Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5890
Title: | ลิตเติล บุดดา : ตะวันออกในมุมมองตะวันตก |
Other Titles: | Little Buddha : The East from a Western perspective |
Authors: | จิรารัตน์ ประยูรวงษ์ |
Advisors: | อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Anongnart.T@Chula.ac.th |
Subjects: | บูรพาคดีนิยม ลิตเติล บุดดา -- ประวัติและวิจารณ์ ซาอิด, เอ็ดเวิร์ด, ค.ศ. 1935- แบร์โตลุชชี, แบร์นาร์โด |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดบูรพาคดีนิยม (Orientalism) และเพื่อวิเคราะห์กลวิธีในการนำเสนอแนวคิดดังกล่าวที่ปรากฏในวรรณกรรมและภาพยนตร์เรื่อง ลิตเติล บุดดา (Little Buddha) ผลการวิจัยพบว่ามีแนวคิดบูรพาคดีนิยมตรงตามแนวทางของเอ็ดเวิร์ด ซาอิดอยู่ในวรรณกรรมและภาพยนตร์เรื่อง ลิตเติล บุดดา 5 ประการ คือ 1. แนวคิดที่ว่าตะวันออกด้อยกว่าตะวันตก 2. แนวคิดที่ว่าตะวันตกมีสิทธิในการเปลี่ยนแปลงตะวันออก 3. แนวคิดที่ว่าตะวันออกเป็นดินแดนที่เหมาะสำหรับแสวงหาคำตอบชีวิตในด้านจิตใจ 4. แนวคิดที่ว่าภาพของตะวันออกขึ้นอยู่กับตัวบท และ 5. แนวคิดที่ว่าตะวันออกลอกเลียนแบบตะวันตก แนวคิดบูรพาคดีนิยมเหล่านี้ผู้ประพันธ์ได้นำเสนอผ่านกลวิธีการประพันธ์ทั้งสิ้น 9 วิธีดังต่อไปนี้ คือ 1. การปรับเปลี่ยนปรัชญาตะวันออกให้มีลักษณะเหมือนปรัชญาตะวันตก 2. กลวิธีการเล่าเรื่องโดยสายตาที่รู้แจ้งของบุคคลที่สาม 3. กลวิธีการใช้ตัวละครที่มีลักษณะนิสัยด้านเดียว 4. กลวิธีการใช้ความเปรียบ 5. กลวิธีการจบเรื่องแบบสุขนาฏกรรม 6. กลวิธีการใช้โครงเรื่องหลักและโครงเรื่องรอง 7. กลวิธีการยอมรับว่าละครคือละครไม่ใช่เรื่องจริง 8. กลวิธีการใช้แนวแฟนตาซี และ 9. การใช้องค์ประกอบทางภาพยนตร์ในการสื่อถึงความแตกต่างระหว่างตะวันออกและวันตก กลวิธีทางการประพันธ์เหล่านี้ต่างก็มีความสอดคล้องกันในการนำเสนอแนวคิดบูรพาคดีนิยมของผู้แต่งโดยทั้งสิ้นอันเป็นลักษณะของวัฒนธรรมชนนิยมตามลักษณะของภาพยนตร์ฮอลลีวูดโดยส่วนใหญ่ สิ่งนี้ทำให้ภาพของตะวันออกที่ปรากฏในวรรณกรรมและภาพยนตร์กลายเป็นภาพที่ถูกบิดเบือนเพื่อให้ตะวันออกเป็นไปตามที่ตะวันตกต้องการซึ่งเป็นไปตามหลักบูรพาคดีนิยมที่มีอยู่ในจิตใต้สำนึกหรือที่เรียกว่าบูรพาคดีนิยมที่แฝงเร้นของคนตะวันตก การตระหนักรู้เท่าทันวาทกรรมของตะวันตกที่กระทำต่อตะวันออกเช่นนี้จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังยิ่งขึ้นในการเสพงานของตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นในรูปของวรรณกรรม ภาพยนตร์ งานเขียน หรือในรูปของสื่ออื่นๆ ก็ตาม เพื่อไม่ให้ชาวตะวันออกเกิดการถูกครอบงำทางความคิด วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ ของตะวันตกที่ค่อยๆ กลืนความเป็นตะวันออกไปเรื่อยๆ ตามกระแสโลกาภิวัตน์รวมทั้งเพื่อไม่ให้ชาวตะวันออกลืมรากเหง้าของตนเองด้วย |
Other Abstract: | The objectives of this thesis are to study Orientalism and to analyze the ways used to present Orientalism in narrative and film Little Buddha. The study shows that there are 5 kinds of Orientalism by Edward Said in the novel and film, namely the idea that the East is inferior to the West, the idea that the West has the right to change the East, the idea that the East is the land of searching for spiritual answer, the idea that the image of the East depends on texts and the idea that the East is an imitation of the West. And the idea of Orientalism in the novel and film is presented through following 9 literary devices : the adaptation of Eastern philosophy in the same way as Western philosophy, the use of omniscient point of view, the use of static characters, the use of comparison, the use of happy ending, the use of main plot and subplot, the use of theatricalism, the use of fantasy and the use of cinematic compositions. These literary devices are all related one another in order to present the author's Orientalism, which is popular culture according to the style of most of Hollywood film. And these make the images of the East in narratives and films become the distorted images so that the East will turn into what the West desires it to be in accordance with Orientalism in subconscious mind of Western people called Latent Orientalism. Realizing the discourse the West has towards the East will help us to be more careful to consume the works of the West such as literature, film, writing or other forms of media so that Eastern people will not become occupied by Western idea, culture, economy or politics etc., which gradually and continually occupy the East according to the trend of globalization and so that we will not forget our root, either. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วรรณคดีเปรียบเทียบ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5890 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.res.2003.23 |
ISBN: | 9741733593 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.res.2003.23 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chirarat.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.