และระยะเวลาการรอดชีวิต 41.7 เดือน เทียบกับ 31.3 เดือน , p=.26 สรุปผลการวิจัย ความชุกของการกลายพันธุ์ของยีนคิท ในมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันระบบทางเดินอาหารหรือจิสท์ในผู้ป่วยไทยเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ลักษณะการกลายพันธุ์ของยีคิทที่ต่างกัน เป็นปัจจัยที่ทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาอีมาทีนิบ ระยะเวลาที่ไม่มีการลุกลามของโรค และระยะเวลาการรอดชีวิต โดยการกลายพันธุ์ของยีนคิทเอคซอน 11 มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อยาอีมาทีนิบ, ระยะเวลาที่ไม่มีการลุกลามของโรค และระยะเวลาการรอดชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่มีการกลายพันธ์ลักษณะดังกล่าว
Other Abstract: Background Activating mutations of KIT have been described to be the crucial molecular pathogenesis of gastrointestinal-stromal tumor (GIST). Individual KIT mutations show different prognosis and differential response to the treatment with imatinib. We investigated the prevalence and pattern of KIT mutation in GlST in Thai patients. Methods Thirty six GlST patients diagnosed and treated at the King Chulalongkorn Memo,-ial Hospital during 2002-2008 who had adequate archival parafin-embedded tumor tissue were identified. DNA was extracted from tumor tissue and then amplified by PCR with primers for KIT exon 11 and exon 9. All PCR products were subjected to direct sequencing. The associations between KIT mutation and tunior response to treatment, time to progression (TTP), and overall survival (0s) were analyzed. Results We successfully amplified 24 out of 36 tumor materials. Mutations of KIT exon 11 were detected in 15 out of 24 tumors (62.5%) and mutations of KIT exon 9 were demonstrated in 4 tumors (16.7%). Most of KIT exon 11 mutations were deletion (10/15:66.7%), complex mutation (3115: 20%) and substitutions (2115: 13.3%). Mutations of KIT exon 9 were all gene duplication (414: 100%). The median follow-up time was 22.5 months. There was a trend toward better treatment outcomes in advanced GlST with KIT exon 11 mutations than non-KIT exon 11 mutations. The objective response were 62.5% vs 37.5% (p=0.74), TTP were 33.1 months vs 21.6 months (p=0.08) and OS were 41.7 months vs 31.3 months (p=0.26) for KIT exon11 mutation vs non-KIT exon11 mutation respectively. Conclusion Our study shows similar prevalence of KIT mutations in Thai GlST patients consistent with the other previous reports. Mutation of exon 11 associates with better imatinib response, time to progression, and overall survival.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58736
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.361
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.361
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Napa Parinyanitikul.pdf897.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.