Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59145
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนา-
dc.contributor.authorปรียาวรรณ สุดจำนงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-20T09:09:23Z-
dc.date.available2018-06-20T09:09:23Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59145-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร การรับรู้ภาวะสุขภาพ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความพึงพอใจในชีวิต และการสนับสนุนจากครอบครัว กับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่เป็นจิตอาสาทั้งหมดใน 8 โรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเขตภาคใต้ตอนบน จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร แบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจในชีวิต แบบประเมินการสนับสนุนจากครอบครัว และแบบประเมินความผาสุกทางใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงโดยวิธีอัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .80, .93, .88, .87 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสมพันธ์เพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครอยู่ในระดับมาก (x-bar = 3.27, SD = 0.39) 2. ความเพียงพอของรายได้ การรู้ภาวะสุขภาพ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความพึงพอใจในชีวิต และการสนับสนุนจากครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.275, .401, .743, .746, .535 ตามลำดับ) 3. อายุ เพศ และการเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร ไม่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร 4. ความพึงพอใจในชีวิต การสนับสนุนจากครอบครัว และการเห็นคุณค่าในตนเอง สามารถร่วมกันพยากรณ์ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครได้ 61.1% (R [superscript 2] =.611) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Ζ ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ = .388 Ζ ความพึงพอใจในชีวิต + .204 Ζ การสนับสนุนจากครอบครัว + .300 Ζ การเห็นคุณค่าในตนเองen_US
dc.description.abstractalternativeTo examine the relationships between psychological well-being of elderly participated in volunteer activities and factors regarding personal factors, volunteer activity, perceived health, self-esteem, life satisfaction and family support. Subjects were 158 elderly participated in volunteer activities from 8 governmental hospitals in the upper part of Southern region. Data were collected by using an instrument comprised with demographic and personal data, volunteer activity, perceived health, self-esteem, life satisfaction, family support and psychological well-being sections. All sections of the instrument were tested for content validity by a panel of experts with the reliability of .80, .93, .88, .87 and .93 respectively. Data were analyzed using by mean, standard deviation, Pearson’s correlation, Point Biserial Correlation and Stepwise Multiple Regression at the significant level of .05. Major findings were as followed: 1. Psychological well-being of elderly participated in volunteer activities was at high level (x-bar = 3.27, SD= 0.39). 2. Adequacy of income, perceived health, self-esteem, life satisfaction and family support were positively significant correlated with psychological well-being of elderly participated in volunteer activities (r=.275, .401, .743, .746, .535 respectively, P < .05). 3. Age, sex and level of volunteer activity were not significant correlated with psychological well-being of elderly participated in volunteer activities. 4. Life satisfaction, family support and self-esteem variables significantly predicted psychological well-being of elderly participated in volunteer activities. The predictive power was 61.1% of variance at level of .05 (R [superscript 2] =.611). The equation derived from standardize score as listed; Ζ psychological well-being = .388 Ζ life satisfaction + .204 Ζ family support + .300 Ζ self-esteemen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.794-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectอาสาสมัครen_US
dc.subjectผู้สูงอายุอาสาสมัครen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สุขภาพจิตen_US
dc.subjectความนับถือตนเองในผู้สูงอายุen_US
dc.subjectOlder peopleen_US
dc.subjectVolunteersen_US
dc.subjectOlder volunteersen_US
dc.subjectOlder people -- Mental healthen_US
dc.subjectSelf-esteem in old ageen_US
dc.titleปัจจัยทำนายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครen_US
dc.title.alternativeFactors predicting psychological well-being of elderly particpated in volunteer activitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJiraporn.Ke@Chula.ac.th-
dc.description.publicationแฟ้มข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text) ชื่อเรื่องนี้เป็นแฟ้มข้อมูลของนิสิตเจ้าของวิทยานิพนธ์ที่ส่งผ่านทางบัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.794-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preeyawan Sudchamnong.pdf45.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.