Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59183
Title: การเกิดไฮโดรเจนจากออกซิเดชันเชิงเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงของน้ำเสียที่มีแอลกอฮอล์
Other Titles: Hydrogen generation from photocatalytic oxidation of alcohol containing wastewater
Authors: พิษณุ สุขศรี
Advisors: ณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sangobtip.P@Chula.ac.th
Subjects: เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
น้ำเสีย
Hydrogen as fuel
Photocatalysis
Sewage
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบการผลิตแก๊สไฮโดรเจนมีความสำ คัญต่ออนาคตของพลังงานที่ยั่งยืน กระบวนการออกซิเดชันเชิงเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ในการผลิตแก๊ส ไฮโดรเจน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากกระบวนการ ออกซิเดชันเชิงเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงของน้ำเสียที่มีเมทานอล ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชนิด ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง ชนิดตัวรองรับ วิธีเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง ค่าความเป็นกรด-เบส เริ่มต้นของน้ำเสียสังเคราะห์ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา กำลังแสง อัลตราไวโอโลต อัตราส่วน ระหว่างเมทานอลต่อน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์ การเติมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และการนำตัวเร่ง ปฏิกิริยากลับมาใช้ใหม่ จากผลการทดลองพบว่า ภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเกิดปฏิกิริยา ออกซิเดชันเชิงเร่งด้วยแสงในเครื่องปฏิกรณ์แบบกะคือ การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาทางแสงไทเทเนียม ไดออกไซด์ที่โหลดด้วยแพลเลเดียมซึ่งเตรียมด้วยวิธีโซล -เจล หนัก 1 กรัม ในน้ำเสียสังเคราะห์ ปริมาตร 400 มิลลิลิตร โดยมีอัตราส่วนระหว่างเมทานอลต่อน้ำเท่ากับ 1:1 ค่าความเป็นกรด – เบสเริ่มต้นของน้ำเสียสังเคราะห์ เท่ากับ 3 กำลังของแสงอัลตราไวโอเลตเท่ากับ 66 วัตต์ และ เติมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ร้อยละความเข้มข้นเท่ากับร้อยละ 1 โดยปริมาตร จะได้อัตราการ เกิดแก๊สไฮโดรเจนสะสมที่เกิดขึ้นเท่ากับ 51.3 ไมโครโมลต่อนาที ภายในเวลา 6 ชั่วโมง ตัวเร่ง ปฏิกิริยาเชิงแสงที่ใช้ในงานนี้จะเสื่อมสภาพความว่องไวเมื่อใช้งานนาน 25 ชั่วโมง และสามารถ ปรับสภาพความว่องไวให้กลับคืนมา โดยการนำไปเผาที่อุณหภูมิสูง 300 องศาเซลเซียส เป็น เวลา 6 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังศึกษาคุณลักษณะสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่เตรียมได้ ด้วย เทคนิค XRD XRF BET SEM TEM FT-IR และ UV-Visible
Other Abstract: Hydrogen generation systems are importance for the future of sustainable energy and photocatalytic oxidation represents one of technologies currently showing promise as a method for hydrogen production. The aim of this research was to study hydrogen generation from photocatalytic oxidation of methanol containing in wastewater. Factors studied in this research work were types of photocatalysts, supporter, photocatalytic preparation method, pH, amount of photocatalysts, UV intensity, ratio of methanol to water, addition of H2O2 and regenerated photocatalysts. From the experimental results, it was revealed that the optimal condition for photocatalytic oxidation was occurred when using 1.0 g of Pd/TiO2 photocatalyst, 400 ml methanol wastewater with ratio of methanol to water at 1:1, initial pH of the wastewater of 3, UV intensity of 66 W., H2O2 1.0 %by volume. Rate of hydrogen generated at the condition was 51.3 μmole/min in the period of 6 hrs. Deactivation of the photocatalysts was taken place when the photocatalyst was used for >25 hrs. To regenerate the spent photocatalysts, calcinations at 300 oC for 6 hrs was introduced. Additionally the characterization of the photocatalyst was done by XRD, XRF, BET, SEM, TEM, FT-IR and UV-visible.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59183
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2141
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2141
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisanu Suksri.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.