Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59194
Title: การผลิตเยื่อแบบโซดาดัดแปรจากลำต้นข้าวโพด
Other Titles: Modified soda pulping from corn stalk
Authors: วราพงษ์ โสพิน
Advisors: กุนทินี สุวรรณกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kuntinee.S@Chula.ac.th
Subjects: ข้าวโพด
เยื่อกระดาษ -- การผลิต
กระบวนการผลิตเยื่อแบบโซดา
Corn
Wood-pulp
Soda pulping process
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ลำต้นข้าวโพดซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าได้โดยนำมาเป็นแหล่งเส้นใยใช้ในการผลิตกระดาษ อย่างไรก็ตาม การผลิตเยื่อแบบโซดาจากลำต้นข้าวโพดยังมีปริมาณลิกนินหลงเหลืออยู่ในเยื่อสูง และการใช้ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์เพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเยื่อมีค่าลดลงเนื่องจากคาร์บอไฮเดรตถูกทำลาย การผลิตเยื่อแบบโซดาสามารถดัดแปรกระบวนการโดยการเติมแอนทราควิโนน (anthraquinone, AQ) และ/หรือเมทานอล(methanol, MeOH) เพื่อผลิตเยื่อให้มีคุณภาพดีขึ้นฉะนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการทดลองผลิตเยื่อแบบโซดาดัดแปรจากลำต้นข้าวโพดโดยการเติมแอน ทราควิโนน และ/หรือเมทานอล และเปรียบเทียบสมบัติของเยื่อและแผ่นชิ้นทดสอบที่ได้จากการผลิตเยื่อแบบโซดาและการผลิตเยื่อแบบโซดาดัดแปรจากลำต้นข้าวโพด ซึ่งจากการทดลองพบว่าการผลิตเยื่อแบบโซดาดัดแปรโดยการเติมแอนทราควิโนนและ/หรือเมทานอลให้ผลผลิตเยื่อเพิ่มขึ้นและสามารถกำจัดลิกนินออกจากเยื่อได้มากขึ้น โดยดูได้จากค่าคัปปานัมเบอร์มีค่าลดลง จึงส่งผลให้มีค่าความขาวสว่างสูงขึ้นด้วย เมื่อนำแผ่นชิ้นทดสอบที่ผลิตจากเยื่อวิธีโซดาดัดแปรมาเปรียบเทียบกับแผ่นชิ้นทดสอบที่ผลิตจากเยื่อวิธีโซดา พบว่า เยื่อที่ผลิตจากวิธีโซดาดัดแปรมีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงและค่าความแข็งแรงดันทะลุสูงขึ้น หากแต่ความต้านทานแรงฉีกและค่าความทึบแสงกลับมีค่าลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตเยื่อแบบโซดาทั้งนี้อาจเนื่องจากแอนทราควิโนนทำหน้าที่ป้องกันคาร์บอไฮเดรตจากการถูกทำลาย ในขณะเดียวกันแอนทราควิโนนยังทำปฏิกิริยากับลิกนิน ทำให้ปริมาณลิกนินลดน้อยลง เส้นใยจึงสามารถสร้างพันธะระหว่างกันได้ดีขึ้น ในขณะที่เมทานอลทำให้การแทรกซึมของโซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นสารต้มเยื่อดีขึ้น ลิกนินถูกทำลายมากขึ้น เส้นใยสามารถสร้างพันธะระหว่างกันดีขึ้น งานวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นว่าการผลิตเยื่อแบบโซดาดัดแปรจากลำต้นข้าวโพดนอกจากให้ปริมาณผลผลิตเยื่อสูงขึ้นแล้ว ยังให้เยื่อมีคุณภาพดีและสามารถนำเยื่อมาผลิตเป็นกระดาษที่มีคุณภาพสูงได้
Other Abstract: Agricultural residue like corn stalks could be value added by being a potential fiber source for papermaking. However, pulping of corn stalks using soda process still resulted in high lignin content and low pulp yield when using high dosage of sodium hydroxide due to carbohydrate degradation. The soda process can be modified by adding anthraquinone (AQ) and/or methanol (MeOH) to improve pulp properties. Thus, the objective of this research was to study pulping of corn stalk using modified soda process by adding AQ and/or MeOH and compare pulp and handsheet properties of modified soda corn stalk pulp to those of conventional soda corn stalk pulp. It was found that modified soda pulping with AQ and/or MeOH could improve pulp yield and delignification as indicated by lower kappa number and higher brightness. Modified soda pulping also enhanced tensile and burst strength of handsheet. However tear resistance and opacity of handsheets were lower when compared to conventional soda pulping. These might be because AQ preserved carbohydrate while reacted with lignin, which led to lower lignin content and better fiber bonding. MeOH might enhance the impregnation of woodchips with sodium hydroxide, a cooking chemical. More lignin was then degraded and fiber bonding was improved. From the experiment, it was found that modified soda pulping from corn stalk not only provided better pulp yield but produced good pulp properties which is essential for high quality paper.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59194
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2146
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2146
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worapong Sopin.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.