Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59187
Title: | แนวทางในการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต |
Other Titles: | Guidelines for managing Bangkok local museums as lifelong learning resources |
Authors: | มนัญญา นวลศรี |
Advisors: | วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | sireerat.c@chula.ac.th |
Subjects: | พิพิธภัณฑ์ -- กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์ -- การจัดแสดง การศึกษาต่อเนื่อง แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น Museums -- Bangkok Museum exhibits Continuing education |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเพื่อพัฒนาแนวทางในการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการศึกษาสภาพปัจจุบันของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 แห่ง และได้รวบรวม ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาตลอดชีวิตและการจัดการพิพิธภัณฑ์ จำนวน 20 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น จำนวน 3 รอบ แล้วนำมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วนำมาสรุปหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ สภาพปัจจุบันในการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร โดยรวมนั้นพบว่า ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ ขาดแคลนงบประมาณ กิจกรรมที่จัดไม่มีความหลากหลาย บุคลากรไม่มีความรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ และมีผู้เข้าชมน้อย ส่วนแนวทางในการจัดการพิพิธภัณฑ์ในด้านจุดมุ่งหมายและนโยบายที่ได้รับฉันทามติ มีจำนวน 6 ข้อคือ เพื่อให้เป็นแหล่งธำรงและสืบทอดคุณค่า เอกลักษณ์และมรดกของชาติ เพื่อเป็นแหล่งแสดงวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยเฉพาะทาง เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน เพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย และนโยบายควรเกิดจากความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับฉันทามติ มีจำนวน 8 ข้อ คือ เพื่อมุ่งให้ประโยชน์ต่อชุมชน ควรมีแผนงานบริหารจัดการทั้งระยะสั้นและระยะยาว แผนงานระยะยาวควรเป็นแผนที่มีพื้นฐานมาจากนโยบายของชาติ แผนงานระยะสั้นควรเป็นแผนประจำปีที่สนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณควรมาจากการสนับสนุนของรัฐบาลเป็นหลัก ให้องค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์และให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ควรวางแผนโครงการตามลำดับ ความสำคัญด้านบุคลากรที่ได้รับฉันทามติมีจำนวน 7 ข้อ คือ มีความรู้ตรงกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ มีใจรักด้านศิลปวัฒนธรรม ของชาติ มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศในระดับดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีจิตใจพร้อมให้บริการ ควรเป็นนักสื่อสารและนักถ่ายทอดที่ดี ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นอย่างดี ควรจัดให้ไปศึกษาดูงานด้านพิพิธภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ ด้านกิจกรรมที่ได้รับฉันทามติมีจำนวน 6 ข้อ คือ ควรมีการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ควรมีการจัดนิทรรศการทั้งถาวรและชั่วคราว ควรมีการจัดกิจกรรมภาคสนาม ควรมีกิจกรรมหลักที่เป็น จุดเด่นและควรจัดกิจกรรมเสริมเพิ่มเติม ควรจัดกิจกรรมตามความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ควรจัดทำสื่อประเภทต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้ ด้านการติดตามประเมินผลที่ได้รับฉันทามติ มีจำนวน 7 ข้อ คือ ควรมีการติดตามประเมินผลทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ควรมีการนำผลการประเมินมาใช้ ควรตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลประกอบด้วยบุคคลภายในและภายนอก ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล ควรมีการเผยแพร่ผลการประเมิน ควรมีการวางมาตรฐานกำกับตรวจสอบเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพ มีการติดตามประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ด้านความต้องการการสนับสนุน จากรัฐบาลที่ได้รับฉันทามติ มีจำนวน 5 ข้อ คือควรจัดให้เป็นวาระแห่งชาติ ควรรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ องค์กรท้องถิ่นควรมีบทบาทอย่างจริงจังในการดูแลพิพิธภัณฑ์ และควรจัดให้มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโดยเฉพาะ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the current situation of Bangkok local museums management as lifelong learning resources and to develop guidelines for Bangkok local museums management as lifelong learning resources. The data were collected using the interview questionnaire in current situation of the three Bangkok local museums, and another three sets of questionnaires for gathering 20 experts’ opinions in lifelong learning and museum management, then analyzed the data through median, mode, median-mode differences, and interquartile range, then concluded the data as the consensus of the experts. The results were as follow; Currently, Bangkok local museums encounter with several museum management problems: the lack of funding, the unvaried types of activities, the unprofessional staff, and very small number of visitors. To be lifelong learning resources, Bangkok local museums should focus on these following aspects: There were 6 consensuses on objectives and policies: to serve as a place for national value, identity and heritage preservation; to serve as a display place for local lifestyles, arts and culture; to serve as a place for specialized research studies; to be a community lifelong learning center; to be able to promote the non-formal and informal education. The museums policies should be formulated based on the local people’s needs. There were 8 consensuses on the museum management; the local museums’ activities should benefit the communities as a whole; they should have both a long-term plan and a short-term plan that serve the need of different target groups; the budget should be mainly sponsored by government; invite more local agencies to participate and support the museum activities; the executive members must have vision in organizing activities; and the projects should be prioritized. There were 7 consensuses on human resource: staff’s background knowledge should match with their work; staff should have passion in national arts and culture, good foreign language skills, good human relations and service-minded, good communicators and facilitators; they should know and understand the non-formal education and informal education; and they should study visit other local museums both in the country and overseas. There were 6 consensuses on activities: the local museums should have wide range of activities; they should display both permanent and temporary exhibitions; they should have different outdoor activities; they should have main activities as a core with additional activities; they should organize the activities according to the need of each target group; and they should have various types of media for distribution knowledge. There were 7 consensuses on follow-up and evaluation: they should continuing follow-up each activity; they should apply the evaluation results into their work; they should establish the follow- up and evaluation committee; they should involve more people in the follow-up and evaluation process; the evaluation results should be publicized; they should set the standardization as a part of the quality assurance; and they should use various methods in the follow-up and evaluation. There were 5 consensuses on the government support: the government should promote the local museums as national agenda; campaign the importance of local museums; provide sufficiently financial support; and each local organization should responsible for their local museums or there must be a particular central authority that responsible for local museums. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59187 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.131 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.131 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Mananya Nuansri.pdf | 39.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.