Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59011
Title: ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
Other Titles: Problems and obstacles of the enforcement of the Computer Crime Act B.E. 2550
Authors: อัญธิกา ณ พิบูลย์
Advisors: อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Apirat.P@Chula.ac.th
Subjects: พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
การบังคับใช้กฎหมาย
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Computer Crime Act B.E. 2550
Law enforcement
Computer crimes -- Law and legislation
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งศึกษามาตรการทางกฎหมายของนานาอารยประเทศ เพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จะมีผลบังคับใช้แล้วก็ตาม แต่การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็มิได้ลดน้อยลง เนื่องจากมีข้อพร่องในส่วนของกฎหมายสารบัญญัติหลายประการ ดังนี้ 1. ปัญหาความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายพบว่า ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายคลุมเครือทำให้เกิดปัญหาในการตีความ 2. ปัญหาความไม่ครอบคลุมของบทบัญญัติแห่งกฎหมายพบว่า การกระทำที่เกิดขึ้นบางกรณียังไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิด 3. ปัญหาเกี่ยวกับบทกำหนดโทษพบว่า บทลงโทษค่อนข้างน้อย จึงไม่ทำให้ผู้กระทำความผิด เกิดความเกรงกลัว ปัญหาทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น ล้วนเป็นอุปสรรคกีดขวางมิให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ศึกษามาตรการทางกฎหมายของนานาอารยะประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อค้นหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าว อันจะทำให้สามารถควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น
Other Abstract: To study the problems and obstacles which make the Computer Crime Act B.E. 2550 enforce ineffectively and to study the legal measures of civilized countries in order to solve such problems and obstacles. From the study, it is recognized that although the Computer Crime Act B.E. 2550 has entered into force, computer crime does not decrease. It is the result of some weaknesses of the substantive law as follows 1. The ambiguity of legal provisions ; the unclear provisions make interpretation problem. 2. The limit of legal provisions ; the substance of provisions does not cover new computer crime. 3. The penalty provisions ; the punishment of this act is not so strict that it cannot scare criminals. The aforesaid weaknesses are the causes of the ineffective enforcement of the Computer Crime Act B.E. 2550. Therefore, the author has studied the legal measures of the civilized foreign countries including analyzed and compared the foreign laws with the Computer Crime Act B.E. 2550 in order to have the quidelines for amendment of the act which will formulate more effective and more appropriate control over the computer crime.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59011
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.482
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.482
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
auntika_na_front.pdf8.67 MBAdobe PDFView/Open
auntika_na_ch1.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
auntika_na_ch2.pdf34.11 MBAdobe PDFView/Open
auntika_na_ch3.pdf29.46 MBAdobe PDFView/Open
auntika_na_ch4.pdf27.37 MBAdobe PDFView/Open
auntika_na_ch5.pdf11.65 MBAdobe PDFView/Open
auntika_na_back.pdf69.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.