Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58811
Title: โมเดลเชิงสาเหตุของการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิตที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียน
Other Titles: A causal model of using the targeting life skills model on student qualities
Authors: จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาขาวิชาวิจัยการศึกษา
Subjects: ทักษะชีวิต
นักเรียนมัธยมศึกษา
ลิสเรล (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)
Life skills
Students
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิตในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน และระดับคุณภาพนักเรียนในด้านเก่ง ด้านดี และด้านมีความสุข 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิตในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน และคุณภาพนักเรียนในด้านเก่ง ด้านดี และด้านมีความสุข 3) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิตที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียน และ 4) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิตที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 715 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 4 ตัว คือ การใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิต คุณภาพนักเรียน ปัจจัยภายในตัวนักเรียน และปัจจัยภายนอกตัวนักเรียน วัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ 14 ตัว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL 8.72) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ผลการวิเคราะห์ระดับการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิตในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน และระดับคุณภาพนักเรียนในด้านเก่ง ด้านดี และด้านมีความสุข พบว่า ระดับการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิตในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนทุกด้านอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยการพัฒนาด้านการทำงานและการเป็นพลเมืองดี และการพัฒนาด้านการใช้ชีวิตและการดูแลตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ การพัฒนาด้านการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น และการพัฒนาด้านความคิดและการจัดการ ตามลำดับ ส่วนระดับคุณภาพนักเรียนทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยคุณลักษณะด้านมีความสุข มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะด้านดี และคุณลักษณะด้านเก่ง ตามลำดับ 2.ตัวแปรที่มีอิทธิพลโดยรวมสูงสุดต่อคุณภาพนักเรียน คือ ตัวแปรปัจจัยภายนอกตัวนักเรียน ตัวแปรปัจจัยภายในตัวนักเรียน และตัวแปรการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิต ตามลำดับ ตัวแปรที่มีอิทธิพลโดยรวมสูงสุดต่อการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิต คือ ตัวแปรปัจจัยภายนอกตัวนักเรียน ตัวแปรปัจจัยภายในตัวนักเรียน ตามลำดับ และตัวแปรที่มีอิทธิพลโดยรวมสูงสุดต่อปัจจัยภายในตัวนักเรียน คือ ตัวแปรปัจจัยภายนอกตัวนักเรียน ตัวแปรการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิต ตามลำดับ 3.โมเดลเชิงสาเหตุของการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิตที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 75.63, df = 59, p .071, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMR = 0.006) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพนักเรียนได้ร้อยละ 94
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to study the level of use of the targeting life skills model for developing students qualities and to study the level of students qualities, 2) to study the factors that affect using the targeting life skills model and to study the factors that affect students qualities, 3) to develop a causal model of using the targeting life skills model on student qualities, and 4) to examine the goodness of fit of the model with empirical data. The research samples consisted of 715 students in grad 10-12 from 6 parts of Thailand. The instrument were measured on five-point Likert scales. Data consisted of 4 latent variables: targeting life skills model, students qualities, factors within the students and factors outside the students; fourteen observed variables. The data obtained were analyzed by descriptive statistic, pearson’s product moment correlation by SPSS and the analysis of structural equation model and model invariance by LISREL program version 8.72 . The research findings were as follow: 1.The level of use of the targeting life skills model for developing students qualities in all four parts are quite high. The part of hand : development work and good citizen and the part of health : development of living and self care have the highest average. And The level of students qualities all 3 parts are quite high. The part of happy has the highest average. 2.The factors that affect students qualities are factors outside the students, factors within the students and the using targeting life skills model, respectively. The factors that affect using the targeting life skills model are factors within the students and factors outside the students, respectively. The factors that affect factors within the students are factors outside the students and using the targeting life skills model, respectively. 3.The causal model fitted with empirical data. Indicated by The Chi-square = 75.63, df = 59, GFI = .99, AGFI = .97 and RMR = .006 . The model accounted for 94% of variance in the students qualities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58811
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.967
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.967
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chulalak_So.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.