Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58900
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.advisorวิโรจน์ ตันติโกสุม-
dc.contributor.authorสุพิชชา ทองประสิทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-26T11:16:42Z-
dc.date.available2018-05-26T11:16:42Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58900-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวทางจิตสังคมของญาติใกล้ชิดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีที่เสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นกะทันหันก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลอารมณ์ ร่วมกับการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูล อารมณ์ ร่วมกับการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือญาติใกล้ชิดของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีและมีภาวะเสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้น กะทันหันที่เข้ามารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 40 คน จัดเข้ากลุ่มควบคุม 20 คนและกลุ่มทดลอง 20 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงโดยการจับคู่ในด้าน เพศ อายุ ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย และ ระดับการศึกษา เริ่มดำเนินการในกลุ่มควบคุมก่อนกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูล อารมณ์ ร่วมกับการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูล อารมณ์ ร่วมกับการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมโดยดัดแปลงจากแนวคิดการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ของ Lazarus and Folkman (1984) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดการปรับตัวทางจิตสังคมของญาติใกล้ชิดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีที่เสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นกะทันหันซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแบบวัดการปรับตัวของ Derogatis (1986) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .80 และค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถติ Kolmogorov-Smirnov test และสถิติทดสอบ (Paired t-test และ Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ญาติใกล้ชิดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีที่เสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นกะทันหันที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูล อารมณ์ ร่วมกับการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานมีการปรับตัวหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ญาติใกล้ชิดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีที่เสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นกะทันหันที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูล อารมณ์ ร่วมกับการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานมีการปรับตัวหลังการทดลองดีกว่าญาติใกล้ชิดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีที่เสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นกะทันหันที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to compare pretest-posttest of the psychosocial adjustment in close relatives of coronary syndrome patients at risk of sudden cardiac arrest, who received the informational and emotional support combined with basic cardiac life support training program, and to compare a control group who received conventional care. The research sample were close relatives of coronary syndrome patients at risk of sudden cardiac arrest, out patients department at Panomsarakarm Hospital, Chachoengsao province. The research sample consisted of 40 patients's close relatives, and were selected into an experimental group and a control group with 20 close relatives in each group. The two groups were matched in sex, age, relationship between close relatives and level of education. The study started with the control group following by the experimental group. The control group received conventional care, while the experimental group received an informational and emotional support combined with basic cardiac life support training program. The research instruments were informational and emotional support program based on social support concept (Larzaus and Folkman, 1984). The data were collected by a demographic data form, and Psychosocial Adjustment to Illness Scale: PAIS (Derogatis, 1986). The instruments were tested for content validity CVI= .80. The reliability of the PAIS were .86 The data were analyzed by using mean, percentage, Standard deviation, Kolmogorov-Smirnov test statistic and t-test statistic. Results were as follows: 1.The psychosocial adjustment in close relatives of coronary syndrome patients at risk of sudden cardiac arrest receiving informational and emotional support combined with basic cardiac life support training program at posttest were significantly higher than that of pretest at the .05 level. 2. The psychosocial adjustment in close relatives of coronary syndrome patients at risk of sudden cardiac arrest receiving information and emotional support combined with basic cardiac life support training program at posttest were significantly higher than those who receiving conventional care at the .05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1007-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพยาบาลen_US
dc.subjectพยาบาลกับผู้ป่วยen_US
dc.subjectผู้ป่วย -- การดูแลen_US
dc.subjectผู้ดูแลen_US
dc.subjectการปรับตัว (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectหลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วยen_US
dc.subjectNursingen_US
dc.subjectCardiac arresten_US
dc.subjectCaregiversen_US
dc.subjectAdjustment (Psychology)en_US
dc.subjectCare of the sicken_US
dc.subjectCoronary heart disease -- Patientsen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูล อารมณ์ ร่วมกับการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ต่อการปรับตัวทางจิตสังคมของญาติใกล้ชิดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี ที่เสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นกะทันหันen_US
dc.title.alternativeEffect of informational and emotional support combined with basic cardiac life support training program on psychosocial adjustment in close relatives of coronary syndrome patients at risk of sudden cardiac arresten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChanokporn.J@Chula.ac.th,jchanokp@hotmail.com-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1007-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supitcha_th_front.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
supitcha_th_ch1.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
supitcha_th_ch2.pdf8.84 MBAdobe PDFView/Open
supitcha_th_ch3.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
supitcha_th_ch4.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
supitcha_th_ch5.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
supitcha_th_back.pdf8.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.