Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59218
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตโดยใช้โมเดลโค้งพัฒนาการเหลื่อมเวลาระยะยาวที่มีตัวแปรแฝง
Other Titles: An analysis of factors affecting the growth of attitude toward teaching profession of undergraduate education program students using the sequential latent growth curve model
Authors: สมเกียรติ ทานอก
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Auyporn.R@chula.ac.th
Nuttaporn.L@Chula.ac.th
Subjects: นักศึกษาครู -- ทัศนคติ
วิชาชีพ
Student teachers -- Attitude (Psychology)
Professions
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลโค้งพัฒนาการเหลื่อมเวลาระยะยาวที่มีตัวแปรแฝงเจตคติต่อวิชาชีพครู เพื่อศึกษาพัฒนาการเจตคติต่อวิชาชีพครู และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเจตคติต่อวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) ที่เข้าศึกษาในสถาบันผลิตครูในปีการศึกษา 2548, 2549, 2550 และ 2551 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,876 คน จากมหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำแนกเป็น 4 กลุ่มตามชั้นปีที่เก็บข้อมูลครั้งแรกคือ ชั้นปีที่ 1 ถึง 4 จำนวน 590, 453, 396 และ 437 คน ตามลำดับ แต่ละกลุ่มมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 4 ครั้งห่างกันประมาณครั้งละ 5 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เจตคติต่อวิชาชีพครูที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการประมาณค่าพัฒนาการเจตคติต่อวิชาชีพครู ด้วยการวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการเหลื่อมเวลาระยะยาวที่มีตัวแปรแฝง และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อวิชาชีพครูด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) โมเดลโค้งพัฒนาการเหลื่อมเวลาระยะยาวที่มีตัวแปรแฝงเจตคติต่อวิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีรูปแบบพัฒนาการแบบไม่ใช่เส้นตรง 2) เจตคติต่อวิชาชีพครูมีค่าเฉลี่ยสถานะตั้งต้นในการวัดครั้งแรกเท่ากับ 3.8732 และมีอัตราพัฒนาการเพิ่มขึ้นตลอดช่วงเวลาการศึกษาตามหลักสูตรจากภาคเรียนที่ 1 ถึงภาคเรียนที่ 10 ด้วยอัตราพัฒนาการเฉลี่ย 0.0789 3) ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อพัฒนาการเจตคติต่อวิชาชีพครูคือ ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับเพื่อน รองลงมาคือ ความตั้งใจประกอบอาชีพครู คะแนนเฉลี่ยสะสมและสาขาวิชา
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop and validate the sequential latent growth curve model of attitude toward teaching profession, 2) to study growth of attitude toward teaching profession of undergraduate education program students, and 3) to determine the effect of hypothesized covariates on growth of attitude toward teaching profession. The sample consisted of 1,876 undergraduate students from 4 class cohort (590, 453, 396, and 437) of 4 universities in Thailand, namely, Burapha University; Kanchanaburi Rajabhat University; Cheingrai Rajabhat University; and Nakhon Ratchasima Rajabhat University, each cohort obtained for 4 point in time with 5 month interval. The research instrument was attitude toward teaching profession inventory which developed by researcher. Data were analyzed in order to estimate growth parameter using the sequential latent growth curve model and employed multiple regression analysis to analyze the covariate factors affecting on growth of attitude toward teaching profession. The research results were as follows: 1) The growth of attitude toward teaching profession using the sequential latent growth curve model was fitted with empirical data and indicated that nonlinearity in the growth curve. 2) The mean intercept and slope were 3.8732 and 0.0789, respectively, indicated that on average, student had initial attitude toward teaching profession status of 3.872 and steady increase in growth rate of 0.0789 over time. 3) The substantial covariate factor effecting on growth of attitude toward teaching profession were relationship between teachers and students, relationship between students and peer, students desire to be teacher, cumulative grade point average, and program major.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59218
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.593
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.593
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkiat Tanok.pdf87.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.