Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58761
Title: ผลของการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บที่มีต่อความสามารถในการสืบค้นข้อมูล การใช้แผนที่ดาว และมโนทัศน์ในวิชาดาราศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร
Other Titles: Effects of inquiry with web-based instruction on information enquiring, star chart using abilities and astronomy concept of students of Armed Forces Academy Preparatory School
Authors: วิวัฒน์ ผลประเสริฐ
Advisors: พิมพันธ์ เดชะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pimpan.D@Chula.ac.th
Subjects: โรงเรียนเตรียมทหาร -- นักเรียน
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
การค้นหาทางอินเตอร์เน็ต
ดาราศาสตร์
ดาว -- แผนที่
Armed Forces Academy Preparatory School -- Students
Inquiry-based learning
Internet searching
Astronomy
Stars -- Maps
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์ในวิชาดาราศาสตร์ของนักเรียนเตรียมทหารหลังเรียนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บ 2) ศึกษาความสามารถในการใช้แผนที่ดาวของนักเรียนเตรียมทหารหลังเรียนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บ 3) ศึกษาความสามารถในการสืบค้นข้อมูลของนักเรียนเตรียมทหารหลังเรียนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บ 4) เปรียบเทียบมโนทัศน์ในวิชาดาราศาสตร์ของนักเรียนเตรียมทหารระหว่างกลุ่มที่เรียนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บและกลุ่มนักเรียนที่เรียนแบบปกติ 5) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้แผนที่ดาวของนักเรียนเตรียมทหารระหว่างกลุ่มที่เรียนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บและกลุ่มนักเรียนที่เรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนเตรียมทหาร ซึ่งแบ่งเป็น 2กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองคือ กลุ่มที่เรียนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บ มีนักเรียน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติ มีนักเรียน 30 คน แบ่งกลุ่มเรียนได้ 6 กลุ่มเท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบวัดมโนทัศน์วิชาดาราศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.85 ค่าความยากอยู่ในระดับ 0.25-0.80 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในระดับ 0.20-0.95 2) แบบสังเกตความสามารถในการใช้แผนที่ดาว และ 3) แบบสังเกตร่วมกับการตรวจสอบความสามารถในการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนเตรียมทหารที่เรียนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บได้คะแนนมโนทัศน์ในวิชาดาราศาสตร์มากกว่าร้อยละ 70 2. นักเรียนเตรียมทหารที่เรียนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บได้คะแนนความสามารถในการใช้แผนที่ดาวมากกว่าร้อยละ 70 3. นักเรียนเตรียมทหารที่เรียนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บได้คะแนนความสามารถในการสืบค้นข้อมูลมากกว่าร้อยละ 70 4. นำเรียนเตรียมทหารที่เรียบแบบสืบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บได้คะแนนมโนทัศน์ในวิชาดาราศาสตร์มากว่านักเรียนเตรียมทหารที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. นักเรียนเตรียมทหารที่เรียนแบบสืบสอบร่วมกับการสืบค้นบนเว็บได้คะแนนความสามารถในการใช้แผนที่ดาวมากกว่านักเรียนเตรียมทหารที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) study the astronomy concept of students of Armed Forces Academy Preparatory School after learning through inquiry with web-base instruction 2) study the star chart using abilities of students of Armed Forces Academy Preparatory School after learning through inquiry with web-base instruction 3) study the information enquiring of students of Armed Forces Academy Preparatory School after learning through inquiry with web-base instruction 4) compare the astronomy concept of students of Armed Forces Academy Preparatory School between group learning through inquiry with web-base instruction and conventional method 5) compare the star chart using abilities of students of Armed Forces Academy Preparatory School between group learning through inquiry with web-base instruction and conventional method. The sample were two groups of students of Armed Forces Academy Preparatory School; the experimental group with 30 students and the controlled group with 30 students. The students in each class was composed of 6 groups. The research instruments were 1) the test on astronomy concept with reliability was 0.85, the difficulty levels were 0.25-0.80 and the discrimination levels were 0.20-0.95 2) the observation checklist form on ability in star chart using 3) the mean, mean of percentage, standard deviation and t-test The research findings were summarized as follow: 1) The mean score of astronomy concept of students learned through inquiry with web-base instruction was higher than 70 percent. 2) The mean score of star chart using abilities of students learned through inquiry with web-base Instruction was higher than 70 percent. 3) The mean score of information enquiring of students learned through inquiry with web-base Instruction was higher than 70 percent. 4) The score of astronomy concept of students learned through inquiry with web-base instruction was higher than those learning through conventional method at the .05 level of significance. 5) The score of star chart using abilities of students learned through inquiry with web-base instruction was higher than those learning through conventional method at the .05 level of significance
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58761
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.843
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.843
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wiwat_ph_front.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
wiwat_ph_ch1.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
wiwat_ph_ch2.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
wiwat_ph_ch3.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
wiwat_ph_ch4.pdf431.41 kBAdobe PDFView/Open
wiwat_ph_ch5.pdf717.94 kBAdobe PDFView/Open
wiwat_ph_back.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.