Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59100
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์-
dc.contributor.authorดำริห์ พัฒนะเอนก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2018-06-16T05:51:13Z-
dc.date.available2018-06-16T05:51:13Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59100-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้ประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้ว 2 ครั้ง คือ วิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 (วิกฤตต้มยำกุ้ง) และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ปี พ.ศ. 2551 จึงน่าสนใจศึกษาว่าวิกฤตเศรษฐกิจทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกันมากน้อยเพียงใด และมีการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งกับผู้ประกอบการ ภาครัฐและผู้สนใจทั่วไป ได้เข้าใจถึงยุทธวิธีการดำเนินธุรกิจ ของผู้ประกอบการในช่วงวัฏจักรธุรกิจดังกล่าว งานศึกษานี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเดลฟายเทคนิค (Delphi technique) ประกอบการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ที่เคยผ่านประสบการณ์วิกฤตเศรษฐกิจทั้ง 2 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการมีความเห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจในรอบปัจจุบัน (พ.ศ.2551-2552) ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยไม่มากนัก แตกต่างจากเมื่อครั้งเกิดวิกฤตปี พ.ศ. 2540 ในเวลานั้นผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนแนวทาง (Turnaround strategies) เช่น การลดขนาดองค์กร ตัดทอนค่าใช้จ่ายทุกด้าน และใช้วิธีการสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพงาน สำหรับวิกฤตเศรษฐกิจล่าสุดในครั้งนี้ ผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์ทางด้านการตลาด โดยยุทธวิธีการส่งเสริมการขายเพื่อเร่งการขายและการโอน เสริมกับมาตรการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ และให้ความสำคัญกับการเตรียมแหล่งเงินทุนสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉิน เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการยังคงให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงิน และประมาณการรายรับรายจ่ายอย่างรอบคอบ อีกทั้งยังให้ความสำคัญมากขึ้นกับการสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงาน มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพงาน ในส่วนของกลยุทธ์การเติบโต (Growth strategies) ที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญมากขึ้น ได้แก่ การปรับสัดส่วนสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การเน้นบริการหลังการขายและการบริหารชุมชน การออกแบบโดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น และการลดระยะเวลาการก่อสร้าง ส่วนกลยุทธ์ที่มีการใช้อย่างชัดเจนมากขึ้น ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาคุณภาพการอยู่อาศัย การพัฒนาในหลายทำเลเพื่อกระจายความเสี่ยง การใช้สื่อออนไลน์ การเน้นกิจกรรมด้านสังคม/สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเทคโนโลยีการก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ สรุปได้ว่าผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของวัฏจักรธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ ทั้งในช่วงธุรกิจตกต่ำ ช่วงฟื้นตัวและช่วงขยายตัว และไม่พบว่า ผู้ประกอบการได้ใช้กลยุทธ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจกำลังเผชิญวิกฤตจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้en_US
dc.description.abstractalternativeOver the past ten years, Thailand has experienced two major economic crises. One was in 1997 (the Tom Yum Kung Crisis) and the other was the Global Financial Crisis of 2008. This study examines the effects of these crises on the real estate business and the strategies that businesses used to cope with them. Additionally, it serves to provide entrepreneurs, the government sector and the general public with insights into the effectiveness of these strategies. The Delphi Technique was used in this study along with interviews of high-ranking managers in housing real estate. It was found that entrepreneurs agreed that the 2008-2009 crisis did not affect their business as much as the 1997 crisis. To cope with the 1997 crisis, they used turnaround strategies such as downsizing, expense cuts and morale boosting so that their employees would be more determined to improve their work quality. However, to cope with the 2008-2009 crisis, they focused on marketing strategies. They used sales promotions to expedite sales and transfer housing rights. In addition, they were supported by the government's measures to promote the real estate business and also set aside emergency funds. It was noted that entrepreneurs still made financial discipline a priority, and were careful about income and expenses and raising their employees' morale. The growth strategies that they considered most important were adjusting their products to meet their customers' demands, improving their after-sale services and community management, designing housing with an emphasis on functional uses and reducing the duration of construction period. The highlighted strategies were employing advanced technologies to improve living conditions, launching housing projects in various sites to distribute risk and using online media. The entrepreneurs also emphasized cultural/environmental activities and developing effective construction technologies. It can be concluded that entrepreneurs implemented different strategies in different situations. Employing different strategies is in line with strategic management concepts during recession/depression, recovery and expansion.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.841-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ -- ไทยen_US
dc.subjectวิกฤตการณ์การเงิน -- ไทยen_US
dc.subjectไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ -- 2540en_US
dc.subjectไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ -- 2551en_US
dc.subjectReal estate business -- Thailanden_US
dc.subjectFinancial crises -- Thailanden_US
dc.subjectThailand -- Economic conditions -- 1997en_US
dc.subjectThailand -- Economic conditions -- 2008en_US
dc.titleการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 และ 2551en_US
dc.title.alternativeBusiness strategies applied by real estate entrepreneurs during economic crisis in year 1997 and 2008en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTrirat.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.841-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Darmri Patana-anake.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.