Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58926
Title: | กลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Coping styles among freshmen in colleges of vocational education commission in Bangkok Metropolis |
Authors: | สิทธิชัย ทองวร |
Advisors: | เดชา ลลิตอนันต์พงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | drdecha@hotmail.com |
Subjects: | การแก้ปัญหาในวัยรุ่น -- ไทย วัยรุ่น -- สุขภาพจิต Problem solving in adolescence -- Thailand Mental health -- in adolescence Problem solving -- in adolescence |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกลวิธีการเผชิญปัญหารวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจาก 6 สถาบันการศึกษา จำนวน 432 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดการเผชิญปัญหา นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดย วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One way ANOVA และ Independence – Sample t-Test ผลการวิจัยพบว่า 1. โดยภาพรวมนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ส่วนใหญ่ใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา แบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม และแบบหลีกหนีในระดับปานกลาง (ร้อยละ 70.4, 70.4 และ 68.3 ตามลำดับ) 2. เพศหญิงใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา มากกว่าเพศชายที่ระดับนัยสำคัญ p<.05. 3. สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมและแบบหลีกหนีสูงกว่าสาขาคหกรรมและอื่นๆ ที่ระดับนัยสำคัญ p<.05. 4. นักศึกษาที่ครอบครัวมีความสัมพันธ์แบบรักใคร่กันดีมีคะแนนค่าเฉลี่ยของกลวิธีการเผชิญปัญหาด้านแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมต่ำกว่าคอบครัวที่มีความสัมพันธ์แบบทะเลาะกันบ่อยๆ นอกจากนี้นักศึกษาที่ครอบครัวมีความสัมพันธ์แบบทะเลาะกันบ่อยๆยังมีคะแนนค่าเฉลี่ยของกลวิธีการเผชิญปัญหาด้านแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าครอบครัวที่มีความสัมพันธ์แบบราบรื่นพอสมควรและแบบต่างคนต่างอยู่ที่ระดับนัยสำคัญ p<.05. 5. นักศึกษาที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปกป้องมากใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย นอกจากนี้นักศึกษาที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยมีคะแนนค่าเฉลี่ยของกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมต่ำกว่านักศึกษาที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมหรือเข้มงวดและให้อิสระอีกด้วย ที่ระดับนัยสำคัญ p<.05 |
Other Abstract: | The purposes of this study were to examine the coping styles and factors among freshmen in colleges of Vocational Education Commission in Bangkok Metropolis. The sample consisted of the students in Colleges of Vocational Education Commission in Bangkok Metropolis (n = 432). The instruments of this study were general questionnaires and the Coping Scale. Data was analyzed by using One-way ANOVA and Independence – Samples t-Test. The major findings were as follows: 1. First-year college students reported average level of Problem-Focused Coping, Social Support Seeking and Avoidance strategies. 2. Female students reported higher scores in Problem-Focused Coping than male students at the p<.05 level. 3. Students in the Department of Industry reported higher scores in Social Support Seeking and Avoidance than those in the Department of Home Economics and others at the p<.05 level. 4. Students who come from good-relationship families reported lower scores in Social Support Seeking than those from poor-relationship families. Moreover, students from poor-relationship families reported higher scores in Social Support Seeking than those from average-relationship families and those from separated-relationship families at the p<.05 level. 5. Students who come from over-protected families reported higher scores in Social Support Seeking than those from child neglect-families. Moreover, students who come from child neglect-families reported lower scores in Social Support Seeking than those from stricted-families and those who have been nurtured with proper freedom at the p<.05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58926 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.56 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.56 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sittichai_to_front.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sittichai_to_ch1.pdf | 742.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
sittichai_to_ch2.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sittichai_to_ch3.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sittichai_to_ch4.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sittichai_to_ch5.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sittichai_to_back.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.