Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59090
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สีหนาท ประสงค์สุข | - |
dc.contributor.author | ฐิตารินีย์ สุโรพันธ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-06-15T08:40:17Z | - |
dc.date.available | 2018-06-15T08:40:17Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59090 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการปรับสภาพลำต้นข้าวโพดโดยใช้เชื้อราเน่าขาวชนิด Phanerochaete chrysosporium สำหรับการผลิตเยื่อแบบโซดา การทดลองเริ่มจากการหาภาวะการผลิตเยื่อแบบโซดาที่เหมาะสม โดยใช้ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์ 15% และ 20% ของน้ำหนักข้าวโพดแห้งและใช้เวลาในการต้มเยื่อ 1 และ 2 ชั่วโมง ทำการต้มเยื่อที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส จากการทดลองพบว่าภาวะการต้มเยื่อโดยใช้ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์ 20% ของน้ำหนักเยื่อแห้ง และใช้เวลาในการต้มเยื่อ 1 ชั่วโมง เป็นภาวะที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้ค่าความแข็งแรงของกระดาษสูงสุด การทดลองขั้นต่อไปเป็นการใช้เชื้อราเน่าขาว P. chrysosporium ปรับสภาพลำต้นข้าวโพดโดยใช้ปริมาณ 10 และ 20 ชิ้นวุ้น เป็นเวลา 5, 10, 20 และ 30 วัน จากนั้นนำไปผลิตเยื่อด้วยวิธีโซดาโดยใช้ภาวะการต้มเยื่อที่เหมาะสมของการผลิตเยื่อแบบโซดาที่ได้หาไว้แล้วตอนต้น ผลจากการศึกษาการปรับสภาพลำต้นข้าวโพดด้วยเชื้อราเน่าขาวก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตเยื่อแบบโซดา พบว่า ภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพลำต้นข้าวโพดด้วยเชื้อรา P. chrysosporium ก่อนการต้มเยื่อคือ ปริมาณเชื้อรา 10 ชิ้นวุ้น และเวลาในการปรับสภาพ 5 วัน เนื่องจากให้ปริมาณผลผลิตที่ได้สูงสุดและสมบัติด้านความแข็งแรงค่อนข้างสูง เมื่อนำผลที่ได้จากการปรับสภาพลำต้นข้าวโพดด้วยเชื้อเน่าขาวในภาวะนี้มาเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากเยื่อที่ผลิตจากลำต้นข้าวโพดที่ไม่ผ่านการปรับสภาพด้วยเชื้อราเน่าขาว พบว่า การปรับสภาพด้วยเชื้อราเน่าขาวทำให้สามารถลดความต้องการในการใช้สารเคมีในการต้มเยื่อลง เยื่อที่ผลิตได้มีปริมาณโฮโลเซลลูโลส ความยาวเส้นใย ปริมาณเส้นใยขนาดเล็ก และดัชนีความแข็งแรงต่อแรงฉีกขาดของกระดาษเพิ่มขึ้น หากแต่ปริมาณลิกนินที่เหลืออยู่ในเยื่อ สภาพระบายได้ของเยื่อ ความพรุน ความหนาแน่นปรากฎ ดัชนีความแข็งแรงต่อแรงดึงและดัชนีความแข็งแรงต่อแรงดันทะลุของกระดาษลดลง ในขณะที่ปริมาณแอลฟาเซลลูโลส ปริมาณผลผลิตเยื่อ ความเรียบ และสมบัติทางด้านทัศนศาสตร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง | en_US |
dc.description.abstractalternative | In this research, pretreatment of corn stalk using white rot fungus. Phanerochaete chrysosporium for soda pulping was carried out. The experiment was started by varying sodium hydroxide dosage of 15% and 20% based on oven dried (O.D.) corn stalk chip weight and cooking time of 1 hr and 2 hr with 120 C cooking temperature to find the optimal condition of soda pulping. It was found that the optimal condition was using sodium hydroxide dosage of 20% and cooking time of 1 hr since it provided highest strength properties. Next experiment was the pretreatment of corn stalk chips using the fungus P. chrysosporium with the dosage of 10 and 20 plugs for the incubation time of 5, 10, 20 and 30 days. After pretreatment, the pulp was made using the optimal condition of soda pulping process previously determined. The results indicated that the optimum condition for pretreatment of corn stalk chips was 10 plugs of P. chrysosporium and 5 day incubation period since it offered the highest pulp yield and quite high strength properties. The pretreatment of corn stalk chips potentially decreased the cooking chemical consumption as compared to regular soda pulping. Pretreated pulp had higher holocellulose content, longer fiber length, higher fines content and higher tear index but lower kappa number, lower freeness, decreased porosity, reduced appearance density, lower tensile index and lower burst index than non-pretreated pulp. However, the pretreatment of corn stalk wood chip did not change alpha cellulose content, pulp yield, sheet smoothness and the optical properties. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2123 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | Phanerochaete chrysosporium | en_US |
dc.subject | Corn -- Breeding | en_US |
dc.subject | Fungi -- Biotechnology | en_US |
dc.subject | Paper -- Testing | en_US |
dc.subject | ข้าวโพด -- การปรับปรุงพันธุ์ | en_US |
dc.subject | เชื้อรา -- เทคโนโลยีชีวภาพ | en_US |
dc.subject | กระดาษ -- การทดสอบ | en_US |
dc.title | การปรับสภาพลำต้นข้าวโพดโดยใช้เชื้อราเน่าขาว Phanerochaete chrysosporium สำหรับการผลิตเยื่อแบบโซดา | en_US |
dc.title.alternative | Preparation of gold ruby glass using gold foil self-striking methods | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sehanat.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.2123 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thitarini Suropan.pdf | 3.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.