Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59097
Title: การบำบัดน้ำเสียไบโอดีเซลโดยการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้าที่มีการเรียงขั้วไฟฟ้าแบบโมโนโพลาร์หลายเซลล์
Other Titles: Treatment of biodiesel wastewater by electrocoagulation with monopolar multiple electrodes
Authors: ณัฐพล กสิวัฒน์
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: orathai.c@chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด
อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงไบโอดีเซล
Sewage -- Purification
Biodiesel fuels industry
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: น้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลเป็นน้ำเสียที่มีค่าความสกปรกสูง เนื่องจากมีการปนเปื้อนของมลสารจำพวกไขมันและน้ำมัน สบู่ เมทานอล รวมทั้งกลีเซอรอลในปริมาณที่สูงจึงยากต่อการบำบัดด้วยระบบทางชีวภาพโดยทั่วไป การวิจัยนี้เป็นการทดลองบำบัดน้ำเสียไบโอดีเซลด้วยระบบรวมตะกอนด้วยไฟฟ้าโดยใช้ชนิดขั้วไฟฟ้า อะลูมิเนียม-แกรไฟต์ และแกรไฟต์-แกรไฟต์ ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบไหลต่อเนื่อง การจัดวางขั้วไฟฟ้าแบบโมโนโพลาร์หลายเซลล์ต่อแบบขนาน โดยทำการปรับเปลี่ยนตัวแปรในการทดลองทั้งหมด 3 ตัวแปร คือ ชนิดของขั้วไฟฟ้า 2 ชนิด ได้แก่ อะลูมิเนียม-แกรไฟต์ และแกรไฟต์-แกรไฟต์ อัตราการไหล 3 ค่า ได้แก่ 1 4 และ 6 ลิตร/ชั่วโมงและค่ากระแสไฟฟ้า 3 ค่า ได้แก่ 1 2 และ 3 แอมแปร์ จากการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพการในการกำจัดไขมันและน้ำมัน ของแข็งแขวนลอยและซีโอดีจะแปรผันตามหลายปัจจัย ได้แก่ ชนิดขั้วไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า อัตราการไหล และพีเอชในระบบ โดยสภาวะที่เหมาะสมในบำบัดน้ำเสียไบโอดีเซล คือการใช้ขั้วไฟฟ้าอะลูมิเนียม-แกรไฟต์ ป้อนน้ำเสียด้วยอัตราการไหล 4 ลิตร/ชั่วโมง และกระแสไฟฟ้า 2 แอมแปร์โดยมีประสิทธิภาพในการกำจัดไขมันและน้ำมันของแข็งแขวนลอยและซีโอดี เท่ากับร้อยละ 97.58 81.74และ 18.91ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ระบบสามารถผลิตก๊าซจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้เท่ากับ 17.71มิลลิลิตร/นาที โดยใช้พลังงานเท่ากับ 2.25กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ลูกบาศก์เมตรและพีเอชน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วเท่ากับ 6.88
Other Abstract: Wastewater from biodiesel production process containsa high level of chemical oxygen demand (COD) due to contamination of high contents of grease & oil, soap, methanol, and glycerol. Thus, conventional biological treatment processes are not satisfactory for removal of the wastewater contaminants. This research was aimed to study the treatment of biodiesel production wastewater using a continuous flow electrocoagulation reactor with monopolar electrodes. The effects of various experimental parameters were investigated including electrode type (aluminium-graphite and graphite-graphite), flow rate (1, 4, and 6 L/hr), and current density (1, 2, and 3 A). Results showed that the removal efficiencies for grease & oil, suspended solids, and COD were varied with the electrode type, current density, flow rate, and wastewater pH. The study electrocoagulation system was effective at reducing grease & oil, suspended solids, and COD by 97.58%, 81.74%, and 18.91%, respectively, at the optimum conditions of 4-L/hr flow rate, 2-A current density, and aluminium-graphite as electrodes. Moreover, the electrocoagulation process had the gas production of 17.71 ml/min and effluent pH of 6.88. Energy consumption for this wastewater treatment was 2.25 kW-hr/m3.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59097
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2126
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2126
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattapon Kasiwat.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.