Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58857
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้ เกณฑ์ และรูปแบบการประเมินหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Other Titles: The development of indicators, criteria and an evaluation model for bachelor's degree curriculum in humanities and social sciences
Authors: กฤติมา เหมวิภาต
Advisors: ปทีป เมธาคุณวุฒิ
ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: No information provided
skanjanawasee@hotmail.com
Subjects: ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
การประเมินหลักสูตร
สังคมศาสตร์ -- หลักสูตร
มนุษยศาสตร์ -- หลักสูตร
Educational indicators
Curriculum evaluation
Social sciences -- Curricula
Humanities -- Curricula
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ เกณฑ์การตัดสินคุณค่า และรูปแบบการประเมินหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่พัฒนาจากกฎหมายการศึกษา ทฤษฎีและงานวิจัยต่างๆ จำนวน 71 ตัวบ่งชี้ ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.983 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาระบบจำกัดรับ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้นตอน (Multi-Stage Simple Random Sampling) ขนาดตัวอย่าง 800 คน จากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 60 สถาบัน แบบสอบถามที่ได้รับคืน จำนวน 688 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86 ทดสอบความตรงของโมเดลการวัดตัวแปรแฝงการประเมินหลักสูตร ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (Second Order Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) พบว่าองค์ประกอบ การประเมินหลักสูตร มีจำนวน 8 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) การบริหารและพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านปัจจัยสนับสนุน 3) เอกสารหลักสูตร 4) คุณภาพอาจารย์ 5) คุณลักษณะผู้เรียน 6) การเรียนการสอน 7) การพัฒนานักศึกษา และ 8) ประสิทธิผลหลักสูตร การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่งของตัวบ่งชี้ จำนวน 71 ตัว พบว่า โมเดลการวัดตัวแปรแฝงทุกองค์ประกอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดตัวแปรแฝงการประเมินหลักสูตร ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (Second Order Confirmatory Factor Analysis) ด้วยโปรแกรมลิสเรล พบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ² = 10.03, df = 9, p = .35, GFI = 1.00, AGFI = 0.99) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การเรียนการสอน 2) ประสิทธิผลหลักสูตร 3) ปัจจัยสนับสนุน 4) เอกสารหลักสูตร 5) การบริหารและพัฒนาหลักสูตร 6) คุณภาพอาจารย์ 7) การพัฒนานักศึกษา 8) คุณลักษณะผู้เรียน ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R²) แต่ละองค์ประกอบเท่ากับ .81 .57 .79 .72 .80 .66 .60 และ .45 ตามลำดับ ตัวบ่งชี้การประเมินหลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้จำนวน 43 ตัวบ่งชี้ ผลการตรวจสอบโมเดลการวัดตัวแปรแฝงของการประเมินหลักสูตรด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 71 ตัว และ 43 ตัว พบว่า โมเดลการวัดตัวแปรแฝงทั้ง 2 แบบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบไม่แตกต่างกัน เกณฑ์การประเมินใช้ระบบแต้มคะแนน (Point System) 4 ระดับ
Other Abstract: The objectives of this research were to develop and validate the indicators for the evaluation of Bachelor’s Degree curriculum in Humanities and Social Sciences, criteria and evaluation model of Bachelor’s Degree curriculum in Humanities and Social Sciences by using linear structural equation model to determine factors, latent variables which were evaluated with observed variables. Measurement Model of Structural equation model derived from factor analysis method. The samples size was 800 administrators from 60 limited admission universities across Thailand using multistage stratified simple random sampling technique. Questionnaires verified by experts and tested with reliability of Cronbach’s Alpha Coefficient was 0.983. The return rate was 86%. Validation the model with emperical data employing LISREL program . The research findings with exploratory factor analysis and second order confirmatory factor analysis ; the measurement model was valid and well fitted to emperical data(χ²= 10.03, df=9, P=0.35 , GFI = 1.00, AGFI = 0.99) .The eight factors accounted for 45% – 81% of varience in the curriculum evaluation. The indicators for evaluation of Bachelor’s Degree curriculum in Humanities and Social Sciences were measured from short list of 43 indicators with no difference from 71 indicators ; the 8 factor score, were ranked : teaching , curriculum effectiveness, support, curriculum documentation, curriculum administration and development, quality of faculty, student characteristics and student development. The findings implied that indicators of eight factors were appropriate to be indicator for evaluation of Bachelor’s Degree curriculum in Humanities and Social Sciences. The practical model for evaluation of Bachelor’s Degree curriculum in Humanities and Social Sciences was 43 indicators in eight factors which was the same sequencing as 71 indicators .The indicator’s criteria and evaluation’s criteria are evaluated based on four Point System
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58857
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1299
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1299
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KridtimaHemvipat.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.