Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58992
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริพันธุ์ สาสัตย์ | - |
dc.contributor.author | นพรัตน์ รุจิรารุ่งเรือง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-06-03T02:56:46Z | - |
dc.date.available | 2018-06-03T02:56:46Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58992 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะร่วมกับการฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกายต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 40 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งออก เป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย และกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ และโรคประจำตัวของผู้ป่วย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะร่วมกับการฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) เครื่องมือดำเนินการทดลอง คือโปรแกรมการสอนแนะร่วมกับการฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ของ Orem (2001) ร่วมกับการใช้แนวคิดการสอนแนะของ Girvin (1999) 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง และ 3) เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบบันทึกการเคลื่อนไหวร่างกาย เครื่องมือทั้ง 3 ชุด ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และทดสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองภายหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะร่วมกับการฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกายมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะร่วมกับการฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกายมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The quasi-experimental research aimed to examine the effect of coaching program with body movement training on activities of daily living for elderly stroke patients. The samples were 40 elderly stroke patients admitted to the medical department, Hatyai Hospital. The two groups, 20 persons for experiment group and 20 persons for control group were matched pair with sex and underlining disease. The experimental group received coaching program with body movement training, while the control group received a routine nursing care. The instruments were 1) the experimental instrument, a coaching program with body movement training base on Orem’s supportive-educative nursing system (2001) and Girvin’s coaching concept (1999), 2) the instruments for collecting data consisted of the Functional Ability Scale and demographic data questionnaire and 3) the controlled-experimental instrument, a body movement assessment. The instruments were validated by a panel of 5 experts. The reliability of Functional Ability Scale was tested and the Chronbach’s alpha coefficient was .96. Data were analyzed using descriptive statistic and the hypotheses were tested using the t-test. Results were as follows: 1. Elderly stroke patients who received coaching program with body movement training had significantly increased in activities of daily living at level of .05 2. Elderly stroke patients who received coaching program with body movement training had significantly increased in activities of daily living than those in the control group at the level of .05 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1008 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย | en_US |
dc.subject | การพยาบาลผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | การเคลื่อนไหว -- การฝึก | en_US |
dc.subject | Cerebrovascular disease -- Patients | en_US |
dc.subject | Geriatric nursing | en_US |
dc.subject | Physical therapy for older people | en_US |
dc.subject | Movement -- Coaching | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการสอนแนะร่วมกับการฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกายต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง | en_US |
dc.title.alternative | The effect of coaching program with body movement training on activities of daily living for elderly stroke patients | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพยาบาลผู้สูงอายุ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Siriphun.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1008 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Noppon Rattanakowin.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.