Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59217
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา แก้วเทพ | - |
dc.contributor.author | สโรชา เตชะกฤตภูริพงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-06-25T07:33:24Z | - |
dc.date.available | 2018-06-25T07:33:24Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59217 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | ศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา และศึกษาผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากกระบวนการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาที่มีต่อเยาวชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) ในปี พ.ศ. 2551-2552 จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าการทำเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขามีลักษณะเป็นการทำงานในเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ โดยการจาริกออกไปเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อพัฒนาจิตใจและคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เป็นการพยายามฟื้นฟูเอาความสำคัญของวัดอย่างเช่นที่เคยเป็นมาในอดีตกลับมาอีกครั้ง พระบัณฑิตที่อาสาเข้ามาในโครงการนี้เป็นผู้มีคุณสมบัติที่ดีของผู้ส่งสาร เป็นผู้มีความรู้ มีวิริยะ อุตสาหะ อดทนและอุดมการณ์หรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการจะเผยแผ่ธรรมะของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาให้กับชุมชนที่ห่างไกลแบบวิถีชีวิตพอเพียง สร้างความศรัทธาในพุทธศาสนาให้เกิดขึ้นในกลุ่มเยาวชน สำหรับจุดเริ่มต้นของกระบวนการสื่อสารพระบัณฑิตอาสาฯ จะศึกษาบริบทชุมชนนั้นเป็นอันดับแรก ทำการวิเคราะห์สาร มีการเตรียมเนื้อหาสาร เพื่อให้เหมาะสมและสร้างจุดจูงใจในสารเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารเข้าใจในเนื้อหาสารได้ง่ายขึ้น เนื้อหาคำสอนที่นำมาใช้ในการเผยแผ่เป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐานที่อยู่ในชีวิตประจำวัน และเป็นไปตามพันธกิจของโครงการพระบัณฑิตอาสาฯ ศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา และศึกษาผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากกระบวนการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาที่มีต่อเยาวชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) ในปี พ.ศ. 2551-2552 จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าการทำเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขามีลักษณะเป็นการทำงานในเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ โดยการจาริกออกไปเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อพัฒนาจิตใจและคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เป็นการพยายามฟื้นฟูเอาความสำคัญของวัดอย่างเช่นที่เคยเป็นมาในอดีตกลับมาอีกครั้ง พระบัณฑิตที่อาสาเข้ามาในโครงการนี้เป็นผู้มีคุณสมบัติที่ดีของผู้ส่งสาร เป็นผู้มีความรู้ มีวิริยะ อุตสาหะ อดทนและอุดมการณ์หรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการจะเผยแผ่ธรรมะของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาให้กับชุมชนที่ห่างไกลแบบวิถีชีวิตพอเพียง สร้างความศรัทธาในพุทธศาสนาให้เกิดขึ้นในกลุ่มเยาวชน สำหรับจุดเริ่มต้นของกระบวนการสื่อสารพระบัณฑิตอาสาฯ จะศึกษาบริบทชุมชนนั้นเป็นอันดับแรก ทำการวิเคราะห์สาร มีการเตรียมเนื้อหาสาร เพื่อให้เหมาะสมและสร้างจุดจูงใจในสารเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารเข้าใจในเนื้อหาสารได้ง่ายขึ้น เนื้อหาคำสอนที่นำมาใช้ในการเผยแผ่เป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐานที่อยู่ในชีวิตประจำวัน และเป็นไปตามพันธกิจของโครงการพระบัณฑิตอาสาฯ สำหรับช่องทางการสื่อสาร พระบัณฑิตอาสาฯ จะใช้รูปแบบของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน ร่วมคิดและแก้ปัญหากับชุมชน ทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาและไว้วางใจในพระบัณฑิตอาสาฯ สร้างจุดจูงใจต่างๆ ในสาร, ประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างแก่เยาวชน, การใช้กิจกรรม, มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่, การฝึกอบรม/ปฏิบัติ, การใช้สื่อชุมชน, หอกระจายข่าว, เสียงตามสาย ส่วนอุปสรรคปัญหาสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น คือ อุปสรรคด้านภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับเยาวชนชาติพันธุ์ปกาเกอะยอ (กะเหรี่ยง) และอุปสรรคด้านการคมนาคมที่ยากลำบากยากต่อการติดต่อประสานงานกับส่วนกลางและภายในชุมชน สำหรับผลสัมฤทธิ์จากการสื่อสารเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากการประเมินของเยาวชนพบว่าส่วนมากได้รับความรุ้ความเข้าใจ และสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ จึงสามารถสรุปได้ว่าการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา สามารถดึงเอาบทบาทและความสำคัญของวัดในด้านของการเป็นสถานที่ศึกษา เป็นสโมสร และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมให้เกิดขึ้นในชุมชนบนพื้นที่สูงได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Studies the communication process and the achievements in disseminating Buddhism to hill tribe youth (Karen) by volunteer graduated monks working in 2008-2009. According to the study, the revival was found that the Buddhism dissemination by the volunteer graduated monks. Aspects of work were proactive activities of pilgrimage in order to perform through the objectives achievement of the Project in terms of mental development and better quality of life of the hill tribe youth (Karen). This project was attempted to bring role of temples significant like in the old days. The volunteer graduated monks in this Project therefore were qualified as message senders, who have knowledge, diligence, industry, endurance and ideology or aims of disseminating the Buddha's teachings to sufficiency economy-based communities in the remote areas and rebuilding the faith in Buddhism in youth group. Regarding the beginning of communication process, the volunteer graduated monks would firstly study the context of the communities and would analyze the message and would prepare proper contents of the message in order to attract and convince the message receivers for better understanding thereof. The teaching contents were basic principles in everyday life according to the main missions of the Folunteer Graduated Monks Project. Regarding the communication process, the volunteer graduated monks used the channel of communication in terms of direct participation in the communities' thinking and problem solving and working with the communities to build up their confidence, faith and trusts in the volunteer graduated monks, creating the attractiveness of the message, acting as role models for the youth and organizing activities; and also applied the modern technology, training/practice, community media, announcer towers and megaphone broadcasting. The significant obstacles and problems in carrying out there missions of disseminating Buddhism to hill tribe youth (Karen) are language barriers and limited communication facilities and liaison with the central authorities and within the communities. From evaluation of youth, the achievements in disseminating Buddhism was found that the majority of the hill tribe youth (Karen) had obtained the required knowledge and had the better understanding of the contents there of and had been able to adapt the Buddha's teachings to their everyday lives. Therefore, we are driven to the conclusion that the communication process and dissemination of Buddhism to hill tribe youth (Karen) by volunteer graduated monks could refocus that role and significance of temples as places of knowledge dissemination and temples were used as clubs and places of ritual procession within the hill tribe communities. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.40 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โครงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา | en_US |
dc.subject | ธรรมทูต | en_US |
dc.subject | พุทธศาสนา -- การเผยแผ่ | en_US |
dc.subject | กะเหรี่ยง -- ศาสนา | en_US |
dc.subject | กะเหรี่ยง -- การเผยแผ่ศาสนา | en_US |
dc.subject | การโน้มน้าวใจ | en_US |
dc.subject | การสื่อสาร -- แง่ศาสนา | en_US |
dc.subject | Volunteer Graduated Monks Project | en_US |
dc.subject | Buddhist missionaries | en_US |
dc.subject | Buddhism -- missions | en_US |
dc.subject | Karen (Southeast Asian people) -- Religion | en_US |
dc.subject | Karen (Southeast Asian people) -- Missions | en_US |
dc.subject | Persuation (Psychology) | en_US |
dc.title | กระบวนการสื่อสารเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา ที่มีต่อเยาวชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) ในปี พ.ศ. 2551-2552 | en_US |
dc.title.alternative | Communication process in disseminating Buddhism to hill tribe youth (Karen) by volunteer graduated monks working in 2008-2009 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kanjana.Ka@chula.ac.th | - |
dc.description.publication | แฟ้มข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text) ชื่อเรื่องนี้เป็นแฟ้มข้อมูลของนิสิตเจ้าของวิทยานิพนธ์ที่ส่งผ่านทางบัณฑิตวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.40 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sarocha Thechakritphuriphong.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.