Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59193
Title: ผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง : การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: Effects of nursing interventions on health outcomes of patients with hypertension disease : a meta - analysis
Authors: วรวรรณ ขันติชัยธร
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Noraluk.U@Chula.ac.th
Subjects: ความดันเลือดสูง
การพยาบาล
ความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย
พยาบาลกับผู้ป่วย
ผู้ป่วย -- สุขภาพและอนามัย
Hypertension
Nursing
Nurse and patient
Patients -- Health and hygiene
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การอภิมานงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการ พยาบาลที่ศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2) ศึกษาประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทาง สุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความ แปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523-2552 จำนวน 37 เรื่อง เครื่องมือที่นำมาใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีใช้ผู้ประเมินร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw, & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 95 ค่า ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (91.89 %) ในสาขาวิชา พยาบาลศาสตร์ (54.05%) ตีพิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในระหว่างปี พ.ศ. 2546-2550 (45.95%) เครื่องมือวัดตัวแปรของ งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพทั้งความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง (82.72%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยอยู่ในระดับดีมาก (100%) การปฏิบัติการพยาบาลที่นำมาศึกษามากที่สุด คือ ด้านการรู้ คิด (48.65%) โดยส่วนใหญ่เน้นโปรแกรมสุขศึกษา ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่นำมาศึกษามากที่สุด คือ ผลลัพธ์ทางสุขภาพ ด้านอื่นๆ (43.16%) 2. การปฏิบัติการพยาบาลด้านสังคม เรื่อง กระบวนการประชุมเพื่อระดมพลังความคิด ให้ค่าขนาด อิทธิพลสูงที่สุด (d = 5.43) ต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านอื่นๆ (การป้องกันภาวะแทรกซ้อน) และการปฏิบัติการ พยาบาลด้านสังคม เรื่อง กระบวนการกลุ่ม ให้ค่าขนาดอิทธิพลต่ำที่สุด (d = -0.01) ต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านอื่นๆ (พฤติกรรมการดูแลตนเอง) 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าขนาดอิทธิพล ได้แก่ สถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการ เก็บข้อมูล (เดือน) วิธีการเลือกตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ ระยะเวลาทำการทดลองต่อครั้ง (หน่วยเป็นนาที) ความถี่ ต่อการให้การปฏิบัติการพยาบาล 1 ครั้ง (หน่วยเป็นสัปดาห์) ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการทดลอง (หน่วยเป็น สัปดาห์) และจำนวนครั้งการเก็บข้อมูลหลังให้การทดลอง โดยตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 2 ตัวแปร ได้แก่ ระยะเวลา ทำการทดลองต่อครั้ง (นาที) และระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (เดือน) มีประสิทธิภาพการทำนายพยากรณ์ค่าขนาด อิทธิพลได้ร้อยละ 33 (R² = 0.33)
Other Abstract: The purposes of this meta-analysis were 1) to study methodological and substantive characteristics of nursing interventions on health outcomes of patients with hypertension disease. 2) to compare the effect sizes of nursing interventions on health outcomes of patients with hypertension disease. 3) to determine the relationships between the influences of methodological and substantive characteristics on the effect size. Thirtyseven studies conducted in Thailand between 1980 and 2009 were recruited. The selected studies were analyzed for general, methodological, and substantive characteristics. The effect size for each study was calculated using method of Glass, McGaw, & Smith (1981). This meta-analysis yielded 95 effect sizes. The results of this meta-analysis were as follows: 1. The majority of these studies, or 91.89%, were Master ’s theses in the field of nursing science (54.05%). Almost half of the studies, or 45.95%, were published between 2003 and 2007. Most instruments used in the research studies were tested for both reliability and validity (82.72%), hence ensuring their very good quality (100%). In addition, the other domain investigated in these studies was health outcomes. Almost haft, or 48.65%, of the nursing interventions involved the cognitive intervention focusing on a health education program (43.16%). 2. The social nursing intervention regarding the brainstorming process yielded the largest effect size (d = 5.43) build health outcomes that condition prevention has complications, while the social nursing intervention regarding group process revealed the smallest effect size (d = -0.01) build health outcomes that self care behavior. 3. The variables that relate the effect size were the place picks to data collection, duration of data collection (in months), the way chooses an example, building tool, duration of each experiment (in seconds), the frequency practice nursing (in week), the all period of time that use in the experiment (in week), the amount time data back saving is experiment. The variables that could co-predict the effect sizes were duration of each experiment (in seconds) and duration of data collection (in months) which can predict 33 % of variance in effect sizes (R² = 0.33). predict 33 % of variance in effect size (R² = 0.33).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59193
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1501
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1501
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worawan Kantichaiton.pdf35.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.