Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59034
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประนอม โอทกานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-05T11:56:43Z-
dc.date.available2018-06-05T11:56:43Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59034-
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบชมรมผู้สูงอายุ การพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาของชมรมผู้สูงอายุโดยการศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ จำนวน 197 คน สัมภาษณ์ผู้บริหาร / แกนนำของชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 21 คน จาก 4 ภาค กำหนดกรอบแนวคิดของการสร้างรูปแบบ ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างความสามารถของผู้สูงอายุในการที่จะดูแลตนเองและชุมชน จากกรอบแนวคิดที่ได้ในระยะที่ 1 คือแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจประชาชนผู้สูงอายุ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบที่สร้างขึ้น ตั้งชื่อรูปแบบที่แก้ไขว่า “รูปแบบชมรมผู้สูงอายุพลูตาหลวง” ระยะที่ 3 ทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบว่าจะสามารถเสริมสร้างความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ เสริมสร้างความเป็นผู้นำของผู้สูงอายุ รวมทั้งช่วยป้องกันและลดความว้าเหว่ของผู้สูงอายุได้เพียงใด ผลการทดลองใช้ รูปแบบฯ ณ โรงพยาบาลสัตหีบ ก.ม. 10 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พบว่ารูปแบบชมรมผู้สูงอายุพลูตาหลวง มีประสิทธิผลตามกำหนด ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างสามารถทำหน้าที่แกนนำของชมรมได้ดี สามารถบริหารจัดการและดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุพลูตาหลวงซึ่งได้ร่วมกันก่อตั้งขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน “รูปแบบชมรมผู้สูงอายุพลูตาหลวง” ที่พัฒนาขึ้นครั้งนี้เป็นการออกแบบโครงสร้างชมรมผู้สูงอายุที่ระบุรายการต่อไปนี้ 1) วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ 2) การดำเนินงาน (ในระยะก่อตั้ง ระยะดำเนินการ และระยะดำเนินการไประยะหนึ่ง) 3) คุณสมบัติของสมาชิก 4) กิจกรรมหลักของชมรม และ 5) สถานที่ตั้งen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this project was to develop an elderly club model. There were 3 phases of study. In phase 1: The status and problems of the elderly clubs were studied. It was conducted by interviewing the 197 elderly and the 21 leaders of elderly clubs in 4 parts of Thailand. At the end of the first phase, the conceptual framework of elderly club model was formulated. In phase 2: The elderly club model was constructed by using empowerment concept to promote and enhance the elderly’s ability to take charge of their life and their community. Workshop of 19 experts was held in order to validate the constructed model. “PLUTALUANG ELDERLY CLUB MODEL” was named. Later, In the final phase, the efficiency of the model was evaluated in terms of knowledge, health behavior, leadership of the elderly, and prevention/decrease their loneliness. The participants were able to direct, and manage the club effectively. The development of elderly club model was fulfilled. The “Plutaluang Elderly Club Model” was a design or structure in which identified the following component of elderly club :1) A purpose of establishment of elderly club 2) How to conduct (at beginning, to forward, and to go afterward) 3) Attribute of the members. 4) The main activities and 5) A suitable location of the club.en_US
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2542-2543en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectชมรมผู้สูงอายุพลูตาหลวงกลุ่มพัฒนาen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สมาคมและสโมสร -- ไทยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- นโยบายของรัฐ -- ไทยen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบชมรมผู้สูงอายุ : รายงานการวิจัยen_US
dc.title.alternativeA development of elderly club modelen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranom Ot_Res_2543.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.