Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59075
Title: | การศึกษาสภาพและแนวทางในการส่งเสริมการสืบทอดอาชีพทำนาของลูกชาวนา |
Other Titles: | A study of the state of and guidelines to promote the inheritance of peasant occupation of peasants' children |
Authors: | เกินศักดิ์ ศรีสวย |
Advisors: | อมรวิชช์ นาครทรรพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | amornwich.n@chula.ac.th |
Subjects: | การส่งเสริมการเกษตร การทำนา ชาวนา ทายาท Agricultural extension work Rice -- Planting Rice farmers Inheritance and succession |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสืบทอดอาชีพทำนาของลูกชาวนาปัจจุบัน ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ดและเพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการสืบทอดอาชีพทำนา การดำเนินการวิจัยมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม “สภาพการสืบทอดและปัจจัยเงื่อนไขในการสืบทอดอาชีพทำนาของลูกชาวนา” 3) การเก็บข้อมูลภาคสนามจากการลงพื้นที่ศึกษาภาคสนามและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในหมู่บ้านกรณีศึกษา 2 หมู่บ้านเป็นการศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องสภาพการณ์การสืบทอดอาชีพทำนาและแนวทางในการส่งเสริมการสืบทอดอาชีพทำนาด้วยการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างลูกชาวนา ครอบครัวชาวนา ครู และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นำชุมชน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) เก็บข้อมูลโดยการจัดเวทีสนทนากลุ่ม เพื่อระดมสมองหาแนวทางเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการสืบทอดอาชีพทำนาในหัวข้อ “แนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการสืบทอดอาชีพทำนาในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” 5) เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตรถึงแนวทางเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการสืบทอดอาชีพในเขต พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มลูกชาวนาที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบโรงเรียน และกำลังศึกษาอยู่ในการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับอาชีวศึกษาในระดับชั้น ปวช. 1-ปวส. 2 ซึ่งมีอายุระหว่าง 14-25 ปี เป็นกลุ่มตัวแทนลูกชาวนาในเขตอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามสภาพการสืบทอดและปัจจัยเงื่อนไขในการสืบทอดอาชีพทำนาของลูกชาวนา แบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในหมู่บ้านกรณีศึกษา กรอบคำถามในการจัดเวทีสนทนากลุ่มในหัวข้อแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการสืบทอดอาชีพทำนาในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้และแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมกลุ่มตัวอย่างลูกชาวนาในการตอบแบบสอบถามรวม 1,982 คน และกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มทั้งที่เป็นลูกชาวนา ครู เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นำชุมชน ครูภูมิปัญญารวมทั้งสิ้น 52 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาโดยการสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการจัดเวทีสนทนากลุ่มนำเสนอเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการสืบทอดอาชีพทำนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม บริบททางสังคมและวัฒนธรรมมีส่วนสัมพันธ์กับสภาพการสืบทอดอาชีพทำนาของลูกชาวนาโดยสภาพการสืบทอดอาชีพทำนาแบบทำเองของลูกชาวนาพบว่ายังมีน้อย ลูกชาวนาส่วนใหญ่เลือกประกอบอาชีพที่ตนเองสนใจหลังจากจบการศึกษาโดยส่งเงินมาช่วยพ่อแม่ในการทำนาแทนซึ่งเริ่มใช้รูปแบบการจ้างแรงงานทำนาแทนมากขึ้นมีลูกชาวนาบางส่วนที่กลับมาช่วยพ่อแม่ทำนาด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการทำนาเป็นเกษตรผสมผสานซึ่งประสบผลสำเร็จสามารถเลี้ยงตนเองได้ ความตั้งใจสืบทอดอาชีพทำนาต่อจากพ่อแม่จะมากเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านเช่นการที่ลูกชาวนาทำนาเป็นและได้ช่วยเหลือพ่อแม่ทำนาเป็นประจำสำหรับรูปแบบการทำนาในอนาคตมี 3 รูปแบบคือ 1. การจ้างแรงงานและเครื่องจักรกลการเกษตร ทำนาในบางขั้นตอนมากขึ้น 2. การเป็นผู้จัดการนาโดยการจ้างแรงงานทุกขั้นตอน 3. การเป็นเกษตรกรทางเลือกทำการเกษตรแบบผสมผสาน 2. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการสืบทอดอาชีพทำนา ในอำเภอเกษตรวิสัย เขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด พบปัจจัยเงื่อนไขหลักที่ส่งผลต่อการสืบทอดอาชีพทำนามี 4 ด้านดังนี้ 1. ปัจจัยด้านการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2. ปัจจัยด้านความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการทำนา 3. ปัจจัยด้านค่านิยมและทัศนคติต่ออาชีพทำนา 4. ปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจ 3. ชุดความรู้ที่จำเป็นสำหรับชาวนารุ่นใหม่ประกอบด้วย 1. ชุดการจัดการความรู้เกี่ยวกับการทำนา 2. ชุดความรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรที่นาที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. ชุดความรู้เกี่ยวกับการรวมกลุ่มการจัดการเครือข่าย 4. ชุดความรู้เกี่ยวกับการจดบัญชีครัวเรือน การจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายจากปัจจัยการผลิต และการลดภาระหนี้สินในการทำนา 5. ชุดความรู้เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานสินค้าการเกษตรและความต้องการของตลาด 6. ชุดความรู้ของการสร้างสำนึก ความผูกพันและการปลูกฝังประเพณี วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับอาชีพทำนา 4. แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการสืบทอดอาชีพทำนาต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิธีการการทำนาสมัยใหม่ที่มีหลากหลายรูปแบบรองรับและเข้าถึงความรู้ชุดใหม่ซึ่งมีนัยต่อการจัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยต้องมีกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ที่จะรองรับชุดความรู้ใหม่ที่จำเป็นสำหรับชาวนา และท้องถิ่นทดแทนการสืบทอดความรู้ในครอบครัวที่ลดบทบาทลงไป รวมถึงการศึกษาต้องมีบทบาทในการรักษาประเพณีวัฒนธรรมเพื่อสืบทอดคุณค่าความดีงามของอาชีพทำนาต่อไป |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study the state of inherlance of peasant occupation of peasants’ children in Tungkularonghai area in Roiet province; and 2) to present the guidelines to provide educations promoting the inheritance of peasant occupation. Researcher studied this research using 5 procedures in research methodologies which were 1) documentary reviews; 2) preliminary survey of the state of the inheritance of peasant occupation; 3) cases study of two villages selected focusing on the state of the inheritance of peasant occupation and the guidelines of promoting the inheritance of peasant occupation using semi-structured interviews with peasants’ children, peasants’ family, teachers, government officers, community leaders, and community intellectual; 4) expert group discussion focusing on “The Guidelines of Education providing in Promoting the inheritance of peasant occupation in Tungkularonghai area”; 5) in-depth interview with selected expert in agricultural field in order to conclude the guidelines for education to promote the inheritance of peasant occupation in Tungkularonghai area. The samples groups were the peasants’ children between 14-25 years old who studied in secondary school and vocational institutes. The sample groups were the representative of peasants’ children in Kasetwisai district, Roiet province. The instruments for data collection were the questionnaire about the state of inheritance of peasant occupation, the case study guidelines for two selected villages, the guidelines for focused group discussion in the topic of “The guidelines of education promoting the inheritance of peasant occupation in Tungkularonghai area”, and the interview guide for interviewing the experts in the agriculture field. This research’s survey received 1,982 questionnaires from the peasants’ children, and collected data from 52 the sample group: peasants’ family, teachers, government officers, community leaders, and community intellect teachers through interviews and group discussion. The data were analyzed through percentages, means standard deviations, and content analysis for data from the interviews and group discussion on the topic of promoting the inheritance of peasant occupation. The results were as follows: 1. The changing of social and cultural were related to the state of the inheritance of peasant occupation. The state of inheritance was at the low rate because most of peasants’ children were better educated and decided to earn a living after otherwise graduation. However, most peasant’s children intend to keep the family farm and there were even some small groups of peasants’ children coming back to hometown in order to continue farming career from their parents. In short, there were 3 models of inheriting peasant occupation in the future: 1) hiring labors in some procedures of farming; 2) total farm management including hiring labors in all procedures of farming; and 3) employing alternative farming 2. The analysis of data related to the condition of the inheritance of peasant occupation in Tungkularonghai area, Kasetwisai district, Roiet province found that there were 4 factors related of peasant occupation: 1) land ownership; 2) knowledge and experience in peasant farming; 3) values and attitudes toward peasant occupation; and 4) economic status of the family. 3. The knowledge required for the new generation peasants can be classified into 6 knowledge sets: 1) knowledge set about peasant farming; 2) the knowledge set about managing the resources for peasant farming; 3) the knowledge set about cooperative unions management; 4) the knowledge set about cost management; 5) the knowledge set about supply chain of agricultural products; and 6) the knowledge set about the culture and value of peasants’ farming occupation. 4. The guidelines of education in promoting the inheritance of peasant occupation had to be adapted with the new technologies of peasant farming. The new sets of knowledge must be provided through formal education, informal education and non-formal education. The learning activities and learning processes had to be suitable with the new sets of knowledge, while maintaining and conserving cultural value of peasant occupation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59075 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.655 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.655 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kernsak Srisouy.pdf | 37.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.