Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59082
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุญมี เณรยอด | - |
dc.contributor.advisor | ศิริเดช สุชีวะ | - |
dc.contributor.author | กมลวรรณ รอดจ่าย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-06-09T10:04:16Z | - |
dc.date.available | 2018-06-09T10:04:16Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59082 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่ศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) วิเคราะห์ขนาดและทิศทางของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนต้นแบบขนาดเล็กนำร่อง จำนวน 660 แห่ง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรแฝง จำนวน 8 ตัวแปร ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ และประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก โดยวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 33 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวน 7 ปัจจัย ดังนี้ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน และการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่ศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์เท่ากับ 283.74 ที่องศาอิสระ 280 มีค่าน่าจะ เป็น 0.4 และดัชนีวัดระดับความกลมกลืน มีค่าเท่ากับ 0.97 ตัวแปรปัจจัยด้านต่างๆ สามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็กได้ 74% 3. ปัจจัยด้านสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็กสูงสุด ในขณะที่ปัจจัยด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก โดยส่งผ่านปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้สูงสุด นอกจากนี้ ปัจจัยด้านสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา ยังมีอิทธิพลรวมต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็กสูงสุด | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study factors affecting the efficiency of smallsized schools 2) to examine the goodness of fit of the factors with empirical data and 3) to analyze the direct, indirect and total effects of factors affecting the efficiency of small-sized schools. The research samples consisted of 660 schools which participate in pilot project for improving quality of small-sized schools. Variables consisted of eight latent variables: administrator leadership, teacher’s competency, management, learning process management, environment in education to support learning, participation of community, policy implementation and efficiency of small-sized schools. These latent variables were measured by 33 observed variables. The research data were collected by questionnaires and analyzed by descriptive statistics, Pearson’s product-moment correlation coefficient and LISREL analysis. The research findings were as follows: 1. The factors affecting the efficiency of small-sized schools had seven factors as follows: administrator leadership, teacher’s competency, management, learning process management, environment in education to support learning, participation of community and policy implementation. 2. The factors affecting the efficiency of small-sized schools was valid and fit to the empirical data with Chi-square = 283.74, df = 280, p = 0.4 and GFI = 0.97. The factors could explain the variance in efficiency of small-sized schools for 74% 3. Teacher’s competency factor had the highest direct effect on efficiency of small-sized schools. Policy implementation factor had highest indirect effect on efficiency of small-sized schools through management factor and learning process management factor. In addition, teacher’s competency factor had the highest total effect. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.680 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ประสิทธิผลองค์การ | en_US |
dc.subject | โรงเรียนขนาดเล็ก | en_US |
dc.subject | Organizational effectiveness | en_US |
dc.subject | Small schools | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก | en_US |
dc.title.alternative | An analysis of factors affecting the efficiency of small-sized schools | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | Siridej.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.680 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kamonwan Rodjay.pdf | 37.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.