Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58810
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุ-
dc.contributor.authorชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-21T09:19:26Z-
dc.date.available2018-05-21T09:19:26Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58810-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร เมื่อจำแนกตามสังกัดและขนาดของโรงเรียน 2) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของตนเองที่มีต่อความสามารถทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของตนเองที่มีต่อความสามารถทางคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 813 คน ตัวแปรที่ใช้การวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 4 ตัวแปร ได้แก่ การรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของตนเอง การตั้งเป้าหมาย ความผูกพันต่อเป้าหมายและความสามารถทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร และตัวแปรภายนอกแฝง 4 ตัวแปร คือ ระดับประสบการณ์เดิม บุคลิกภาพภายในของผู้เรียน ความมุ่งมั่นในการทำงานและความวิตกกังวลในการใช้คอมพิวเตอร์ โดยตัวแปรแฝง วัดจากตัวแปรสังเกตได้ รวมทั้งหมด 13 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบทดสอบ ซึ่งแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของตัวแปรสังเกตได้ตั้งแต่ 0.61-0.95 สำหรับแบบทดสอบมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.25 กับ 1.00 และอำนาจจำแนกมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 กับ 0.88 มีค่าความเที่ยงแบบ KR20 เท่ากับ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1.นักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร มีความสามารถทางคอมพิวเตอร์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 49.66 ของคะแนนเต็ม โดยนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความสามารถทางคอมพิวเตอร์สูงกว่านักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และยังพบว่านักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่จะมีความสามารถทางคอมพิวเตอร์สูงกว่าโรงเรียนขนาดกลาง 2.ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของตนเองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ตัวแปรระดับประสบการณ์เดิม ตัวแปรบุคลิกภาพภายในของผู้เรียน ตัวแปรความมุ่งมั่นในการทำงานและตัวแปรความวิตกกังวลในการใช้คอมพิวเตอร์ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ตัวแปรความผูกพันต่อเป้าหมาย และตัวแปรการตั้งเป้าหมาย ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสามารถทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ตัวแปรการรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของตนเอง 4.โมเดลเชิงสาเหตุและผลของการรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของตนเองที่มีต่อความสามารถทางคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 9.146 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 11 ที่ระดับความน่าจะเป็น เท่ากับ 0.608 มีค่า GFI เท่ากับ 0.998 ค่า AGFI เท่ากับ 0.986 และค่า RMR เท่ากับ 0.020 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสามารถทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 24.20en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of the research were 1) to study the level of upper secondary school students in Bangkok’s computer performance and to compare this in school under different authorities and of different school sizes. 2) Development of a cause and effect model of computer self-efficacy on computer performance of upper secondary school students in Bangkok. And 3) to examine the goodness of fit of the model with empirical data. The research samples consisted of 813 upper secondary school students in Bangkok. Variables consisted of eight latent variables: previous experience, trainee personality, learning goal, computer anxiety, computer self-efficacy, goal setting, goal commitment and computer performance of upper secondary school students in Bangkok. These latent variables were measured by thirteen observed variables. The research data were collected by questionnaires and test. Questionnaires had Cronbach's alpha reliability coefficient of observe variable in the ranged of 0.61 – 0.95, test had level difficulty of the items was 0.67, discrimination power of the items was 0.34 and KR20 reliability coefficient of 0.72. Analyzed by employing descriptive statistics, t-test, Pearson’s product-moment correlation coefficient and LISREL analysis. The research finding were as follows: 1. The upper secondary school students in Bangkok’s computer performance stood at 49.66 percent. And the students in the basic education commission have higher computer performance than students in the private education commission. And the students who studied in a large school are higher computer performance than students who studied in a medium size school. 2. Previous experience, trainee personality, learning goal and computer anxiety variable had not the direct effect to computer self-efficacy of upper secondary school students in Bangkok, the level of significant being .05. 3. Goal commitment and goal setting variable had the direct effect to computer performance of upper secondary school students in Bangkok. And computer self-efficacy variable had the indirect effect to computer performance of upper secondary school students in Bangkok. 4. The causal model was valid and fitted with the empirical data. Indicated by the Chi-square goodness of fit test was 9.146, df = 11, p = 0.608, GFI = 0.998, AGFI = 0.986 and RMR = 0.020. The model accounted for 24.20% of variance in the computer performance of upper secondary school students in Bangkok.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2008-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการรับรู้en_US
dc.subjectการรับรู้ตนเองen_US
dc.subjectความสามารถในตนเองen_US
dc.subjectความสามารถทางคอมพิวเตอร์en_US
dc.subjectPerceptionen_US
dc.subjectSelf-perceptionen_US
dc.subjectSelf-efficacyen_US
dc.subjectComputer literacyen_US
dc.titleโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของตนเองที่มีต่อความสามารถทางคอมพิวเตอร์en_US
dc.title.alternativeA cause and effect model of computer self-efficacy on computer performanceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWannee.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2008-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutiwat_Su.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.